เรียนรู้จากศิษย์เก่า (๒)


สัปดาห์แรกที่ทำงานเป็นสัปดาห์ “นรกแตก"

ตอนที่


เรื่องเล่าของกันยารัตน์ พัวพันธ์
การเลือก ward เลือกโรงพยาบาล รู้ตั้งแต่เริ่มขึ้น ward ว่าตนเองชอบแบบไหน ชอบ ward อะไร อยากจะทำอะไร เมื่อเริ่มฝึกงานแรกๆ ให้ถามตัวเองว่าชอบตรงไหน จะได้ชัดเจนกับตัวเอง สิ่งสำคัญคือ “ความสุขในการทำงาน”

 

กันยารัตน์เลือกทำงานใน รพ.เอกชน เพราะครอบครัวมีความจำเป็นเรื่องค่าใช้จ่าย "เราต้องดูภาระด้วยว่ามีอะไร" มีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาให้เลือก เริ่มต้นทำงานที่ ER เพราะงานตรงกับลักษณะนิสัย มีความสุขกับการทำงานตรงนั้น แล้วจะทำงานด้วยใจ แต่อย่าลืมความเป็นวิชาชีพ เชื่อว่าอาจารย์ก็จะภูมิใจกับเรา

เวลาที่เป็น RN แล้ว ความคาดหวังขององค์กรจะแตกต่าง พูดไม่ได้เหมือนตอนใส่เอี๊ยม กันยารัตน์เล่าประสบการณ์ตอนทำงานใหม่ๆ ที่ฟังแล้วแม้จะขำ แต่ก็ทำให้ดิฉันในฐานะอาจารย์น้ำตาซึม

เหตุการณ์ตอนนั้นต้องไปรับคนไข้ที่เกาะพงัน ทีมที่ไปเป็นผู้ชายทั้งนั้น นั่งเรือ speed boat แทงน้ำเกลือให้เด็ก เรือก็วิ่งอย่างนั้น แทงครั้งแรกไม่ได้ บวมเท่าลูกมะนาว หมอมองด้วยสายตาเหมือนจะตำหนิ ขณะนั้นนึกถึงอาจารย์วัลลา บอกว่า “อาจารย์คะหนูกำลังลำบาก อาจารย์ช่วยหนูหน่อย” แล้วตอนนั้นก็แทงน้ำเกลือได้เลย

เพื่อนอย่าทิ้งกันเด็ดขาด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนอย่าให้ห่างไป ไม่ให้หายไป ต้องติดต่อกันไว้ กันยารัตน์รู้ว่าเพื่อนคนไหนเชี่ยวชาญเรื่องอะไร เวลามีปัญหาจะโทรศัพท์ปรึกษากันเสมอ

การปรับตัว
สิ่งที่ต้องมีคือความอดทน สัปดาห์แรกที่ทำงานเป็นสัปดาห์ “นรกแตก” กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง เหมือนไม่รู้อะไรอีกมาก มีคำถาม-ทำไมพี่ไม่ทำเหมือนในหนังสือ เป็นสัปดาห์ที่ลูกผีลูกคน..... เจอคนไข้ arrest ยืนนิ่ง ก้าวขาไม่ออก

เคยเดินร้องไห้อยู่ริมทะเล อยากกลับมาทำงานที่ท่าศาลา อาทิตย์แรกของการปรับตัวเป็นช่วงที่ทรมานที่สุด นอกจากจะ safe ให้คนไข้แล้ว ต้อง safe ให้ตัวเองด้วย ถ้าผ่านสัปดาห์แรกไปได้...... ถ้าเราปฏิเสธตั้งแต่แรก เราจะไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่

ภาษาอังกฤษจำเป็นขนาดใหน
ถ้าต้องการไปทำงานในเมืองท่องเที่ยว การสัมภาษณ์ ใบสมัครงานเป็นภาษาอังกฤษหมด สิ่งที่จะช่วยเตรียมตัวได้ – ตำราภาษาอังกฤษ หนังสือพิมพ์ เปิด CD ฟังเพลง สิ่งสำคัญต้องกล้าพูด

เรื่องภาษาเจอตรงๆ จังๆ คนไข้ฝรั่งเศส พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ จะแนะนำเช็ดตัวลดไข้ว่าทำอย่างไร ก็ทำท่าให้ดู หนังสือ text book มีภาพให้ดู ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องกลัว พูดไปเลย ไม่ต้องถูกแป๊ะๆ

การวางแผนที่จะเรียนต่อ
ไม่ใช่จบแล้วจบการเรียนรู้ continue to learn ตลอด ครูที่จะเข้ามาแทนที่คือคนไข้ คนไข้นอกจากจะเป็นคนไข้ที่เราดูแลแล้ว ยังเป็นอาจารย์

ดิฉันนั่งฟังลูกศิษย์เล่าด้วยความตั้งใจ ประทับใจ ซาบซึ้งใจ และภูมิใจที่กันยารัตน์มีความคิดความอ่านความรับผิดชอบที่ดีมาก มีหลายอย่างเรานึกไม่ถึง ความยากลำบากของลูกศิษย์ช่วงที่ทำงานใหม่ๆ ความสำคัญของเพื่อน มีการบ้านให้มาคิดต่อว่าเราจะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านจากการเป็นนักศึกษาไปเป็นพยาบาลวิชาชีพได้อย่างไรบ้าง ทำอย่างไรจึงจะส่งลูกศิษย์ให้ถึงฝั่ง ไม่ใช่เพียงส่งออกพ้นเขตรั้วมหาวิทยาลัยเท่านั้น

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 174672เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2008 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท