เวทีDWครั้งที่3/2551กำแพงเพชร


ได้เชิญเกษตรกรผู้มีประสบการณ์ในการทำสวนส้ม จำนวน 3 รายมาเล่าประสบการณ์ให้ฟัง

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีDW  ครั้งที่ 3 ตอนที่2 นี้ซึ่งจะขอเล่าต่อจากตอนที่1นะครับ

 

 

การจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที DW ของสายที่ 2 อำเภอขาณุวรลักษบุรีเป็นเจ้าภาพ สถานที่จัด ณ.ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลยางสูง  ในช่วงแรก ทางเจ้าภาพได้เชิญเกษตรกรผู้มีประสบการณ์ในการทำสวนส้ม   จำนวน 3 ราย  มาเล่าประสบการณ์ ให้ฟังพร้อมเปิดโอกาสให้นักส่งเสริมการเกษตร ได้ซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              คุณแรก คือคุณพงษ์ศักดิ์ จันทร์มงคลซึ่งทำสวนส้มมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 0 ปี  ได้เล่าประสบการณ์และสถานการณ์ในการปลูกส้มในชุมชนยางสูง ว่าตนเองได้ย้ายพื้นที่การปลูกส้ม จากเดิมเคยปลูกในจังหวัดปทุมธานีมาก่อน แล้วได้ย้ายมาปลูกที่หมู่ที่ 7 บ้านคลองวน ต.ยางสูง อ.ขาณุวรลักษบุรี จำนวน 90 ไร่เศษ  โดยเริ่มปลูกเมื่อปีพศ. 2544. แต่ก็เก็บผลผลิตไปแล้ว  2 คราว ผลผลิตที่ ประมาณ 300 ตันเศษ

 

 

               จากการที่ทำสวนส้มมาพบใช้ มีการใช้ทุนซึ่งจะต้องไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลและรักษาส้ม ตั้งแต่ปลูก การให้น้ำ   การใส่ปุ๋ย   การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช   การกำจัดวัชพืช  การตัดแต่งกิ่ง จะต้องเตรียมเงินทุนไว้ไม่น้อยกว่า ไร่ละ 30,000  บาท ส้มที่ปลูก ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์เขียวหวาน และโชกุน แต่ปัจจุบันได้เลิกปลูกส้มโชกุนไปแล้ว เพราะ ผลผลิตที่ได้ไม่คุ้มกับการลงทุนไป  สำหรับส้มเขียวหวานก็พบบางต้นเกิดโรคกรินนิ่ง ก็ต้องขุดทำลายทิ้ง แล้วจึงปลูกทดแทนใหม่ แต่ปัจจุบันยังรักอาชีพปลูกส้มอยู่ แต่ก็จะลดพื้นที่ปลูกลง ได้นำยางพารามาปลูกทดแทนบางส่วน สาเหตุที่ลดพื้นที่ปลูกส้มลงเพราะว่าราคาส้มจะไม่ค่อยแน่นอนคงที่ บางช่วงราคาจะตกต่ำ

 

 

  

 

 

 

 

            คุณสงคราม โอวาท  เกษตรกรรายย่อยผู้เลิกทำสวนส้มไปแล้ว ได้เล่าว่า ตนเองเป็นเกษตรกร   ซึ่ง เดิมประกอบอาชีพทำนา  อยู่หมู่ที่ 10 ตำบลป่าพุทรา อ.ขาณุวรลักษบุรี  เมื่อปี 2546 ได้ตัดสินใจปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนา มาปลูกส้ม โดยปรับระบบเป็นการปลูกแบบยกร่อง ในปลายปี 2547 เก็บผลผลิตส้ม ขายได้ประมาณ 100,000 บาทเศษ แต่ก็ยังไม่คุ้มทุน เนื่องจากช่วงแรกของการปลูกส้มการลงทุนครั้งแรก ได้กู้ยืมเงินมาจากแหล่งทุนเพื่อทำการปลูกส้มโดยเฉพาะ แต่พอมาปี 2548 ส้มเกิดอาการผลร่วง และราคาส้มก็ตกต่ำ ขายได้เพียง กก.ละ 2-3 บาท เนื่องจากคุณภาพของผลก็ไม่ได้คุณภาพ ทำให้ตนเองและครอบครัว เริ่มมีหนี้สินมาขึ้น ในขณะเดียวกัน เกษตรกรรายย่อยเพื่อนๆที่ปลูกส้มด้วยกัน มาประสบผลสำเร็จในการปลูกส้ม บางราย ก็ขายที่ดินไปใช้หนี้ บางรายทุกวันนี้ยังติดค้างค่าปุ๋ย ค่ายา อยู่เลย   เกษตรกรรายใหญ่บางรายที่ย้ายมาจากจ.ประทุมธานี ได้มาเช่าที่ดินเพื่อการปลูกส้ม แต่ปัจจุบันพบปัญหา เลิกทำส้มแล้วไม่คุ้มทุน จึงย้ายหนีไปก็มี โดยเกษตรกรเจ้าของที่ดินยังไม่ได้ค่าเช่าที่ดินครบเลย  ณ.ปัจจุบันนี้ ตนเองพร้อมด้วยเพื่อนบ้านหลายคน ในเขตตำบลป่าพุทรา ได้ปรับเปลี่ยนจากส้ม ไปปลูกข้าวโพดฝักสด ซึ่งมีอายุในการเก็บผลผลิตสั้น ประมาณ 65 วัน ก็ขายได้แล้ว  ราคาดี ทำแล้วเห็นกำไร ตลาดมีความต้องการ  ปัจจุบันมีเกษตรกร ที่ปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดฝักสด ได้เงินคืนเพื่อทดแทนการลงทุนที่เคยจ้างรถแบร็คโคมาทำการขุดร่องปลูกส้มแล้ว

 

                 คุณสมชาย สังคม  เกษตรกรรายย่อยที่เลิกปลูกส้ม แล้ว ได้เล่าให้ฟังว่าตนเอง เดิมประกอบอาชีพปลูกมะลิเพื่อจำหน่าย อยู่หมู่ที่ 3 บ้านกล้วย ต.ยางสูง อ.ขาณุวรลักษบุรี  ก็พอเลี้ยงครอบครัวอยู่ได้ แต่ต่อมากระแสของการปลูกส้มแรงมากช่วงปี 2546-2547  ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกส้ม ไปเป็นมะลิ แทน การปลูกส้ม เมื่อทำการปลูกส้มไประยะหนึ่ง แล้วก็ประสบปัญหา ในการลงทุน  มีทุนน้อย ประกอบกับราคาส้มก็ตกต่ำ ไม่แน่นอน หากยังทำส้มอยู่ต่อไป จะทำให้ครอบครัวเป็นหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ณ.ปัจจุบันนี้ได้ปรับเปลี่ยน จากส้ม มาเป็นมะลิ ตามเดิม เพราะมีความรู้อยู่แล้ว รายได้ก็จะพอเลี้ยงตัวได้ ขณะนี้มะลิ มีอายุ 6 เดือน

                      จากนั้นเราได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อ โดยให้นักส่งเสริมการเกษตร ของสายที่ 2 ที่มีประสบการณ์ลงปฏิบัติงานใกล้ชิดกับเกษตรกรในพื้นที่ ที่มีการปลูกส้ม ได้มาเล่าสถานการณ์ การปลูกส้มของแต่ละพื้นที่ ประกอบด้วย  คุณประทักษ์ ธรรมนิทัศนา (รับผิดชอบต.ป่าพุทรา อ.ขาณุวรลักษบุรี) คุณสวัลส์ ขาวทอง (รับผิดชอบ ต.สักงาม อ.คลองลาน ) คุณสังวาลย  กันธิมา (รับผิดชอบ ต.วังแขม อ.คลองขลุง ) คุณนิวัฒน์ บุษบงค์ (รับผิดชอบ ต.ทุ่งทราย อ.ทรายทองวัฒนา )และคุณ มณวิภา เพ็ชรักษ์ (รับผิดชอบต.โพธิ์ทอง อ.ปางศิลาทอง )

 

 

                 จากการเล่าสถานการณ์การปลูกส้ม ของแต่ละตำบลแล้ว พอที่จะเห็นการที่เกษตรกรผู้ปลูกส้มได้มีการปรับเปลี่ยนจากการปลูกส้ม ไปเป็นพืชอื่นๆทดแทนการปลูกส้ม ได้แก่ อ้อยโรงงาน  มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์ม มะละกอ ข้าวโพดฝักสด ข้าว( โดยปรับพื้นที่ใหม่ )  มะลิ และพืชผัก

 

 

         ณ.วันนี้นักส่งเสริมการเกษตรผู้ปฏิบัติงานอยู่ใกล้ชิดเกษตรกร ต้องการ ความชัดเจน หรือแนวทางการผลิตพืช ตลอดการเสริมหนุนของหน่วยงาน  องค์กร ภาคี ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของเกษตรกร ที่อยู่ในชุมชนต่างๆ ถ้าหากการผลิต ของพืชที่มีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ผู้เกี่ยวข้อง ในระดับต่างๆ ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาน้อย   การทำงานเชิงบูรณาการ ของทุกภาคส่วนยังมีน้อย  หากเราต่างคนต่างทำ ปัญหาที่เกิดขึ้นใครจะลงไปแก้ไข หรือจะแก้ไขทั้งระบบอย่างจัง อย่างไร หากจะให้แต่ ฝากความหวังให้นักส่งเสริมการเกษตร ตัวน้อยๆ ได้ลงไปแก้ไขกันเองนั้น คงจะแก้ไขไม่ได้ทั้งหมดหรอกครับ   คงจะต้องให้กำลังใจและเสริมหนุนการทำงานกันต่อไปนะครับ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 174173เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2008 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ...พี่เขียวมรกต

  • แวะมาติดตามดูการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที DW ค่ะ
  • ยะลาเพิ่งจัดครั้งที่ 3 ไป เมื่อกลาง ๆ เดือนนี่เองค่ะ
  • ดีนะค่ะ...เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์กัน
  • เพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหากันต่อไป

หวัดดีครับ

  • ไม่ทราบว่า จ.กำแพงเพชร เลือก ส้มเป้นพืชยุทธศาสตร์ จ.ฯ หรือเปล่า ถ้าเลือกฯ ก็เป็นการทำข้อมูล คู่มือการปลูกพืช เสร็จไปแล้ว 1 พืช

สวัสดีครับ

  • คนที่ยะลาเขารู้ดีว่าปลูกส้มไม่ใช่เรื่องง่าย
  • ทุนน้อย ขาดประสบการณ์ ใจไม่สู้ อย่าทำเลย
  • แค่ปลูกแล้ว  ไม่หวานก็เจ๊ง  ครับ

สวัสดีค่ะ...พี่สายัณห์

  • หัวอกคนปลูกส้มคงเหมือนหัวอกคนปลูกลำไยแถวบ้านเรา
  • ราคาลำไยก้อแค่นี้แต่...เห็นราคาปุ๋ยเคมีแล้วหนาว..ว
  • ลำไยเป็นพืชยืนต้นหลายร้อยหลายสิบปี...
  • ชาวสวนและพวกเราชาวส่งเสริมฯต้องช่วยกันหาวิธี...เพื่อเป็นทางเลือกและทางรอด...สำหรับทุกฝ่าย
  • ขอบคุณที่นำมาแลกเปลี่ยนนะคะ

                          สาวหละปูนเจ้า

  • ขอบคุณน้องอ้อยควั้น
  • ที่มาลปรร.กันตลอด
  • ทำงานกันไป ก็เรียนรู้และพัฒนากันไป
  • อย่าเพิ่งท้อแท้นะครับ พวกเรานักปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่ LO  ต่อไปนะครับ

 

  • ขอบคุณ อ.หนุ่มฯ
  • ที่มาแวะลปรร.กันตลอด
  • ที่จ.กำแพงเพชร ส้มไม่ใช่พืชยุทธศาสตร์ครับ
  • แต่ต้องจัดการความรู้ไว้เหมือนกัน
  • ณ.วันนี้ มีตำราการผลิตส้มที่กำแพงเพชร แล้ว1 เล่มครับ
  • ขอบคุณพี่ไมตรี
  • ที่มาแวะเยี่ยมและ ลปรร.
  • เห็นด้วยครับ การปลูกส้มมิใช่เรื่องง่ายๆ
  • ต้องเรียนรู้กับมันไปและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
  • ขอบคุณมากครับ
  • ขอบคุณน้องประหยัด
  • ที่มาแวะเยี่ยม ลปรร.กันต่อเนื่อง
  • เห็นด้วยกับความเห็น
  • นักส่งเสริมฯรุ่นใหม่ๆก็จะต้องช่วยกันต่อไปนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท