KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๐๗. ใช้เครื่องมือลูกผสม OM – KM


 

• เมื่อวันที่ ๒๗ มี.ค. ๕๑ ผมไปนำเสนอแนวคิดการใช้ OM (Outcome Mapping) กับ KM ในการทำ RM (Research Management) เพื่อ CM (Change Management) ในการประชุมของ สกว. ที่สวนสามพราน

 
• เป็นการอาจหาญนำเสนอต่อหน้าผู้พัฒนา OM คนหนึ่ง คือ Fred Carden   และโชคดี ที่ Fred บอกว่าการจับแพะชนแกะของผมน่าสนใจ    และน่าลองนำไปทดลองใช้    เขาถามว่ามีประสบการณ์การใช้เครื่องมือลูกผสมนี้ไหม    ผมบอกยังไม่เคย เพราะเพิ่งฝันออกมาเมื่อ ๒ วันก่อนตอนเตรียมพูดนี่เอง

 
• หลักการคือ ใช้ Progress Markers (PM) ใน OM เป็น Core Competence (CC) ในเครื่องมือ ธารปัญญา/ตารางแห่งอิสรภาพ ของ KM ฉบับ สคส.    แล้วหา SS – Success Stories เล็กๆ ตาม  CC มา ลปรร. ด้วย Storytelling และบันทึก KA และ เรื่องเล่า

   
• นำเอา tacit knowledge ที่ได้ไปปรับใช้แล้วเอาประสบการณ์มาเล่าซ้ำ   วนเวียนเรื่อยไป

  
• ในระหว่างนั้น ร่วมกันทำตารางแห่งอิสรภาพของ CC นั้นๆ    เพื่อตรวจสอบว่า CC – PM ของกลุ่มตนอยู่ในระดับไหน   และควรไปขอเรียนรู้จากกลุ่มไหน


• เท่ากับเป็นการใช้ CC – PM เป็นเครื่องมือ โฟกัส ประเด็นการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นั่นเอง

 
• และเป็นเครื่องมือฝึก Systems Thinking โดยไม่รู้ตัวด้วย

 
• คนที่อ่านบันทึกนี้ไม่รู้เรื่อง ต้องหาหนังสือ “การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ” มาอ่านครับ


• ดร. ประพนธ์เคยบันทึกเรื่องจับคู่ KM – OM กลายเป็น MOM ที่ http://gotoknow.org/blog/beyondkm/121693

 

วิจารณ์ พานิช
๒๘ มี.ค. ๕๑


                
                

หมายเลขบันทึก: 174158เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2008 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้ว หนูก็ตาขวางๆ เหมือนกันค่ะ ลองคิดตามค่ะ

ไปหาดใหญ่ด้วยกันนะคะ

หนูก็สนใจและกำลังศึกษาเรื่อง KM กับ OM แต่ก็มั่วๆอยู่นะคะ ยังหาทางออกไม่เจอค่ะกะว่าจะลองทำแล้วค่อยมา share ค่ะ

วิมล KM กรมอนามัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท