ห้องทดลองเชิงปฏิบัติการของการจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ กับกลุ่มเยาวชน NDR และเยาวชนทำหนังสั้น(๑)


ห้องทดลองเชิงปฎิบัติการเคลื่อนที่ การจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์

กลุ่มเยาวชนทำหนังสั้น กลุ่ม NDR และกลุ่มนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๐๙.๐๐ ๑๒.๐๐ น.

ห้องประชุมกระจก คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

            ทีมวิจัยชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ : โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เกมคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ ได้เดินทางลงพื้นที่ที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๒๑-๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ สำหรับโจทย์ของการทำงานในวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการลงไปเพื่อแสวงหาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์

            ทางทีมวิจัยได้วางรูปแบบกิจกรรมในห้องทดลองเชิงปฎิบัติการไว้เป็น ๖ ช่วง

            ช่วงที่หนึ่ง กระบวนการขาว เทา ดำ เป็นการให้ผู้เข้าร่วมทดลองดูภาพยนตร์จำนวน ๑๒ เรื่อง โดยคัดเลือกภาพยนตร์จากต่างประเทศและภาพยนตร์ไทย ซึ่งพิจารณาคัดเลือกภาพยนตร์ที่จะใช้ในการทดลองจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์ โดยให้ผู้เข้าร่วมทดลองพิจารณาให้ระดับความเข้มของสีเป็น ๓ สี คือ สีขาว สีเทา และสีดำ โดยไม่ได้มีการให้นิยามของสีไว้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พิจารณาภายใต้กรอบแนวคิดของตนเอง ซึ่งจะเป็นการพิจารณาโดยใช้สามัญสำนึกของผู้ชม โดยไม่มีกรอบแนวคิดของผู้นำกระบวนการมาชี้นำ

            ช่วงที่สอง กระบวนการให้นิยามสี เป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิดของการให้คำนิยามของระดับสีทั้งสามสีว่า สีขาว สีเทา และสีดำ หมายถึงอะไร เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในการกำหนดนิยามสีระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการ

            ช่วงต่อมา นำเสนอผลการจัดระดับสีของภาพยนตร์ เป็นการนำเสนอผลการพิจารณาระดับสีของภาพยนตร์ทั้ง ๔ เรื่อง โดยเรียงลำดับจากสีขาวไปยังสีดำ ว่าแต่ละเรื่องมีระดับสีเป็นอย่างไร แล้วพิจารณาภาพยนตร์เรื่องที่มีระดับสีที่มีความชัดที่สุดในแต่ละสีออกมาพิจารณาในช่วงต่อไป

            ช่วงที่สี่ กระบวนการสร้างเกณฑ์ในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ โดยทีมวิจัยจะแจกกระดาษให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเพื่อเขียนเกณฑ์ในการจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์อีกครั้งหนึ่ง โดยเขียนแผ่นละหนึ่งประเด็น โดยทีมงานจะนำกระดาษไปติดที่ผนังด้านหนึ่งของห้องโดยจัดกลุ่มและระดับความเข้มของประเด็น

            ช่วงที่ห้า หลังจากผ่านช่วงที่ ๔ แล้ว ห้องทดลองก็จะมีเกณฑ์ร่วมกันในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ หลังจากนั้นก็จะเป็นการทดลองจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ ภายใต้เกณฑ์ที่สร้างให้ห้องทดลอง โดยให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการชมภาพยนตร์ในรอบแรกอีกครั้งหนึ่ง แล้วทอลองจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ โดยใช้เกณฑ์ที่สร้างขึ้นในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการ ในครั้งนี้ ทีมงานจะแจกสติ๊กเกอร์ให้กับผู้เข้าร่วมทดลอง ๓ สี ก็คือ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง โดยให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการดูทีละเรื่อง และนำสติ๊กเกอร์ไปแปะที่กระดาษหน้าห้องที่รายชื่อภาพยนตร์ และเกณฑ์ในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ใน ๓ กลุ่มก็คือ เพศ ภาษา และความรุนแรง

            ช่วงที่หก การสรุปผลการจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ โดย เชื่อมความรู้ระหว่างพัฒนาการมนุษย์และเกณฑ์ที่ได้จากห้องทดลอง หลังจากผู้เข้าร่วมห้องทดลองได้ทดลองจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์เสร็จแล้ว ก็จะให้นักวิชาการด้านจิตวิทยา จิตแพทย์ นักพัฒนาการมนุษย์ หรือ นักประสาทวิทยา ร่วมสรุปผล โดยวิเคราะห์จากผลการทดลองจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ที่ได้จากการจัดในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการ โดยพิจารณาจากระดับความเข้มข้นของเกณฑ์ และเรื่องของช่วงอายุของผู้ชมภาพยนตร์

 

รายชื่อตัวอย่างภาพยนตร์ที่ใช้ในกระบวนการทดลอง

            ภาพยนตร์ที่ใช้ในห้องทดลองเชิงปฎิบัติการมีจำนวน ๑๒ เรื่อง โดยแบ่งเป็นภาพยนตร์ไทย จำนวน ๗ เรื่อง คือ (๑) หอแต๋วแตก (๒) ต้มยำกุ้ง (๓) ก้านกล้วย (๔) โหมโรง (๕) ๑๓ เกมสยอง (๖) รักแห่งสยาม (๗) จัน ดารา ภาพยนตร์ต่างประเทศ จำนวน ๕ เรื่อง คือ (๑) ปาฎิหารย์รักจากแม่ (Running Boy) (๒) แฮรี่ พอตเตอร์ (๓) Kill Bill (๔) SAW (๕) I Robot

 

เครือข่ายที่เข้าร่วมกระบวนการทดลองเชิงปฎิบัติการ

            ในการทำห้องทดลองครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย กลุ่มเยาวชนที่ทำหนังสั้น กลุ่ม NDR และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

(โปรดติดตามผลการทดลองได้ในตอนต่อไป)

หมายเลขบันทึก: 174058เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2008 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะแนท

อยากให้มีคำอธิบายเกี่ยวกับ กลุ่ม NDR ด้วยค่ะ

ทีมวิจัยอาจรู้จักว่ากลุ่ม NDR คือใคร อย่างไร

แต่ขออนุญาตถามเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับตัวพี่เอง

และคิดเผื่อบุคคลทั่วไปที่เข้ามาอ่านแล้วไม่เข้าใจด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ  

คุณแจ๋วถามตรงจุด งานของทีมแนทขาดคนที่คอยแนะนำตัวละครค่ะ ต้องมอบหมายใครสักคนแล้วค่ะ อยากคุยด้วย เพื่อสรุปงานสัก ๒ ชั่วโมง

  • กลุ่ม NDR เป็นชื่อเรียกของเยาวชนกลุ่มหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวกันของเด็กวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มักจะเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาทต่อสู้ และใช้ความรุนแรง ดังจะเห็นได้จากการนำเสนอข่าวการใช้ความรุนแรงของกลุ่มเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีอยู่เป็นระยะ (เช่น ข่าวการทำร้ายกันด้วยอาวุธมีด หรือการใช้มีดฟัน) จากการศึกษาเอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 13 ช่วงวันที่ 25-27 สิงหาคม 2547 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ หน้า 166.
  • ผลจากการวิจัยได้กล่าวไว้ว่า เยาวชนกลุ่ม NDR จังหวัดเชียงใหม่ มีโรคทางจิตเวชที่สำคัญได้แก่ Current alcohol dependence ร้อยละ 29.38 Current alcohol abuse ร้อยละ 25.26 Obsessive-compulsive disorder ร้อยละ 13.92 Lifetime psychotic disorder ร้อยละ 12.89 Current suicide risk ร้อยละ 12.89 โดยแยกเป็นความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายระดับปานกลาง ร้อยละ 20.00 ระดับสูง ร้อยละ 16.00 และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี มี Antisocial personality disorder ร้อยละ 28.89
  • ข้อเสนอแนะ ที่มีต่อเยาวชนกลุ่ม NDR จังหวัดเชียงใหม่ มีโรคทางจิตเวชที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม ที่ต้องเร่งให้การช่วยเหลือและแก้ไข
  • ส่วนคำถามว่า คำว่า NDR ย่อมาจากอะไร? ผลจากการพูดคุยบ้างก็ว่าย่อมาจาก Non Drug Rules (กลุ่มที่มีกฎว่าไม่ใช้ยา...แต่ใช้ความรุนแรง) แต่เมื่อได้พบน้องดิว ผู้นำเยาวชนกลุ่ม NDR ที่สามารถทำงานร่วมกับตำรวจที่เชียงใหม่ได้เป็นอย่างดีกลับบอกว่ามาจาก Na DaRa ซึ่งก็คือ สถานที่ตั้งของกลุ่มอยู่หน้าโรงเรียนดารา นั่นเอง... อันนี้ก็แล้วแต่ผู้อ่านจะพิจารณา :)

อ.แหววขา แนทกำลังจัดทำการแนะนำตัวละครอยู่เช่นกันค่ะ

และมีการบ้านต้องส่งอาจารย์แหววด้วยเช่นกัน ไม่ลืมค่ะ :)

อ่านเกี่ยวกับกลุ่ม NDR แล้วน่าสนใจทีเดียวค่ะ

ทำให้นึกไปถึงกลุ่มกราฟฟีตี้ที่มีลักษณะเฉพาะตัวเหมือนกัน

ว่าถ้าน้องๆ กลุ่มกราฟฟีตี้ได้มาเข้าแลป จะเป็นอย่างไร

พี่คิดเองนะคะ...อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยใดๆ

นัท NDR พวกแต้ม น้องอ้ายเบตตี้

ผมNDRคับ ใครว่าNDRไม่ดีคับ หน้าดารากับNO DRUG RULERS ก้อทีมเดียวกันแหละคับ เค้าทำโครงการกันได้รับงบสนับสนุนด้วย ผมเด็กใหม่ซิงๆคับที่เคยทำก้อไม่มากนะ เช่น กวาดวัด นั่งสมาธิในวัด ปลูกต้นไม้ แจกถุงยาง เป็นต้น ผมเด็กเชียงใหม่อยูนวมิน พายัพคับ สารวัตรนักเรียนในโรงเรียน-นอกโรงเรียน คณะกรรมการนักเรียน ชมรมดนตรีของโรงเรียน ผมเชื่อถือได้ทั้ยคับ NDRที่ดีก้อมีมากคับ ที่ทำเสียก้อมีมากเท่าๆกัน แต่มนุษย์ในปัจจุบันชอบมองความชั่วของคนอื่นเด่นเสมอคับ ไอ่ที่ดีๆมันไม่มองกันหรอก ไม่จำเป็นต้องทำงานเอาหน้า เอาเงิน แค่ทำเพื่อสังคมก้อพอ ผิดกับผู้ใหญ่บางพวก เห็นแก่เงินมาก ใช่ไหมคับ มีไรโทรถามได้คับข้องใจเดี๋ยวจัดให้ถ้าพิมพ์คงมากๆๆๆๆๆ0840471953 นัท(โหด)พวกแต้มคับ ยินดีต้อนรับ

- -* ก้อ อย่าง ว่า อะนะ คับ NDR ก้อคือ ครอบครัว ของ เรา

อย่ามายุ่ง กับ พวกเรา เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท