นายเกษตร กับ นายศึกษา ช่วยกันทำงานส่งเสริมฯ ตอนที่ 3 เพื่อนช่วยเพื่อนสร้างนักวิจัยชุมชน


เพื่อนไม่เคยทิ้งกัน...เพื่อนต้องช่วยเพื่อน... เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคและขวากหนามในการก้าวเดินต่อไปข้างหน้า... ถ้าคิดดีและทำดี...สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยคุ้มครองท่านเอง

นายเกษตร กับ นายศึกษา ช่วยกันทำงานส่งเสริมฯ

ตอนที่ 3  เพื่อนช่วยเพื่อน "สร้างนักวิจัยชุมชน" 

ประเด็น  นายเกษตรทำอะไร? นายศึกษาทำอะไร?  "เขาจึงเป็นเพื่อนกัน"

   นายเกษตร มีอาชีพเป็นนักส่งเสริมฯทำงานกับชาวบ้านโดย "ทำอย่างไรถึงจะสนับสนุนเกษตรกรให้ประกอบอาชีพการเกษตรได้บรรลุผล" ดังนั้น "บทบาทที่นายเกษตรปรับเปลี่ยนคือ เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)" ที่ร่วมกับเกษตรกรจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระตามความต้องการ ได้แก่  รายบุคคล และรายกลุ่ม 

   ส่วน นายศึกษา มีอาชีพเป็นครู ทำหน้าที่สอนหนังสือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา  ซึ่งตอนนี้หน่วยเหนือของนายศึกษาได้มีนโยบายให้จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น "นายศึกษาจึงต้องปรับบทบาทของตนเองเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)" โดยร่วมกันจัดหลักสูตรกับชุมชนเพื่อสอนนักเรียนให้เกิดทักษะทางด้านการคิดที่ลงมือกระทำด้วยตนเองและร่วมกันสรุปบทเรียนด้วยตนเอง

   ผลที่เกิดขึ้น จากการปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของนายเกษตรและนายศึกษานั้น พบว่า 

     1.  การทำงานในช่วงแรก ๆ ช่างเหนื่อยนัก เพราะเคยชินกับวัฒนธรรมของการสอนที่ตนเองเป็นผู้บรรยายและตนเองเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนรู้

     2. แต่พอทำงานไปสักพักงานเริ่มเข้าที่เข้าทาง และตนเองเรียนรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้  โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็น ก็เริ่มทำงานสบาย ทำงานง่าย และคล่อง เพราะตนเองทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)

      3. จิตสำนึกที่เกิดขึ้น  ทำงานเพื่อส่วนรวมและตรงความต้องการมากขึ้น สนุกกับการทำงาน และมีอะไรให้เรียนรู้เพิ่มขึ้น เพราะ "วิสัยทัศน์เปิด"

      4.  ภาระที่ต้องรับผิดชอบ  โดยทำงานกันเป็นทีม  มีการเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายการ  เรียนรู้และการทำงาน  มีการแบ่งภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ  แล้วค่อยนำงานที่เกิดขึ้นมา     เชื่อมโยง วิเคราะห์ และสรุปร่วมกันเป็นผลงานของทุกคน

   อุปสรรค การทำงานของนายเกษตร กับ นายศึกษา นั้นมีมากมาย ซึ่งเช่นเดียวกันสิ่งที่ทำและเกิดขึ้นทุกอย่างมิได้สวยหรู ต่างมีขวากหนามและอุปสรรคมากมาย ซึ่งสรุปได้ คือ

     1. ผู้บังคับบัญชาเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เช่น งานที่คุณไปทำนั้นไม่ใช่หน้าที่  คุณต้องทำงานของผมก่อน  และ ถ้าผมไม่ได้สั่งก็ไม่ต้องทำ เป็นต้น

     2. เพื่อร่วมงานเป็นปัญหาและอุปสรรคต่องานที่ปฏิบัติ เช่น มีความไม่ค่อยพึงพอใจเกิดขึ้น ภายในสำนักงาน  มีการยุแหย่หรือให้ข้อมูลกับผู้บริหารในทางที่ไม่ค่อยถูกต้อง  และต่อหน้าแสดงความเป็นมิตรแต่ลับหลังเป็นผู้ไม่หวังดี เป็นต้น

     3.  ครอบครัวเป็นอุปสรรค  เช่น  ความรับผิดชอบมีมากขึ้น  เวลาที่จะมีให้กันลดลง และทำงานเพื่อส่วนรวมแต่ครอบครัวจะอยู่กันอย่างไร เป็นต้น

     5.  ความรู้ของตนเองเป็นปัญหาให้ต้องแก้ไข  เช่น งานบางชิ้นต้องการความรู้ที่หลากหลายหรือความรู้เฉพาะด้าน และความต้องการเพื่อนในการเรียนรู้และถ่ายเทประสบการณ์ร่วมกัน เป็นต้น

   แนวทางการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นนั้น  นายเกษตร กับ นายศึกษา จึงได้ปรึกษาหารือและสรุปเป็นข้อตกลงร่วมกัน คือ

     1.  ถ้าเราคิดดี  และทำดี  ก็จงทำต่อไป

     2.  การทำงานที่เกิดขึ้นเราจะไม่สร้างศัตรู แต่ทำงานแล้วเราต้องได้เพื่อน

     3.  งานที่เราทำเพื่อให้เกิดการพัฒนานั้น เราต้องทำอย่างมีกลยุทธิ์

     4.  งานที่เราคิดและทำนั้น จะเกิดการพัฒนาตนเองและได้งานในหน้าที่ด้วย

   ส่วน กระบวนการ ที่เพื่อนแต่ละคนใช้ ได้แก่ 

     1.  นายเกษตร  ได้วางกลยุทธิ์การทำงานโดยเริ่มจาก 1) การสร้างเพื่อนหรือพันธมิตรที่เป็นเครือข่ายการเรียนรู้และการทำงาน  2) เริ่มติดต่อสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แล้วนำผลมาสู่งานในหน้าที่  3) เริ่มใช้เทคนิคในการบริหารจัดการผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน  4) ผู้ที่     เกี่ยวข้อง คือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย  และ 4) ผู้บริหารไม่ต้องมีความเก่งหรือสนับสนุน แต่ขออย่าขัดขวางการทำงานเท่านั้นก็พอ

     2.  นายศึกษา ได้วางกลยุทธิ์การทำงานโดยเริ่มจาก  1) เริ่มมองไปรอบ ๆตนเองและชุมชนนั้นมีอะไรที่น่าสนใจและตนเองสามารถทำประโยชน์อะไรให้เขาได้บ้าง  2) จับมือกับผู้รู้และทำงานร่วมกัน  3)  แลกเปลี่ยนจุดแข็งและศักยภาพที่มีอยู่ภายในตัวตนและองค์กร  4)  ทำตัวเป็น  ทั้งผู้รับและผู้ให้ในเวลาเดียวกัน  และ 5) ทำงานแล้วต่างคนต่างได้ประโยชน์ไม่มีใครเสีย

   หลังจากนั้น นายเกษตร และ นายศึกษา จึงได้จับมือกันเดินไปสู่เป้าหมายของการพัฒนา    ตนเอง  การพัฒนางานที่ทำ  และสร้างกุศลสู่องค์กร ที่แต่ละคนทำงานให้มีหน้ามีตาและมีชื่อเสียงในสังคมและชุมชน  แต่ทั้งนี้การทำงานของทั้ง 2 ท่าน มิเคยคำนึงถึงชื่อเสียงและความดีความชอบที่ตนเองจะต้องได้รับ  ต่างก้มหน้าก้มตาทำงาน "ปิดทองหลังพระ" เพื่อสรุปข้อค้นพบและ  มีคำแนะนำให้กับชาวบ้านและชุมชน ซึ่งเป็นลูกค้าที่ต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพของพวกเขาเหล่านั้นโดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ในลักษณะ "การนำวิธีการวิจัยมาใช้แก้ปัญหาและพัฒนาอาชีพของตนเองและชาวบ้าน".....อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย.....เพราะ เราเป็นเพื่อนกันและจะช่วยกันสร้างนักวิจัยต่อไปน่ะ.

                                       ศิริวรรณ  หวังดี

                                     14 มีนาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 17388เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2006 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ไพโรจนฺ ลิ้มจำรูญ
พัฒนาคน พัฒนาทีมงาน   สอนงาน อย่าลืมพัฒนาองค์กร และสอนตัวเองด้วยนะ  เป็นกำลังใจให้ คอยเฝ้าดูอยู่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท