การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้กระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือใช้เทคนิค STAD


การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้กระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือใช้เทคนิค STAD

1.              ข้อมูลทั่วไป

1.1   ชื่อผลงาน   การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้กระบวนการ  การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือใช้เทคนิค  STAD

1.2   เจ้าของผลงาน      นางสุนิษา     เหลือถนอม   ครูชำนาญการโรงเรียนสวายวิทยาคาร  ปฏิบัติการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  

       1.3     ความเป็นมา    ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   มาตรา  22  “การจัดการศึกษาต้อง

ยึดหลักว่า  ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ” การเรียนรู้ควรสนองความต้องการ  และความแตกต่างของผู้เรียน   ในมาตรา  30  “ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้  ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา ”

                จากการรายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแผนการจัดการเรียนรู้ที่  5  รหัสวิชา    42101  พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำอยู่ในระดับคุณภาพปรับปรุง  ผู้สอนจึงได้ศึกษากระบวนการเรียนการสอนหลากหลายวิธี  รวมทั้งหลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี  วิธีการจัดการเรียนรู้   พบว่าวิธีการสอนแบบ  STAD  เหมาะสำหรับนักเรียน จึงได้นำวิธีการเรียนการสอนดังกล่าวมาแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำโดยการทำวิจัยในชั้นเรียนและพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนต่อไป

 

2.  กิจกรรม / วิธีการ /ขั้นตอนที่สำคัญ

                 2.1    จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตาม แผนการเรียนรู้ที่  5  และรายงานผลการเรียนการสอน  พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำไม่ผ่านเกณฑ์

                2.2    ศึกษาเอกสารการวิจัยและงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

                2.3   วิเคราะห์ปัญหา / จัดทำโครงร่างการวิจัย

                2.4   จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ ใช้ เทคนิคแบบ  STAD 

                2.5  ทำเครื่องมือการประเมิน และแบบบันทึก

 

 

                2.6  ดำเนินการวิจัยตามแผน / ปฏิบัติกิจกรรม

                                2.6.1   ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทดสอบก่อนเรียน  จำนวน  10  ข้อ

                                2.6.2  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือใช้เทคนิคแบบ  STAD 

                                2.6.3  ใช้แบบฝึกทักษะชุดที่  1  จำนวน  10  ข้อ

                                2.6.4  ใช้แบบฝึกทักษะชุดที่  2  จำนวน  10 ข้อ

                                2.6.5  ใช้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทดสอบหลังเรียน  จำนวน  10  ข้อ (ชุดเดิมกับข้อสอบก่อนเรียน)

                2.7  วิเคราะห์ข้อมูล และผลการปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าเดิมและผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้  นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าเดิม(จากผลการสะท้อนความคิดของนักเรียนและผู้ปกครอง)

                2.8  สรุป รายงานและเผยแพร่ 

   

3.  ปัจจัยความสำเร็จหรือปัจจัยที่เกื้อหนุน

                1.  แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้เทคนิคแบบ  STAD 

                2.  ผู้บริหาร   ศึกษานิเทศก์    เพื่อนครู  นักเรียนและผู้ปกครองเห็นคุณค่าในการวิจัยและให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี

                3.  นักเรียน มีความกระตือรือร้น  สนใจเรียน 

                4.  นักเรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่มอบหมายเป็นอย่างดี

 

4.   ผลการดำเนินการ / ผลสำเร็จ / ผลความภาคภูมิใจ

                1.  สามารถแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในเรื่องการหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิตและเรขาคณิต    จำนวน   40  คน จากนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่  5  จำนวน  74  คน

                2.  มีผลงานการวิจัยในชั้นเรียน  ที่จัดทำเป็นรายงาน  5  บท

                3.  สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องงานวิจัยในชั้นเรียนระหว่างเพื่อนครูในโรงเรียนและนอกโรงเรียนได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท