การทำแผนที่มโนทัศน์


แผนที่มโนทัศน์เป็นไดอะแกรม 2 มิติแสดงความเชื่อมโยงตามลำดับชั้นระหว่างมโนทัศน์เดี่ยวหรือกลุ่มของมโนทัศน์

จากทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ อาซูเบล (David Ausubel) เป็นการเรียนรู้ที่ไม่สนับสนุนการท่องจำ ผู้เรียนแต่ละค้นเลือกจะหาความสัมพันธ์ของความรู้ใหม่กับมโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นสิ่งที่เขามีความรู้แล้วนั้น นั้นมาจากความเชื่อความเข้าใจดั้งเดิม

แผนที่มโนทัศน์เป็นไดอะแกรม 2 มิติแสดงความเชื่อมโยงตามลำดับชั้นระหว่างมโนทัศน์เดี่ยวหรือกลุ่มของมโนทัศน์ การเรียนรู้โดยวิธีการทำแผนที่มโนทัศน์ เป็นวิธีการที่ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ และมีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้อย่างมีความหมายอันเป็นตัวสนับสนุนให้เข้าใจมโนทัศน์ที่เรียน

การเชื่อมโยงมโนทัศน์เป็นประสบการณ์เบื้องต้นในการทำแผนที่มโนทัศน์ จากนั้นให้จัดระเบียบให้มโนทัศน์จัดลำดับกันตามลำดับชั้น โดยอาศัยคำเชื่อม ในการศึกษาเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์  ตัวอย่างหัวข้อที่ใช้เพื่อการเตรียมประสบการณ์ในการทำแผนที่มโนทัศน์เช่น เช่นกีฬา ดนตรี สุนัข รถยนต์ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

โดยสรุปในการจัดทำแผนที่มโนทัศน์ได้ 7 ขั้นตอนเมื่อให้นักเรียนทำคือ

1. จัดบทบาทของนักเรียนเป็นกลุ่มแบ่งแยกย่อยได้คือ ผู้จัดการกลุ่ม ผู้บันทึก ผู้เขียนผังมโนทัศน์ ผู้รายงาน

2. จัดให้แต่ละกลุ่มอภิปรายว่าเรารู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับหัวข้อที่ศึกษา

3. ช่วยกันหามโนทัศน์หลักที่สำคัญเกี่ยวกับหัวข้อ

4. ทำรายการของมโนทัศน์ โดยมโนทัศน์หนึ่งๆ เป็นเพียงคำๆ หนึ่ง

5. ให้เรียงรายการมโนทัศน์จากที่กว้างทั่วไปกว่าไปยังมโนทัศน์เฉพาะทาง

6. ให้เขียนมโนทัศน์ที่มีความหมายทั่วไปมากกว่าไว้ที่ด้านบนของผัง และให้เชื่อมโยงไปยังมโนทัศน์ที่มีความทั่วไปน้อยกว่า

7. ให้เขียนคำเชื่อมโยงที่อธิบายว่าคู่ของมโนทัศน์มีความสัมพันธ์กัน

เช่นถ้าเราจะเขียนมโนทัศน์ของแผนที่มโนทัศน์ ที่เขียนเป็นผังมโนทัศน์

ด้านบนสุดจะเขียนว่า  แผนที่มโนทัศน์ ด้านล่างในชั้นแรกที่หาความสัมพันธ์หรือที่เกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ทั่วไปหลัก คือเกี่ยวข้องกับ การเรียนรู้ โครงสร้าง การสร้าง  และการนำไปใช้  จากนั้นไปแยกลงไปอีกว่า

การเรียนรู้ เกียว ข้องกับอะไร น่าจะเป็นอย่างมีความหมาย การเรียนรู้มโนทัศน์ผิด การแก้ปัญหา มีผลสัมฤทธ์ 

โครงสร้าง ของแผนที่มโนทัศน์ก็ประกอบด้วยมโนทัศน์ที่ประกอบด้วยทั่วไปและเฉพาะทาง และลักษณะตามลำดับชั้น มีสาขาย่อยออกไป

การสร้าง ในการสร้างแผนที่มโนทัศน์จะมีหัวข้อหรือมโนทัศน์ ที่มีลำดับตำแหน่ง และมีการจัดลำดับไปสู่มโนทัศน์เฉพาะทางมากขึ้น

การใช้ นำแผนที่มโนทัศน์ไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ซึงประกอบด้วยเนื้อหา รายวิชา หน่วยการเรียน คำบรรยาย  ใช้ในการสอน น่าจะมีคำบรรยาย การศึกษาข้อความรู้ มีการทบทวน และนำไปใช้ประการสุดท้ายคือ ใช้เพื่อประเมินผล ซึ่งต้องทดสอบ และดูพฤติกรรมตอบสนองการเรียนรู้

 

หมายเลขบันทึก: 173567เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท