PCT เด็ก กับการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก


ประเด็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกที่เราให้ความสำคัญคือ การดูแลผู้ป่วยไม่ให้เข้าสู่ภาวะช้อคและภาวะมีน้ำเกิน

       การกำหนดกลุ่มโรคในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพของทีมดูแลผู้ป่วยเด็กนั้น โรงพยาบาลของเรายังคงให้ความสำคัญกับโรคไข้เลือดออก

 

       ประเด็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกที่เราให้ความสำคัญคือ การดูแลผู้ป่วยไม่ให้เข้าสู่ภาวะช้อคและภาวะมีน้ำเกิน

 

        การระดมแนวทางตามมาตรฐานวิชาชีพ(professional standard) แต่ละวิชาชีพ จึงถูกกำหนดขึ้นและร่วมกันดูแลผู้ป่วย

 

         แพทย์มีหน้าที่ในการวางแผนการรักษา การติดตามความก้าวหน้าของโรค การประเมิน การตรวจจับ(detect) อย่างทันการและการให้การรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยผ่านพ้นภาวะช้อคไปได้

 

        พยาบาลผู้อยู่กับคนไข้ มีหน้าที่ในการเฝ้าระวังอาการ ตรวจติดตามสัญญานชีพ และการประเมินอาการเป็นระยะ การให้สารน้ำที่เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการของคนไข้และแผนการรักษาที่สอดคล้องกัน

        การตรวจจับ(detect) อาการที่เปลี่ยนแปลงไปของคนไข้ได้ทันการก็เป็นเรื่องสำคัญในการที่จะต้องปรับแผนการรักษา กันดีกว่าแก้

 

        ชันสูตร คงต้องคอยให้การตรวจวินิจฉัยผลความเข้มข้นของเลือดและรายงานค่าวิกฤตอย่างทันการ

        

        เภสัชกร มีหน้าที่ในการเตรียมเวชภัณฑ์ ตลอดจนการเฝ้าระวังเรื่องของความคลาดเคลื่อนทางยา ยาเสี่ยงสูงที่อาจจะถูกนำมาใช้กับผู้ป่วย เภสัชก็รับหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมในส่วนนี้

 

         ผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกราย เนื่องจากว่า ความเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ ช้อคและภาวะน้ำเกิน เรื่องของเครื่องมือจึงเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะผู้ป่วยทุกรายต้องใช้เครื่องให้สารน้ำ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำอย่างพอเหมาะและเหมาะสมเพียงพอ

        

          หากว่าความรู้ของทีมดูแลไม่เหมาะสม ศักยภาพของผู้ดูแลไม่เพียงพอเหมาะสม ทีมพัฒนาทรัพยากรบุคคลก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง และยังมีผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นอีก อย่างเช่น ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ ในการออกไปให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันตัวเองจากยุงลาย  เน้นไปในเรื่องของความตระหนักและใส่ใจของประชานเข้าไปด้ย ฝ่ายสุขาภิบาลป้องกันโรคช่วยในการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย เน้นไปในเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น

 

         จะเห็นได้ว่า ในการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกมีการประสานคนทำงานเป็นทีมหลากหลายวิชาชีพทั้งที่เกี่ยวข้องกับอาการผู้ป่วยทางด้านclinic และ non-clinicของทีมสนับสนุน/เกี่ยวข้อง มีทั้งการรักษา ส่งเสริมและป้องกัน รวมถึงการฟื้นฟูสภาพ ไปพร้อมๆกัน

 

          ในการทบทวนการดูแลผู้ป่วย หากพบว่าเกี่ยวข้องกับทีมใด คงต้องให้ทีมนั้นๆเป็นผู้สานต่อ ทีมดูแลผู้ป่วยเองไม่จำเป็นต้องลงมือทำเอง ทีมดูแลผู้ป่วยคงทำเฉพาะเรื่องของการวางระบบ ทบทวนระบบ ปรับระบบ เป็นการคิด ทำ ปรับ กับผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่เราให้ความสนใจ

  

           ดูเหมือนจะง่ายนะ แต่เวลาทำกันจริงๆแล้วก็เล่นเอาหลงไปหลายครั้งหลายคราว

 

      

หมายเลขบันทึก: 173560เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ยากตรงประสาน

แต่ไม่มีอะไร ที่พยาบาลจะทำไม่ได้ค่ะป้าแดง

  • สวัสดีค่ะ อ.อุบล
  • พยาบาลเราทำได้ทุกอย่างจริงๆเลยนะคะ
  • แต่ก็ดูไม่รุ่งเรืองเท่าที่ควร
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะ ป้าแดง

มาให้กำลังใจ "ทีมช่วยชีวิต" ทุกคนเลยคะ โดยเฉพาะนางฟ้าชุดขาว

สบายดีนะคะป้าแดง

รักษาสุขภาพด้วยคะ

---^.^---

อาจารย์คะ อยากทราบคุณภาพของการพยาบาลผู้ป่วยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพว่ามีอะไรบ้างคะ ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท