เขาคุยอะไรกันในการประชุมทางวิชาการ (๒)


เป็นการวิเคราะห์วิจารณ์พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เรื่องหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความรักของเจ้านายพี่น้องทั้ง ๔ พระองค์ อันคนไทยเทิดทูนและจงรักภักดียิ่ง

เขาคุยอะไรกันในการประชุมทางวิชาการ  (๒)

อยู่คู่กาลกับโลก    :   การศึกษาวรรณคดี วรรณกรรม และสื่อร่วมสมัย

(มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ๒๐-๒๑ มีนาคม ๒๕๕๑)

 

        

           การบรรยายในเรื่องต่อไปในการประชุมทางวิชาการครั้งนี้น่าติดตามมากเรื่องหนึ่ง เพราะเป็นการวิเคราะห์วิจารณ์พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เรื่องหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความรักของเจ้านายพี่น้องทั้ง ๔ พระองค์ อันคนไทยเทิดทูนและจงรักภักดียิ่ง

 

   

 

ส่องสร้อยกองทรวง :

 

ความงามในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

 

บรรยายโดย ผศ.ธเนศ เวศร์ภาดา  คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

              ส่องสร้อยกองทรวง  เป็นพระนิพนธ์ที่มีเสน่ห์ ๓ ด้าน คือ

 

 ๑. ด้านเนื้อหา     ที่เล่าถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พสกนิกรรักและเทิดทูนซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนอยากรู้แต่ไม่มีโอกาสได้รู้ แตกต่างจากหนังสือพระราชประวัติทั่วไป นอกจากนี้ยังได้เห็นความรักความผูกพันของเจ้านายทั้ง ๔ พระองค์ที่คนไทยจงรักภักดี

 

ตัวอย่างบางตอน      ข้าพเจ้าเห็นน้องใกล้ๆ และอยากแตะต้อง แต่ที่โรงพยาบาลเขาก็ให้ดูเพียงหลังกระจกที่กั้นห้องเด็กไว้ เมื่อกลับมาบ้านแล้ว ข้าพเจ้าได้ถามแหนนว่า น้องคนใหม่นี้พูดไทยได้หรือเปล่า ...คราวนี้ข้าพเจ้าก็สนุกใหญ่ แหนนจะอาบน้ำแต่งตัวหรือทำอะไรให้น้อง ข้าพเจ้าต้องเข้าไปยุ่งด้วยเสมอจนแหนนทนไม่ไหว

 

 ๒. การร้อยเรียง      ที่เกิดจากกระบวนการสืบค้นข้อมูลทั้งสัมภาษณ์และเอกสาร  การใช้จินตนาการ และการเล่าจากความทรงจำผสมผสานกัน   

 

ตัวอย่างบางตอน     ข้าพเจ้าจำได้อีกครั้งหนึ่ง ก่อนจะออกไปเที่ยวจำไม่ได้แน่ น้องชายซึ่งอยู่ในที่คนขับเกิดจับพวงมาลัยของรถและเอาขาทั้งสองสอดเข้าไป น่ารักมาก ผู้ใหญ่เห็นเข้าก็รีบไปเอากล้องมาถ่ายรูปไว้ ข้าพเจ้าคิดอยากดึงความสนใจมาที่ตัวบ้าง จึงพยายามสอดขาเข้าไปในพวงมาลัยบ้าง จำไม่ได้ว่าทำสำเร็จหรือเปล่า แต่ไม่มีใครสนใจแม้แต่น้อย จึงเข้าใจว่าการไปเอาอย่างคนอื่นนั้นไม่น่าสนใจเลย  การริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เทานั้นเป็นสิ่งที่มีค่า 

 

๓. ด้านภาษา         มีลักษณะเรียบง่ายและเชื่อมโยงอย่างมีสัมพันธภาพ   ตอนท้ายเรื่องใช้ภาษากวีที่แสดงกลวิธีการแต่งที่แยบยล คมคายและสื่ออารมณ์ถึงผู้อ่านได้ชัดเจน ลึกซึ้งที่สุด โดยเล่าถึงกรณีรัชกาลที่ ๘ สวรรคตตอนหนึ่งว่า

 

ตัวอย่าง     ลายพระราชหัตถเลขาฉบับสุดท้ายที่ทรงมีมา ลงวันที่ ๒๗ และ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙ ทรงเล่าถึงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ...อยากจะเสด็จอย่างส่วนพระองค์แต่อังกฤษต้องการให้เป็นทางการจึงตกลงไปสหรัฐอเมริกาเป็นทางการด้วย ดังนั้นจึงต้องเตรียมการกันให้เป็นการใหญ่อย่างรีบเร่ง ไม่ทราบว่าทุกอย่างจะพร้อมหรือไม่ หรือว่าจะมีอุปสรรคอีกในนาทีสุดท้าย  ...  อุปสรรคก็มีขึ้นมาได้จริงๆ ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ เวลาใกล้ ๙ นาฬิกา  ...ในไม่ช้ายอดเขาก็โผล่พ้นเมฆโดยไม่มีโมเซส  ฝูงชนต่างซึมเซา โศกสลด  โยชวเดินสู่ดินแดนที่พระผู้เป็นเจ้าทรงให้

 

 

              บทสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับการบรรยายเสนอเรื่องนี้ ทำให้เราได้เห็นพระปรีชาสามารถด้านการใช้ภาษาของพระองค์มากขึ้น แต่ที่เหนือไปกว่านั้นทำให้คนไทยได้สัมผัสถึงความรัก ความผูกพันระหว่างพี่น้องในแง่มุมที่คนภายนอกยากที่จะเห็นได้  ทำให้คนไทยทั้งหลายได้ใกล้ชิดพระองค์ผ่านพระนิพนธ์มากยิ่งขึ้น และมีคุณค่าทางจิตใจแก่คนไทยทั้งหลายมากทีเดียว  ส่วนแง่มุมการวิเคราะห์ก็น่าสนใจ ทำให้เราอยากหยิบพระนิพนธ์ของพระองค์มานั่งพิจารณากันใหม่ให้ลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิมครับ

 

หมายเลขบันทึก: 173110เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2008 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท