ระบบบริหารและปัญหาการศึกษา "ครูคือแพะ" จริงหรือ?


ครูคือใคร ใครคือครูในวันนี้.....ไม่รู้จะไปถามใครเหมือนกันครับ เพราะครูเองก็ยังสับสนในบทบาท

ได้สนทนากับเพื่อนพ้อง และมีโอกาสเข้าไปสัมผัส โรงเรียนแห่งหนึ่งในตั้งอยู่ในสังคมกึ่งเมือง กึ่งชนบท ของจังหวัดดังในภาคเหนือ เป็นโรงเรียนที่เหลืออยู่ 1 ใน 2 โรง ของตำบลเพราะโรงเรียนอื่น ๆ ที่เคยมีอยู่ในแต่ละหมู่บ้านถูกยุบไปจนหมดด้วยเหตุผลว่าต้องการให้เหลือโรงเรียนเดียวใน 1 ตำบล ตามนโยบายภาครัฐโดยไม่ได้ถามความคิดเห็นคนในท้องถิ่น การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนยกตัวอย่างกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา เช่นการสอนประวัติศาสตร์ แทนที่จะสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ล้านนา กลับเอาประวัติศาสตร์การสร้างรัฐชาติไทยมาสอนอันหมายถึงเป็นการให้ความสำคัญกับการรวมอำนาจสู่ส่วนกลาง เรื่องปูชนียสถานสำคัญก็เอาสถานที่ที่ไกลตัว เด็ก ๆ ไม่รู้จัก มองไม่เห็นภาพมาสอน เช่นเด็กอยู่เชียงใหม่ แต่เอาเรื่องวัดภูเขาทองมาสอน เอาเสาชิงช้ามาสอน ฯลฯ ล้วนผลักไสให้เด็กลืมรากเหง้าของตนเอง ครูเองก็ไม่ใช่คนในหมู่บ้านแม้แต่คนเดียว งานศพงานมงคลในหมู่บ้านครูก็ไม่เคยเข้าร่วม กิจกรรมร่วมกับ อปท.ก็ไม่เคยทำ พอใกล้หมดงบประมาณก็เอาแต่ตั้งหน้าตั้งตาของบจากอบต.มาซื้อคอมให้นักเรียนแต่ไม่เคยเปิดให้ชาวบ้านเข้าใช้ แม้แต่ตัวโรงเรียนก็เป็นเหมือนสถานที่ราชการที่มาขออาศัยที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน...แค่นั้น เปิดตอนเช้าปิดตอนเย็นในเวลาราชการ ไม่เปิดให้นักเรียนหรือคนในหมู่บ้านใช้สนามเพื่อเล่นกีฬาเพราะให้เหตุผลว่าต้นไม้จะตาย พอชาวบ้านขอทำเรื่องหลักสูตรท้องถิ่นก็อ้างว่าได้ดำเนินการหลักสูตรจากส่วนกลางอยู่แล้ว (มีเพื่อรอการตรวจ) ไม่เห็นความสำคัญของหลักสูตรท้องถิ่น ลืมความสำคัญบทบาทของโรงเรียนในการพัฒนาชุมชน ตามหลัก "บวร" (บ้าน-วัด-โรงเรียน และควรจะเพิ่ม ส : ส่วนราชการ และ อ: องค์กรเอกชนด้วยซ้ำ) ในเรื่องทักษะชีวิต ก็แทบจะไม่ได้อิงปัญหาสังคม ลดทอนการสอนหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรม ลดความสำคัญการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่เด็ก มองว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจ (ทั้งที่จริงเบื้องหลังครูเองก็น่าจะชอบเรื่องอย่างว่า เพราะเห็นมีลูกเป็นสองสามคน) ครูมองว่าเรื่องการสอนการใช้ถุงยางอนามัยเป็นสิ่งน่ารังเกียจ (เพราะสงสัยว่าครูยังไม่เคยใช้หรือจับด้วยซ้ำไป) การจะโอนเข้าสังกัด อปท.ครูบางส่วนให้เหตุผลว่า ปัญหาเรื่องระดับการศึกษาของนักการเมืองท้องถิ่นที่จะมาเป็นเจ้านาย(ในอนาคต)ไม่เป็นปัญหา เพราะอบต.ที่นี่เรียนสูงกว่าครูเสียอีกถ้ายังจะใช้ระบบปริญญามาเป็นตัวชี้วัด  เหมือนระบบสังคมที่เป็นอยู่ ครูบางคนก็ยังถือศักดิ์ศรีที่กลัวนักการเมืองท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามาโดยชาวบ้านที่ไม่จบป.4 ป.6 และปริญญาเหมือนครู มาเป็นเจ้านายให้คุณให้โทษเท่ากับเป็นการดูถูกสติปัญญาชาวบ้านโดยสิ้นเชิง และสิ่งที่เป็นปัญหาและเป็นความกังวลเบื้องลึกของครูที่นี่(บางคน) เป็นเรื่องของเงินบำเหน็จบำนาญหลังเกษียณอายุราชการ ที่กลัวว่าไม่มีความมั่นคง (กลัวว่าอปท.จะไม่มีเงินพอจ้างพอจ่าย) ครูต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู หรือวิชาชีพกู ก็ไม่รู้....เฮ้อ สงสารเด็ก ๆ ถ้าครูมัวแต่ห่วงเรื่องเงิน เรื่องขั้น เรื่องศักดิ์ศรี ทั้งที่ในสังคมครูก็มีเหลือบการศึกษา ครบถ้วน คือ  "มาสาย ขายผ่อน สอนห่วย ป่วยยัน งานแยะ แวะคุย ชุ่ยเสมอ เผลอหลับ กลับไว ไปผับ ชอบจับจู๋ ดูละครน้ำเน่า เล่าขวัญครูใหญ่ เอาใจแต่ครอบครัว มัวเมาแต่บำเหน็จ "  ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาหลัง พรบ.การศึกษาปี 42 ไม่เพียงแต่ แต่ละโรงเรียนจะทำแค่ผ่านการประเมินจาก สมศ. โดยไม่ใส่ใจ ต่อ Process หรือ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ที่ต้องก่อให้เกิดทั้ง Output – Outcome และควรมุ่งผลที่ผู้เรียนอย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 173108เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2008 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท