การสนทนาแบบโบห์ม ๓ : หนังสือ On Dialogue สำคัญอย่างไร?


เซงเกบอกว่า แม้บางคนจะหาว่าโบห์มเป็นนักอุดมคติโรแมนติก แต่จากประสบการณ์ของเขา เขาเชื่อว่าโบห์มคือผู้อยู่กับความจริงแท้แน่นอน (an extreme realist)

โบห์มเริ่มคิดว่าปัญหาของมนุษยชาติจะแก้ไขได้ด้วยการสื่อสารในแบบที่ต่อมาเขาเรียกว่า Dialogue มาตั้งแต่ปี 1983 (Bohm, Factor and Garrett, 1991) แต่หนังสือ On Dialogue ของเขาเพิ่งได้รับการพิมพ์เผยแพร่เป็นทางการครั้งแรกในปี 1996 หลังจากโบห์มเสียชีวิตแล้ว 4 ปี โดยสำนักพิมพ์ Routledge มี Lee Nichol เป็นบรรณาธิการและเขียนคำนำ

 

ก่อนหน้านั้น ในปี 1991 ได้มีเอกสารชิ้นหนึ่งที่โบห์มร่วมเขียนกับ Donald Factor และ Peter Garrett ชื่อ Dialogue – A proposal เอกสารชิ้นนั้นอธิบายว่าทำไมเขาและคณะเลือกที่จะใช้คำ Dialogue เรียกแนวคิดและวิธีการสื่อสารที่พวกเขานำเสนอ, ทำไมจึงต้องมี Dialogue, จุดมุ่งหมายและความหมายของ Dialogue คืออะไร (ไม่ใช่ในความหมายที่ใช้กันทั่วไป), อะไรคือสิ่งที่ไม่ใช่ Dialogue, จะเริ่มต้น Dialogue อย่างไร, และการใช้ Dialogue ในองค์กร เอกสารนี้มีความยาวน้อยกว่าหนังสือ On Dialogue มาก แต่สามารถให้แนวคิดและวิธีการเบื้องต้นได้ (ดูฉบับเต็มของเอกสารนี้ได้ใน http://www.david-bohm.net/dialogue/dialogue_proposal.html)

 

หนังสือ On Dialogue ได้รับการแปลออกเป็นหลายภาษา ฉบับที่พิมพ์ซ้ำเป็นภาษาอังกฤษในปี 2004 โดยสำนักพิมพ์ Routledge (เล่มที่ผมได้อ่านจากหอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มี Peter M. Senge จาก Society for Organizational Learning แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาจูเสทส์ (Massachusetts Institute of Technology - MIT) เป็นผู้เขียนคำนิยม  เซงเกมีชื่อเสียงในด้านการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในคำนิยมนั้น เซงเกบอกว่า องค์กรจำนวนมากนำการสนทนาแบบโบห์มไปประยุกต์ใช้กันในการประชุมและการปฏิบัติงานประจำวัน หลายแห่งนำวิธีการง่ายๆ อย่าง “Check-ins” และ “Check-outs” (การสอบถามความรู้สึกนึกคิดของกันและกันก่อนและหลังการประชุม) ไปใช้ เซงเกยกตัวอย่างบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ผู้บริหารระดับสูงได้นำการประชุมแบบวาระน้อย (agenda-less) ไปใช้ในการประชุมประจำเดือนมาเป็นเวลาหลายปีแล้วเพื่อสร้างภาวะการนำร่วม (collective leadership) ขึ้นในองค์กร

 

เซงเกกล่าวตอนหนึ่งในคำนิยมหนังสือเล่มนี้ว่า โบห์มรู้ว่าในโลกที่มนุษย์ต้องขึ้นต่อกันและกันมากขึ้นเรื่อยๆ (a world of growing interdependence) นี้ หากเราไม่สื่อสารแบบ  Dialogue ความขัดแย้งก็จะเพิ่มพูนขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง เซงเกบอกว่า แม้บางคนจะหาว่าโบห์มเป็นนักอุดมคติโรแมนติก แต่จากประสบการณ์ของเขา เขาเชื่อว่าโบห์มคือผู้อยู่กับความจริงแท้แน่นอน (an extreme realist)

 

หนังสือเล่มนี้ส่วนที่เป็นเนื้อหาจริงๆ ที่โบห์มเขียนมี 109 หน้า ไม่รวมคำนิยม คำนำ สารบัญ บรรณานุกรม ดัชนีคำ และอื่นๆ  เนื้อหาแบ่งออกเป็น  7 บท ดังนี้

1.On Communication   

2.On Dialogue  

3.The Nature of Collective Thought  

4.The Problem and the Paradox 

5.The Observer and the Observed 

6.Suspension, the Body, and Proprioception

7.Participatory Thought and the Unlimited

 

เนื้อหาสาระที่นำเสนอแนวปฏิบัติการสนทนาแบบโบห์มคือบทที่ 2 On Dialogue ส่วนบทอื่นๆ ที่ตามมาเป็นหลักการและแนวคิดในเชิงปรัญชาที่สำคัญๆ ที่อยู่เบื้องหลังแนวปฏิบัติที่เขาเสนอ ซึ่งหลักการและแนวคิดต่างๆ เหล่านั้นปรากฏอยู่ในหนังสือที่โบห์มเขียนเล่มก่อนๆ ด้วย

 

การสนทนาแบบโบห์ม ๑ : เกริ่นนำ

การสนทนาแบบโบห์ม ๒ : โบห์มคือใคร?

การสนทนาแบบโบห์ม ๓ : หนังสือ On Dialogue สำคัญอย่างไร?

การสนทนาแบบโบห์ม ๔ : แนวคิดและวิธีการสนทนาแบบโบห์มมีอะไรบ้าง?

การสนทนาแบบโบห์ม ๕ : ประยุกต์ใช้การสนทนาแบบโบห์มอย่างไร?

การสนทนาแบบโบห์ม ๖ : สรุป

 

 

หมายเลขบันทึก: 171781เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2008 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์สนใจทำหนังสือเองบ้างไหมคะ มีโปรแกรมใหม่น่าสนใจค่ะ

  • "เซงเกกล่าวตอนหนึ่งในคำนิยมหนังสือเล่มนี้ว่า โบห์มรู้ว่าในโลกที่มนุษย์ต้องขึ้นต่อกันและกันมากขึ้นเรื่อยๆ (a world of growing interdependence) นี้ หากเราไม่สื่อสารแบบ  Dialogue ความขัดแย้งก็จะเพิ่มพูนขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง
  • เซงเกบอกว่า แม้บางคนจะหาว่าโบห์มเป็นนักอุดมคติโรแมนติก แต่จากประสบการณ์ของเขา เขาเชื่อว่าโบห์มคือผู้อยู่กับความจริงแท้แน่นอน (an extreme realist)"
  • ความจริงแท้ คุ้นคุ้นนะครับคำนี้

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 และต้นทศวรรษที่ 1990 David Bohm ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ เขียนรายงานชุดหนึ่ง ที่เขาศึกษาถึงวิธีการที่ความคิดเกิดขึ้น และคงอยู่ในระดับร่วมกัน คำถามของเขาที่มีต่อไดอะล็อกกลายเป็นก้าว สำคัญให้แก่การคิดหัวข้อนี้ในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ในหนังสือ On Dialogue (Rutledge Press, 1996) ซึ่ง Bohm เขียนไว้ว่า “ความคิดของเรา นั้นไม่เชื่อมโยงสอดคล้องกัน (Incoherent) และการขัดขวางความมีประสิทธิผล ที่เป็นผลจากรากฐานของปัญหาต่างๆ ของโลก” เขาบอกว่า สาเหตุของการไม่เชื่อมโยงสอดคล้องกันนี้ก็คือ ความเชื่อที่มีอยู่มากในวัฒนธรรมตะวันตกที่ว่า ความคิดเป็นปรากฏการณ์ปัจเจกบุคคล นี่แสดงว่า เรามองว่าความคิดเป็น กิจกรรมส่วนตัวที่เกิดขึ้นในการแยกตัวออกไปอย่างซ่อนเร้นของจิตใจเรา ฉันคิด... ดังนั้น ฉันจึงเป็น

 

แต่ความคดิ ของเราไม่ไ่ด้มีอยู่ใูนสญุญากาศ เพื่อแสดงใหเ้ห็น Bohm กล่าวย้อนความทรงจำถึงการเปิดพื้นที่ไดอะล็อกของชาวอเมริกันอินเดียนและวาทกรรมในที่สาาธารณะของชาวกรีกโบราณ โครงสร้างการสนทนาเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการยกระดับจากการอภิปรายปรึกษาหารือ (Discussion) ไปยังการบังเกิดขึ้นของจิตใจแห่งกลุ่ม ที่ทำำให้เกิดการตระหนักรู้แูละปัญญา (Intelligence) ไปเหนือกว่ากระบวนการคิดของแต่ละบุคคล เราคิด… ดังนั้น ฉันจึงเป็น และพวกเราจึงเป็น

 

ผู้เข้าร่วมต้องเรียนรู้ที่จะ “เผยความคิดจากสมองตนเอง” เพื่อพูด นั่นคือ เข้าถึงเนื้อหาที่ซ่อนอยู่ภายใน และแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับผู้อื่นที่ทำเช่นเดียวกัน กล่าวอีกอย่างก็คือ เราต้องส่งเสริมการตระหนักรู้ร่วมกันของรูปแบบความคิด ของพวกเรา

รูปแบบความคิด (Mental Model) คืออะไร? รูปแบบความคิด ก็คือ ความเชื่อ ข้อสมมติฐาน และภาพลักษณ์ต่างๆ ที่เรายึดถือในทุก เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น องค์กรของเรา และแนวทางที่โลกดำเนินไป

 

...อ่านเจอมาจาก หนังสือนิทานเกี่ยวกับ Dialogue เรื่อง Listening to the Volcano : สดับเสียงภูเขาไฟ (การสนทนาที่เปิดใจรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ)  เลยคัดมาฝากค่ะ

มีอีกหลายเรื่องที่เกี่ยวกับ Discipline ทั้ง 5 ของ Peter Senge ทั้งอ่านสนุก รูปน่ารัก ได้ความรู้ และ "ได้คิด" ดีค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท