ใช้งานวิจัยทำให้เกิดการเปลี่ยนกลไกการทำงานของภาครัฐ...ได้หรือไม่


ทีมวิจัยโครงการวิจัยนำร่องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคมเชิงพื้นที่ จังหวัดพัทลุง หลังจากได้รวบรวมข้อมูล และเคลื่อนงานกับคณะทำงานชุดต่าง ๆ เช่น กสจ.  คณะอนุกรรมการบริหารฯ และร่วมทำงานกับหน่วยงานหลักที่เป็นกองเลขาคือ พมจ. ได้ระยะหนึ่ง และนำเสนอความก้าวหน้าต่อแหล่งทุนคือ สกว. และกระทรวง พม. เมื่อเดือน กพ.ที่ผ่านมา  ทีมวิจัยขับเคลื่อนหลักของพัทลุง จำนวน 12 คน ได้มาร่วมกันถอดบทเรียนและวางแผนการทำงานต่อ ในวันที่ 18 มีนาคม 2551 พบว่า

1.     ชุดทำงานต่าง ๆ ยังติดที่ตัวกรรมการ กรอบของ พม.ที่กำหนดที่มาของแต่ละตำแหน่ง กรรมการยังเป็นระดับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีวิสัยทัศน์ไม่กว้าง ที่ผ่านมาการเคลื่อนงานวิจัยเบื้องต้นเห็นว่าติดปัญหาที่คณะทำงานชุดต่างๆ ที่มีอยู่

2.     กรอบของงานวิจัยนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของหน่วยงานในสังกัด พม.ได้แก่ พมจ. กสจ. คณะอนุกรรมการบริหารฯ ข้อเสนอน่าจะมีชุดทำงานหนึ่งชุดภายใต้ กสจ. พมจ. นักวิจัย คณะอนุกรรมการบริหารฯ เพื่อทำงานเตรียมความพร้อม ประชุมทำความเข้าใจในต่อท้องถิ่น(ในเชิงพื้นที่) กลั่นกรอง พัฒนาโครงการ  ในเชิงประเด็นเช่นเดียวกันต้องทำเวทีกับองค์กรสาธารณะประโยชน์ทั้งจังหวัด ชุดทำงานนี้ต้องทำความเข้าใจร่วมกันก่อนการลงพื้นที่ ชุดทำงานต้องเป็นคนทำงานต่อเนื่องได้ ร่วมในทีมวิจัยด้วย กสจ.ให้หัวหน้าส่วนแต่ละหน่วยงานมาร่วม ซึ่งการทำงานร่วมคงเป็นเพียงรับทราบ เสนอความคิดเห็น รับ/ไม่รับหลักการ  คณะทำงานชุดนี้จะแต่งตั้งเข้าเป็น คณะทำงานติดตามสนับสนุนประเมินผลโครงการ  หน้าที่ ติดตาม สนับสนุน จัดการความรู้ ขยายผล เสนอชื่อจากทีมวิจัย จำนวน 10 คน จากทีมวิจัย  จำนวน 12 คน

3.     ต้องมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการของบประมาณอุดหนุน เช่น การจดทะเบียนเป็นองค์กรสวัสดิการสังคม วิธีการหนึ่งที่ พมจ. จะเผยแพร่ความรู้คือแจ้งผ่านท้องถิ่น จะจัดเวทีแจ้งต่อท้องถิ่น หลังจากนั้นหากพื้นที่ใดสนใจจะส่งโครงการจะจัดให้มีการประชุมเข้มให้ความรู้การทำโครงการ คาดว่าจะจัดเวทีหลังเดือนเมษายน ภายใต้การทำงานของ กสท. (กองเครือข่าย) (ข้อเสนอของเวที: ควรนำเสนองานกองทุนทั้ง 4 กองทุนของ พมจ. เพื่อให้รับทราบและพื้นที่ตัดสินใจในครั้งเดียว)

4.       ปัญหาของการทำงานร่วมกับ พมจ. คือคนที่เข้ามาร่วมงานวิจัยยังไม่เป็นผู้ที่ขับเคลื่อนงานนี้โดยตรง

5.       ต้องตอบคำถามการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน ต้องเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่มากที่สุด

6.     ควรใช้การ mapping ให้เห็นภาพรวมการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคม เช่น 1)สสว. มีพื้นที่นำร่องเป็นหน่วยตำบล จัดสวัสดิการเชิงบูรณาการ 2)พมจ. มีงบสนับสนุนอบรม อบต. 3) พอช. มีโครงการเชิงประเด็น 7 ประเด็น 4) สปสช. มีพื้นที่นำร่อง 5) สกว. แผนชุมชน  6) พช. แผนชุมชน กลุ่มออมทรัพย์  7) เกษตร 8) กศน.  9) อยู่ดีมีสุข (ยุทธศาสตร์จังหวัด  SML) 10) ท้องถิ่น(อบต. เทศบาล อบจ.) 11) กองทุนหมู่บ้าน  12) กขคจ. ให้พื้นที่ นักวิจัย และหน่วยงานต่าง ๆ รับรู้ร่วมกัน ทำให้เห็นภาพรวม ทำให้ทุนนักวิจัยทั้งหมดเท่ากัน และเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สามารถนำเสนอต่อ กสจ. นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือกระตุ้นด้านแผนยุทธศาสตร์ของ กสจ.  อีกทั้งเป็นฐานข้อมูลแก่ พมจ. ในการเคลื่อนงานระยะยาว

7.     ต้องขับเคลื่อนให้ พมจ. กสจ. คณะอนุกรรมการบริหารฯ มาเชื่อมกับนักวิจัย สุดท้ายงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ พมจ. และทำให้ทุกหน่วยงานเห็นประโยชน์จากงานวิจัยนี้

8.     ข้อเสนอสำหรับคณะทำงานกลั่นกรองโครงการในชุดคณะอนุกรรมการบริหารฯ ควรมีภาคประชาชนร่วมด้วย ควรประกอบด้วย 4 ภาคส่วนเช่นเดียวกับชุดคณะอนุกรรมการบริหารฯ จะนำวาระนี้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ และเสนอคุณวิเชียร มณีรัตนโชติ  เป็นตัวแทนภาคประชาสังคม(เป็นหนึ่งในทีมวิจัย)

9.     การเก็บข้อมูลต้องคำนึงถึงข้อมูลที่จะนำมาเป็นข้อเสนอจากรูปแบบกิจกรรมของพื้นที่นำร่อง เพื่อเสนอแก่ พม.ได้รับทราบ

10.    วันที่ 25 มีค. 2551 มีการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารฯ ต้องนำวาระต่างๆ เข้าเสนอ ได้แก่

1)    เตรียมเชิญหน่วยงานใน พมจ.ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานสวัสดิการทั้งระบบ ศพส.(ศูนย์พัฒนาสังคม) สสว.(สนับสนุนและส่งเสริมวิชาการ)  พอช. เข้าร่วมประชุม ต้องให้ข้อมูลการจัดสวัสดิการที่หน่วยงานตนเองจัด แผนปฏิบัติการของปี 2551

2)    ประชุมเตรียมวันที่ 24 มี.ค. 2551 เวลา 13.00 น. ณ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนฯ  โดยเชิญตัวแทนของ พมจ. ศพส. สสว. พอช. ทีมนักวิจัยมาร่วมหารือก่อนการนำเสนอกับคณะอนุกรรมการบริหารฯ

 

เมื่อมีคณะทำงานเพิ่มมาจะส่งผลต่อการสนับสนุนงานส่งเสริมสวัสดิการของจังหวัดพัทลุงแค่ไหน เพียงใด ต้องรอดูหลังจากนี้.....

 

นี่เป็นแผนการทำงานของพื้นที่พัทลุงหากใครมีข้อคิดเห็น ฝากประเด็นต่อเวทีคณะอนุกรรมการฯสามารถให้ข้อคิดเห็นได้คะ

หมายเลขบันทึก: 171530เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2008 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะน้องรัช

เท่าที่เห็นจากงานอื่นๆ งานวิจัยอาจให้ "ข้อเสนอ" ในการเปลี่ยนแปลงกลไกการทำงานของรัฐ แต่รัฐจะนำไปปรับเปลี่ยนตามข้อเสนอหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ยิ่งผลงานวิจัยมาจากหน่วยงานเจ้าภาพหน่วยงานหนึ่ง หน่วยงานอื่นๆจะตอบรับข้อเสนอหรือไม่ บางทีก็สุดปัญญาของทีมวิจัยค่ะ

รายละเอียดน้้นตามไม่ทันแล้ว แต่ขอให้กำลังใจทีมงานวิจ้ยนะคะ งานนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการด้วยจึงมีน้ำหนักในการเสนอแนะอยู่มาก แต่คงต้องจับบริบทของพื้นที่ให้ดีๆ เพราะจะได้เห็นเงื่อนไขว่า ภายใต้บริบทใดจะเหมาะสมกับนำรูปแบบใดไปปรับใช้ คำว่า "บริบท" ก็กว้าง แต่บริบทที่เป็นจุดคานงัดคืออะไร ทั้งห้าพื้นที่ ได้งบประมาณเท่ากัน ภายใต้กฎหมายตัวเดียวกัน องค์ประกอบของกรรมการเหมือนกัน(?) จุดต่างคือ ทุนคน (ระดับกรรมการ ระดับสมาชิก...) ทุนทางสังคม ทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางกายภาพ (พี่เสนอให้ลองมองบริบทตามทุนทั้งสี่ประการนี้เผื่อจะเห็นประเด็นชัดขึ้น ซึ่งในทุนแต่ละประเภทยังมีรายละเอียดอีกมาก แม้การบริหารจัดการก็ยังแยกแยะออกมาได้เป็นองค์ประกอบ คน (ทักษะในการบริหารจัดการ)ทุนทางสังคม (กติกาการบริหารจัดการ กิจกรรมที่ทำร่วมกัน) ทุนทรัพยากร ทุนกายภาพ(รวมเงิน))

ทุนคนคงจะเป็นคานงัดที่สำคัญ ทีมวิจัยเองก็กลายเป็นตัวละครสำคัญในผลของงานวิจัยที่จะออกมาด้วยค่ะ วิธีการทำงานของทีมวิจัยจึงเป็นหนึ่งใน "บริบท" ของการปรับเปลี่ยนและควรจะบันทึกไว้ให้ดีๆอย่างที่น้องรัชกำลังทำอยู่ และถอดบทเร่ียนออกมาในที่สุด

เป็นกำลังใจอยู่ห่างๆค่ะ

น้องรัช

คิดว่าได้นะ  ถ้ายอน....หรือกระตุ้นให้ชุมชนสร้างความรู้เองไม่ใช่รอเสพแต่ความรู้ภายนอก หรือผู้วิจัยภายนอกสร้างชุดความรู้ให้

เรามาเป็นเพื่อนกันดีไหม นำบันทึกนี้มาฝาก R2R วิจัยในงานประจำกับนักเรียน ร.ร.คุณอำนวยเมืองคอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท