เรื่องเล่าตัวอย่างความสำเร็จของ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ จากตลาดนัดความรู้ไข้หวัดนก


ควรเน้นการป้องกันเพิ่มขึ้น เน้นการดำเนินการเชิงบวกเพื่อหนุนความสามารถในการดำเนินการป้องกันเองของชาวบ้าน
เรื่องเล่าตัวอย่างความสำเร็จของ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ (ปศุสัตว์และสาธารณสุข)
จากตลาดนัดความรู้ไข้หวัดนก

           ผมได้เอาเรื่องเล่าความสำเร็จของเกษตรกร    ในการป้องกันหวัดนกมาเล่าเมื่อวันที่ ๑๙ กค.    และวันที่   ๒๒ กค. ๔๘    คราวนี้ขอเอาเรื่องเล่าของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มาลงไว้     ปรับปรุงจากบันทึกของ คุณลิขิต ในที่ประชุม

คุณอัญชลี  อสม. จ. ปราจีนบุรี
โดยหน้าที่ เป็น อสม. จ. ปราจีนบุรี ปีที่แล้วมีสัตว์ปีกเป็นโรคไข้หวัดนก   ปีนี้ไม่เป็นเพราะมีการเฝ้าระวังเป็นอย่างดี  เพราะ อสม. มีเครือข่ายเข้มข้น    แต่มีปัญหาชาวบ้านไม่เชื่อถือ อสม. ที่ไปให้ความรู้ทางด้านโรคหวัดนก ชาวบ้านดื้อ ไม่กลัวโรค 
อสม เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ในพื้นที่   โดยจะมีการรายงานไปยังสถานีอนามัยตลอดเวลา   มีการประชาสัมพันธ์ชุมชน  โดยให้ความรู้ทุกอาทิตย์  ออกอากาศ ทั้ง ๒ สถานี มีการประชุมทั้งระดับตำบลและจังหวัด  มีการคาดโทษ สำหรับคนที่ไม่ดูแล ปล่อยให้เกิดโรค (สร้างสำนึก)   มี อสม. หมู่บ้านละ ๕-๑๐  คน   ประสบปัญหาสาธารณสุขไม่ค่อยได้ให้ความสนใจ
เจ้าหน้าที่มีจิตสำนึก  ไม่ได้รอชาวบ้าน
ปัญหาของ จ. ปราจีนบุรี เบามาก  คนป่วยไปป่วยจาก จ. ฉะเชิงเทรา แล้วเอาเชื้อกลับมาบ้าน จ. ปราจีนบุรี   
เวลานี้ไม่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งอีกแล้ว  จะทำฟาร์มปิดก็มีราคาแพง ไม่ค่อยมีฟาร์มเปิด จึงทำให้เกิดปัญหาน้อย

              จิตสำนึกของชาวบ้าน จะปัดความรับผิดชอบในการกำจัดสัตว์

วิไลลักษณ์  จ. อ่างทอง
  1. จ. อ่างทองเป็น หนึ่งในเก้าของ จ. ที่เกิดโรค  
  2. อาสาสมัครของ จ. อ่างทอง ไม่มีค่าตอบแทน ไม่เหมือน อสม.
  3. เกิดระบาดครั้งแรก มีการปรับโครงสร้างใหม่  รวม ปศุสัตว์
  4. เดือน พ.ย. ธ.ค. (๔๗)  มีการระบาดของไข้หวัดนก ไม่มีใครรู้จัก ไม่คิดว่าจะเกิดในเมืองไทย   เริ่มมาดูปัญหา
  5. ภาคแรก เกิดในไก่เนื้อและไข่ไก่  มีการเฝ้าระวังในโรคใหม่ๆ เข้ามา   แรก ๆ เกษตรกร ไม่ทราบอันตราย ความสำคัญของโรค  ทำลายอย่างไร  ขุดหลุมอย่างไร จับไก่อย่างไรให้ทรมานน้อยที่สุด  ไม่รู้วิธีการประเมินราคา ตีราคาไก่
  6. จนท. ปศุสัตว์  มี เจ็ดอำเภอ มี เจ็ดคน  ลงพื้นที่ทำลายเอง หาอุปกรณ์เองเท่าที่หาได้     เจ้าหน้าที่จะสัมผัสเชื้อโดยตรง (โศกนาฎกรรม)
  7. มีปัญหาในการประสานงานกับ อสม.
สรุป
  1. พึ่งตนเองในเรื่องต่างๆ ในการระบาดครั้งแรก หาอุปกรณ์เองต่างๆ เท่าที่หาได้ 
  2. เรื่องของความรับผิดชอบในหน้าที่
  3. ในพื้นที่ไม่มีการบูรณาการในส่วนของราชการ
  4. ใน จ. อ่างทอง ไม่มีการรายงานผู้เสียชีวิต

คุณทวีวรรณ ชาลีเครือ  สธ. จ. เพชรบูรณ์
  1. มีการเตรียมการรับสถานการณ์ มีการประชุม ปรึกษาหารือกัน มีการประสานงานกันระหว่างอำเภอ 
  2. คัดเจ้าหน้าที่คนที่ไม่มีสามี ไม่มีลูก 
  3. มีการตรวจโรค  แล็บ ระดับสอง 
  4. เวลามี Case เกิดขึ้น  ใช้โทรศัพท์ สั่งงานในพื้นที่ 
  5. มีขอบเขตการแบ่งงานกับเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน
  6. เรื่องของสื่อ ระบุคนที่ที่จะออกสื่อให้ชัดเจน มีการแบ่งหน้าที่ชัดเจน

ปัญหา
  1. มีคนน้อย แต่ต้องทำงานได้
  2. การจัดการโรงพยาบาล สามสิบบาทรักษาทุกโรค
  3. เรื่องของชุมชน คนในหมู่บ้าน แตกตื่น
  4. ระบบต่อการการส่งต่อ Case อยากได้ส่วนกลางมาช่วย  โรงพยาบาลไม่ยอมรับผู้ป่วย มีหลายขั้นตอน

สรุปประเด็น
  1. การวางแผนกำลังคน  เป็นหน้าที่สำคัญของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีการเตรียมพร้อมตลอดเวลาว่าเกิดหวัดนก   มีการติดตามอย่างใกล้ชิด แบ่งบทบาทชัดเจน
  2. การกำหนดมาตรการที่ชัดเจน แบ่งกลุ่มเสี่ยง  กลุ่มคน
  3. การจัดการชุมชนที่มีความตระหนก  ต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชน วิทยุชุมชน คือสื่อที่เข้าถึงชุมชนได้มากที่สุด

คุณภาสกร  กลมแก้ว   สนง. ปศุสัตว์ จ. อยุธยา
  1. ไม่มีการแจ้งปัญหาในระดับ อำเภอ  จังหวัดไม่ทราบ  ทำให้อัตราการตายเพิ่มขึ้น (การข่าวไม่ดี)
  2. รอบที่ 2  มีการประชุมแบบบูรณาการ เป็นร้อยครั้ง  มีการเปลี่ยนรูปแบบและมาตรการการทำงานทุกครั้ง  ทำให้คนทำงานและเกษตรกรทำไม่ถูก
  3. ปัญหาการสำรวจสัตว์  ทำให้ครั้งหลัง มีการ X-Ray เดือนละ 2 ครั้ง
  4. งบประมาณกระจายไม่ทั่วถึง
  5. ได้รับความร่วมมือ จาก อสป. จากหมุ่บ้าน  ได้รับการแจ้งข่าว จาก ชาวบ้าน  แจ้ง ผญ. และ กำนัน   ปศุสัตว์ อำเภอ จะส่งรายงานไปยังจังหวัด    อาสาสมัครสำคัญที่สุดในการแจ้งข่าวเริ่มแรก  และแจ้งข่าวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

สรุปประเด็น
  1. อสป. (อาสาสมัครปศุสัตว์) บทบาทอาสาสมัคร บทบาทมาก ได้ข่าวรวดเร็ว ทันเวลา
  2. ความร่วมมือของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  3. มีสำนึกในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

คุณสุภาลักษณ์  สสอ. พิจิตร
  1. มีเครือข่าย (กำนัน , ผญ. บ้าน,  อสม,  เจ้าหน้าที่อนามัย สสอ.)
  2. มีการสั่งการที่ชัดเจน
  3. การข่าวรวดเร็ว ใช้โทรศัพท์ติดต่อกัน   มีการประสาน
  4. จ. พิจิตร ไม่มี case ผู้ป่วยไข้หวัดนก  ชาวบ้านมีการซ่อนเร้น เป็ด

สรุปประเด็น
  1. การมีเครือข่าย มีศูนย์ ประสานงานกลางเพื่อรับมือ  โดยคนในพื้นที่รู้ว่าจะแจ้งใคร
  2. ปัญหาจากความตื่นตระหนก ต้องหาวิธีการรับมือ

คุณกานดา/  อ. สากเหล็ก ประธาน อสม. จ. พิจิตร
  1. รายงานส่งสธ. ทุกวันพุธ,  ส่ง ปศุสัตว์ทุกเดือน  เกี่ยวกับสัตว์
  2. เวลามีสัตว์ตาย ป่วย  จะมี อสม.  ทำลายสัตว์  แต่ไม่มีเครื่องมือ อุปกรณ์  จับสัตว์   ในการทำลายเชื้อ
  3. ปศุสัตว์ มีคนเดียวในอำเภอ (จำนวนน้อย)
  4. อบต. ไม่เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังโรค  ไม่มีการให้งบประมาณ

สรุปประเด็น
  1. เจ้าหน้าที่มีความภูมิใจ ที่ได้ดูแลประชาชนในพื้นที่
  2. เจ้าหน้าที่มีจิตสำนึกในหน้าที่

คุณรังสี  ดัดวงษ์  นักวิชาการเกษตร อ. บางซ้าย  อยุธยา
  1. การระบาดครั้งแรก ได้ผู้ใหญ่ กำนัน เกิดเหตุปุบปับ  มีเจ้าหน้าที่น้อย  (รอบแรกไม่ทัน)
  2. รอบที่สอง มี ผวจ. ร่วมทำงาน
  3. เจ้าหน้าที่เป็นคนในพื้นที่ ทำให้เกิดความกลัวในการทำงานในพื้นที่ (ในการทำลายสัตว์จะมีปัญหากับเจ้าของไก่) ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ
  4. มีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนนโยบายการทำงาน ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานลำบาก 

สรุปประเด็น
  1. ระบบการทำงาน  มีการประสานงานที่ดีขึ้น มีระบบการสนับสนุนการทำงานให้ดีขึ้น

นายเหรียญ  บุญสำลี   จ. นครสวรรค์
  1. การแจ้งยอดผู้ประกอบการสูงเกินความจริง
  2. การแจ้งยอดสัตว์ตายสูง
  3. การใช้สื่อ หอกระจายข่าว   มีความสำคัญที่สุด (วิทยุชุมชน)
  4. การเฝ้าระวังอยู่ที่ประชาชน ทหารเข้ามาช่วยในการฝังกลบ ทำให้รอบที่สองประชาชนสามารถจัดการทำลายไก่ได้เอง  และรวดเร็ว
  5. สร้างความเข้าใจให้ประชาชนภายในพื้นที่
  6. งปม. ความกระจายลงในพื้นที่ จะทำให้มีการจัดการได้เร็ว
  7. ควรจัดให้มีการประชุมให้ต่อเนื่อง    มีการประเมินผล  และสรุปผล
  8. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการเฝ้าระวัง คือ อสม.

สรุปประเด็น
  1. การใช้สื่อ หอกระจายข่าว มีความสำคัญ
  2. การจัดสรรงบประมาณไปอยู่ในพื้นที่
  3. การประชุม ติดตาม ประเมินผล

คุณบุญชู  จิตสุภ     นายกสมาคมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อสังคม จ. อยุธยา
1.      มีการติดตามข่าวสาร รับทราบถึงการแพร่ระบาด
2.      เมื่อโรคมากขึ้น การตื่นตระหนกมากขึ้น
3.      ปศุสัตว์ อำเภอ ไม่มี ไปอยู่ที่ จังหวัด  ทำให้ชาวบ้านไม่มีความรู้ ปรึกษาใครไม่ได้  ชาวบ้านไปปรึกษาหมออนามัย  และนายอำเภอแทน
4.      อสม. ไปสำรวจในรอบแรกก่อน มีใครเลี้ยงไก่บ้าง  มีการเก็บตัวอย่าง
5.      มีความร่วมมือกัน
6.      สธ. จังหวัดมี hot line สายตรง ตลอด 24 ชั่วโมง
7.      อสม. มีการอบรม เป็น ฐานราก
สรุปประเด็น
1.      อสม. มีบทบาทสำคัญในการจัดการ

ข้อสังเกตของวิจารณ์ พานิช
          ประเด็นที่เจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่แลกเปลี่ยนกันนี้ เป็นเรื่องการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามคำสั่งของหน่วยเหนือทั้งสิ้น    และเป็นการทำงานภายใต้แนวคิดว่าชาวบ้านไม่มีความรู้เพื่อการป้องกันหวัดนกเลย     ซึ่งควรจะเปลี่ยนไปหลังการจัดตลาดนัดความรู้หวัดนกเมื่อวันที่ ๑๘ ๑๙ กค. ๔๘    ในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ต่อจากนี้ไปควรหันไปเน้นการป้องกันให้มากขึ้น     มีการเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้านที่มีความรู้มากขึ้น     หน่วยราชการที่รับผิดชอบควรหันไปใช้เจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ทำงานเชิงบวกในการป้องกันหวัดนก   และส่งเสริมวิธีการเลี้ยงที่ถูกหลักการ Biosafety ที่ชาวบ้านคิดขึ้น   เช่นของลุงสมพงษ์ จ. พิจิตร    ซึ่งสัตวแพทย์บอกว่าเป็นวิธีการ Biosafety ที่ถูกหลักที่สุด   และประหยัดด้วย 

วิจารณ์ พานิช

๒๘ กค. ๔๘

หมายเลขบันทึก: 1712เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2005 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ภูเด็กแนว ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตสไตล์แนวแนว

ภูมิลำเนา อ.หนองแซง จ.สระบุรี

ขอฝากเว็บไซต์ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ขอให้ทีมงานจงมีสุขภาพที่ดีทุกคนนะครับ

www.poodeknaew.com

หรือพิมพ์คำว่า ภูเด็กแนว แล้วค้นหาได้เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท