ห้องเรียน....รวม


เริ่มต้นจากอีเมลแนะนำตัวฉบับเดียว...ที่เราได้เมลหา อาจารยพันธุ์ทิพย์ (อ.แหวว) ของพวกเรา เพื่อเชิญอาจารยเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ โดยไม่เคยคิดว่าเมลฉบับนั้นจะเปิดโอกาสให้ได้พบคนอีกมากมาย ตามมา....

“คบคนพาล พาลพาไปหาผิด.....คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล”

สุภาษิตนี้เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยโดยเฉพาะ
ระยะช่วง 2-3 เดือนที่มาผ่านเป็นช่วงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงมากมายของชีวิต ได้เข้ามาทำงานที่ไม่เคยทำ
ได้พบคนรูปแบบใหม่ๆที่ไม่เคยพบ...

เริ่มต้นจากอีเมลแนะนำตัวฉบับเดียว...ที่เราได้เมลหา อาจารยพันธุ์ทิพย์ (อ.แหวว) ของพวกเรา เพื่อเชิญอาจารยเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ โดยไม่เคยคิดว่าเมลฉบับนั้นจะเปิดโอกาสให้ได้พบคนอีกมากมาย ตามมา....

วันนี้ก็เช่นกัน..วันที่ 10 มีนาคม 2551 อ.แหววก็สร้างโอกาสให้ ได้พบเพื่อนร่วมทาง เพื่อนที่เดินทางไปหาคำว่า “มหาบัณฑิต” เพื่อนแต่ละมีเรื่องราวน่าสนใจจะทำวิจัย และ แน่นอนจุดร่วมเดียวกัน คือ อ.แหวว บ้างก็คือเชิญอาจารย์เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ บางคนอยากมาร่วมฟังอาจารย์แหวว



สำหรับคนที่นัดแนะกับอาจารย์วันนี้น่าจะมี 3 กลุ่ม คือ
1) ทำวิทยานิพนธ์ มีหัวข้อที่สนใจแล้ว และจะมานำเสนอหัวข้อ หรือ เค้าโครงก็ตามแต่...
2) มาปรึกษาเพื่อหาหัวข้อที่น่าสนใจ
3) มาเป็นกำลังใจกลุ่มที่ หนึ่งและ สอง


นนี้ได้พบคนใหม่อีก อย่างเช่น คุณทนงศักดิ์ กับ ไวแม๊กซ์ ,คุณ ก้อง กิตตินันท์ กับ เรื่อง การพัฒนาชนบทด้วย ICT, คุณวรรษวรรณ (ติ๊ง),คุณภัทราพร (แอน),คุณพชร (โอ),คุณปุณฑวิชญ์ (โอ๊ต),คุณณัฐพล (บอม) หนุ่มน้อยผุ้ฝันอยากทำงาน Law firm คุณโสฬสสา (กวาง) กับ เรื่องแม่ไร้สัญชาติจากเวียงแหง และ คุณธวัชชัย (พี่ต๊ะ) คอลัมภนิสต์ที่อยากทำเรื่อง ทำอย่างไรนิตยสารไทยจึงจะชิงตลาดนิตยสารหัวนอกที่วางแผงอยุ่ทั่วไปได้....และเราเองก็เป็นเพื่อนใหม่ของคนอื่นเช่นกัน



อ.แหววเริ่มต้นด้วยการบรรยายเรื่องการทำงานวิจัย (วิทยานิพนธ์)
โดยแบ่งออกเป็น 2 ) ประเภท คือ
• วิจัยเอกสาร Documentary research
• วิจัยเชิงประสบการณ์ มีหลายรูปแบบ
เช่น การลงพื้นที่จริง และการวิจัยจากคน (ถอดประสบการณ์ของคน)

จากนั้นก็มากำหนดกระบวนการทำงานวิจัย
อันดับแรก เลือกเรื่องอันเป็นเป้าหมาย เพื่อกำหนดหัวข้อที่จะวิจัย
อันดับสอง เลือกวิธีศึกษาว่าจะศึกษาอย่างไร
โดยต้องถอดองค์ความรู้ออกจากเรื่องที่เราสนใจให้ชัดเจนให้ได้ เพื่อนำไปสุ่กรอบของการทำงานที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งนี่เป็นการบ้านของนักศึกษาปริญญาโทที่นั่งอยุ่ในวงนั้นทุกคนต้องไปถอดองคความรู้ออกมาเป็นก้อนๆ..ซึ่งก้อนองคความรู้นี้ อ.แหววบอกว่า เพื่อนๆจะเข้ามาช่วยเสริมความรู้ด้านที่เราอาจจะคิดไม่ถึงได้
เมื่อได้องค์ความรู้ ต้องทำองค์ความรู้ดังกล่าวมาวินิจฉัย


อันดับสาม กำหนดระยะเวลาในการทำงาน การจัดการเวลาเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องวางให้เหมาะสมกับเนี้อหาต่อไป การทำงานต้องมีการวางแผน ไม่เช่นนั้นบางครั้งวิทยานิพนธ์อาจจะไม่ทันสมัยและล่าช้าต่อเหตุการณ์ไป

เรื่องถัดมา อ. แหวว สอนเรื่องการทำเค้าโครงวิจัยว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง?
ได้แก่

1) หลักการและเหตุผล หรือสภาพปัญหา /ที่มา/ โจทย์วิจัย หรือว่า คำถามที่เราประสงค์จะหาคำตอบ (แหมชอบคำนี้จัง)
2) ขอบเขตของการวิจัย เพื่อกำหนดกรอบของการวิจัยที่ชัดเจนขึ้น
3) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4) วิธีวิจัย
5) ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย


นึกถึงบันทึกหนึ่งของอาจารยแหววที่เล่าเรื่องการทำวิทยานิพนธ์ที่เป็นความต้องการของสังคม หรือเป็น Social Need เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชนทั้งแก่ตนเองและสังคมได้ อ.แหวว ยกตัวอย่างหัวข้อ งานวิจัยที่ผู้ศึกษาสนใจจะศึกษาเรื่องขยะ อวกาศ และ เรืองการคุ้มครองสิทธิในภาวะสงคราม (อันนี้ไม่แน่ใจ) ให้ถึงงานวิจัยที่ไม่ได้เป็น Social Need แต่ท้ายที่สุด อาจารย์ก็ได้ให้การบ้านไว้หลายข้อ บันทึกถัดไปคงต้องเขียนถึงการบ้านแต่ละข้อแล้ว?
แล้วแร่องชื่อหัวข้อขอให้มาทีหลัง ให้จดไว้หลายๆ หัวข้อ

การบ้านสำหรับตัวเราหลังจากวันนั้น : หัวข้อเกี่ยวกับวัฒนธรรมการใช้ICT ในร้านเกม (Internet café)
• วัฒนธรรมคืออะไร?
• ทำไมต้องมีการจัดการวัฒนธรรม?
• จุดเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเรื่องนี้คืออะไร?
• วัฒนธรรมที่จัดการคืออะไร? คำตอบ จัดการน่าจะประกอบไปด้วย : วัฒนธรรมดี ต้องส่งเสริม วัฒนธรรมที่กำลังเบียงเบนต้องดูแล วัฒนธรรมเสื่อมต้องปราบปราม แก้ไข...
• ร้านอินเตอรเนตคาเฟ่เกิดขึ้นมาด้วยเหตุผลอะไร? คำตอบ เป็นอาชีพ หาเงินเลี้ยงชีพ
• ก้อนความรู้ของเรื่องที่ศึกษามีอะไรบ้าง?
1) องค์ความรุ้เรื่องร้านอินเตอร์เนตคาเฟ่ คืออะไร? มี เท่าไร? มีปัญหาอะไร?
2) องค์วามรู้เรื่องนโยบายและ กม.ที่เกี่ยวข้องกับร้านอินเตอรเน็ค
3) องค์ความรุ้เกี่ยวกับการจัดการปัญหาร้านอินเตอร์เนตคาเฟ่
4) องค์ความรู้เรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
5) องค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของคนแต่ละบุคคลในแวดวงร้านอินเตอรเนตคาเ
ฟ่
อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด...แต่มันน่าจะมีข้อถูกบ้างแหละน่า

หมายเลขบันทึก: 170952เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2008 01:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ตามมาอ่าน
  • ตามมาเป็นกำลังใจ
  • ตามมาเก็บความรู้
  • เห็นบรรยากาศจากรูปที่อี๋นำมาลงแล้ว  คิดถึงตอนที่เคยไปนั่งแบบนี้กับอาจารย์ที่ปรึกษาของพี่เช่นกันค่ะ  ไปเป็นกลุ่มๆ แบบนี้ล่ะ  อาจารย์พูดคุยและให้แนวทางเช่นนี้เหมือนกัน
  • จากบันทึกนี้ทำให้ได้เห็นหน้าอาจารย์แหววที่น้องๆ เอ่ยถึงบ่อยๆ...สวัสดีค่ะอาจารย์
  • แต่อี๋จ๋า...ถ้าคนอื่นๆ ที่พบอี๋มาก่อนช่วงนี้มาอ่านเจอเข้า เขาจะน้อยใจว่า...เป็นคนพาลหรือเปล่าคะเนี่ย 

โถ...พี่แจ๋วค่ะ น้องอี๋ขอบคุณมากที่มาช่วยเป็นกำลังใจ....

คนที่อี๋คบพบมาก่อนหน้านี้...อย่าน้อยใจไปเลย...เพราะเขาเป็นบัณฑิตกันไปหมดแล้ว...

โหพี่

 

ฟิตมากมาย

เอาใจช่วยค่ะ

สิ่งที่สำคัญมากกว่าระเบียบวิธีวิจัยในวันนี้ก็คือ ทีมหาความรู้ เร่มมีมวลมิตรมาช่วยกันหาความรู้ อันนี้แหละ ทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่อาจารย์แหววมักจะมอบให้เราเสมอ

อี๋.... ถ้าจะสอบเค้าโครงในวันเกิด ก็รีบๆ จัดการให้เสร็จนะ ประสานวิทยาลัยเสียนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท