ครูหรือหมอ


โรคสมาธิสั้นหรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาทส่วนกลาง เข้าใจว่าเกิดจากความบกพร่องของสารเคมีบางชนิด (เช่น dopamine)ในสมอง แนวทางในการรักษานอกจากการใช้ยาและยังคงต้องอาศัยการรักษาด้าน psychotherapy ร่วมไปด้วย เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดูแลช่วยเหลือด้านจิตใจของเด็กและครอบครัว รวมทั้งด้านการเรียน

ช่วงหนึ่งระหว่างการเดินทางไปเยี่ยมลุงพัฒน์ คุณน้าได้ปรึกษาเรื่องยาที่หลานชาย (อายุประมาณ 8-9 ขวบ อยู่ชั้น ป. 1) ได้รับว่าเป็นยาอะไร ..เพราะทานไปแล้วเกิดอาการซึมไปหลายชั่วโมง สาเหตุที่ได้รับยาเนื่องจากสงสัยว่าจะเป็นโรคสมาธิสั้น เพราะซนมาก ไม่ค่อยอยู่นิ่ง และชอบไปป่วนเพื่อนในระหว่างการเรียน หรือเวลาสอบ

ในฐานะที่ผู้เขียนเรียนทางด้านยามาพอสมควร คิดว่าน่าจะเป็นแมทธิลฟินิเดท (methylphenidate) หรือชื่อการค้าคือ Ritalin ซึ่งเป็นยาที่แพทย์นิยมใช่รักษาโรคชนิดนี้ และตามฤทธิ์ยาชนิดนี้ก็ไม่น่าจะทำให้เกิดอาการเชื่องซึมได้มาก เนื่องจากมีการออกฤทธิ์คล้ายแอมเฟตามีน (amphetamine) ……ครั้นซักถามไปเรื่อยๆ กลับทราบว่าเป็นคุณครูที่โรงเรียนเองที่บอกทางผู้ปกครองเด็กว่าสงสัยเด็กจะเป็นโรคชนิดนี้ และทางคุณครูเลยให้เด็กทานยาของโรงเรียน..........ปัญหาเกิดขึ้นทันทีคือยาที่คุณครูให้เด็กทาน แน่นอนย่อมไม่ใช่ยาที่ใช้กับโรคสมาธิสั้น เนื่องจากเป็นยาควบคุมพิเศษต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ผู้เขียนเข้าใจว่าคงจะเป็นกลุ่มยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine) ซึ่งทุกคนคงทราบว่ามีผลข้างเคียงทำให้ง่วงได้มาก และจุดประสงค์ของครูที่ให้คงจะต้องการหยุดความซนของเด็ก ...และแน่นอนการได้รับยาบ่อยครั้งย่อมต้องมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านการเรียนของเด็ก......ในลักษณะเช่นนี้คิดว่าการที่คุณครูวินิจฉัยโรคเอง ให้ยาเด็กเองคงไม่ใช่สิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้าเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น ทางโรงเรียนคงไม่สามารถรับผิดชอบได้....

ในกรณีเช่นนี้หลานชายคุณน้าอาจจะไม่ได้เป็นโรคสมาธิสั้น แต่อาจจะเป็นลักษณะของเด็กผู้ชายที่ซนมากเกินไป ทางโรงเรียนหรือคุณครูควรจะคุยปรึกษาหาแนวทางการแก้ปัญหากับตัวผู้ปกครองเด็กจะดีกว่าการที่ครูจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการเช่นนี้.

โรคสมาธิสั้นหรือที่เรียกตามศัพท์แพทย์ว่า Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือเรียกย่อๆ เป็น ADHD เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาทส่วนกลาง เข้าใจว่าเกิดจากความบกพร่องของสารเคมีบางชนิด (เช่น dopamine)ในสมอง แนวทางในการรักษานอกจากการใช้ยาและยังคงต้องอาศัยด้าน psychotherapy ร่วมไปด้วย เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดูแลช่วยเหลือด้านจิตใจของเด็กและครอบครัว รวมทั้งด้านการเรียน

หมายเลขบันทึก: 170837เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2008 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท