วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา


วิทยาศาสตร์บนหลักพุทธธรรม

วันนี้ไปอ่าน นิตยสาร  NATIONAL GEOGRAPHIC  ฉบับเดือนมีนาคม 2551 ลงบทสัมภาษณ์  ทันตแพทย์สม สุจีรา

เรื่อง วิทยาศาสตร์บนหลักพุทธธรรม  หวังว่าคงชอบอ่าน นะครับ

NG:  อยากให้คุณหมอแนะนำตัวเองและเล่าประวัติสั้นๆ

ทพ.สม: ผมเรียนจบชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียน อัสสัมชัญ

 จังหวัดระยอง หลังจากนั้นมาสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท  เรียน ม.4  ม.5แล้วสอบเทียบเข้าคณะทันตแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล  เรียนจบก็เลือกไปใช้ทุน ที่โรงพยาบาลจังหวัดสตูล  เมื่อย้อยมาอยู่กรุงเทพฯ  เกิดความคิดอยากจะเรียนศาสตร์ในสาขาอื่นที่น่าสนใจเพิ่มเติมจึงไปสอบเข้าเข้าเรียนปริญญาโทด้านจิตวิทยา ที่ มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ  ประสานมิตร  จนจบมหาบัณฑิต  ได้ความรู้จากการเรียนจิตวิทยาเยอะมาก  

 

NG: ความสนใจในพุทธศาสนาของคุณหมอมีที่มาอย่างไร

ทพ.สม: หลังจากจบปริญญาโทด้านจิตวิทยา   ผมรู้สึกว่าจิตวิทยาตะวันตกยังศึกษาเรื่องของจิตวิทยาไม่ละเอียดลึกซึ้ง จึงเริ่มหันมาศึกษาพุทธศาสตร์ ช่วงนั้นอ่านหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสตร์เยอะมาก จนพบว่า จะรู้จริงได้ ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง   ผมจึงไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานกับ

พระอาจราย์ชาวพม่าต่ออีกสองปี

 

NG: หลังจากได้เรียนรู้พุทธศาสตร์แล้วคุณหมอพบอะไรบ้างและมีสิ่งที่แตกต่างจากวิทยาศาสตร์อย่างไร

ทพ.สม: ก่อนปฏิบัติธรรม   ผมเคยเชื่อว่าปัญญาชั้นสูงสุดชองมุนษย์คือการจบปริญญาเอก แต่ทุกวันนี้ ผมเข้าใจล้าว่า มีปัญญาที่สูงกว่าปัญญาที่สูงวาการคิดหรือการเรียนรู้   ที่เรียกว่าจินตมยปัญญา สิ่งนั้นคือภาวนามยปัญญาที่เกิดจากการฝึกฝนอบรมจิต แต่ปัญญาคือภาวนามยปัญญาไม่สามารถอธบายให้คนทั่วไปรับรู้ได้   (เพราะเป็นปัจจัยตังหรือต้องปฏิบัติและเห็นผลได้ด้วย          ตังเอง-กองบรรณาธิการ) ขณะที่จินตมยปัญญาสามารถอธิบายได้ด้วยภาษาพูด ภาษาเขียน หรือ 

ภาษาทางคณิตศาสตร์  วิทยาเองก็พยายามศึกษานามธรรม  แต่เป็นนามธรรมภายนอกร่างกายมนุษย์

เช่น  น้ำหนัก  แรง  ความเร็ว  ความเร่ง   พื้นที่  ปริมาตร  เป็นต้น  และที่นักวิทยาศาสตร์สามารถประดิษฐ์สิ่งต่างๆขึ้นมาได้  ก็เพราะค้นพบนามธรรมเหล่านี้   ถ้าเราจะพูดว่า   นามเป็นต้นกำเนิดของรูป   ก็ไม่ผิดแต่พระพุทธองค์ทรงศึกษานามธรรมในร่างกายมนุษย์จนเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่ง 

เมื่อนามเป็นต้นกำเนิดของรูป   และจิเป็นต้นกำเนิดของนาม  ถ้าไม่มีจิต นามทั้งหลาย  เช่น 

ความสวย  ความหอม  ความดัน  ความเร่ง  หรือแม้แต่เวลา  ก็ไม่มีอยู่จริง  ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงวางทางสายเอกแห่งมรรคไปที่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจิตเพียงอย่างเดียว  เพราะเป็นกุญแจ

ดอกสำคัญที่สามารถไขความสับทุกสิ่งในจักรวาล

หมายเลขบันทึก: 170830เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2008 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดูความเห็นของผู้อ่านที่มีต่อหนังสือของ ทันตแพทย์สม สุจีรา ได้ที่  http://www.118doctor.com/book/book.htm

สวัสดีครับ

ขอบคุณมากครับที่เขียนมาคุยกัน และ www. ที่ส่งมาให้อ่าน

ทวิช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท