Learning Organization กฟภ.รุ่น 2


LO การสร้างองค์กรการเรียนรู้

สวัสดีครับชาว Blog และ ลูกศิษย์ กฟภ.

                ผมยินดีมากที่วันนี้ได้เดินทางมาที่ วังรี รีสอร์ท จังหวัดนครนายก เพื่อทำการเรียนรู้เรื่อง Learning Organization ให้กับ กฟภ.รุ่นที่ 2 และผมหวังว่าลูกศิษย์ทั้งสองรุ่นจะเข้ามาร่วม Share ความรู้กันนะครับ

ขอบคุณครับ

 จีระ หงส์ลดารมภ์

คำสำคัญ (Tags): #lo
หมายเลขบันทึก: 170097เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2008 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

(นางสาวสวลี รักษาวงศ์ การไฟฟ้าจังหวัดยะลา)

1)

จุดแข็ง

1.                    ผู้บริหารสนับสนุนแนวคิดของการสร้างองค์กร ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

2.                    มีความพร้อมในด้านงบประมาณ และเครื่องมือในการบริหารจัดการ

3.                    กฟภ. มีวัฒธรรมใหม่ในการทำงาน ด้านการเรียนรู้คือ ริเริ่มสร้างสรรค์ ทันสมัยข่าวสารเป็นวัฒนธรรมที่ดีอยู่แล้ว

จุดอ่อน

1.                    ขาดการสร้างบรรยกาศของการทำงานเป็นทีมภายในองค์กร

2.                    องค์กรไม่เปิดโอกาสให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในองค์กร โดยเฉพาะการเสนอแนะข้อคิดเห็นในการทำงานขององค์กร ซึ่งจริงๆแล้วจะต้องมีการสื่อสารจาก พนักงานระดับล่าง สู่ผู้บริหารระดับสูง

2)วัดผลจาก            ข้อมูลที่ feed back ออกมาจากความคิดเห็นของพนักงานว่าเค้ามีแนวคิดอย่างไรเพื่อประเมินแนวคิดให้เป็นทุนทางความรู้

วันนี้ได้อะไร

1.                    รู้ว่าจะต้องสำรวจตัวเองเป็นอันดับแรกว่าชอบอะไร เพื่อหาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ตัวองสนใจแล้วจึงเริ่มเรียนรู้ หาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่เราสนใจ ดังนั้นการสัมมนาในครั้งนี้จึงรู้ว่าก่อนจะไปสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นต้องเริ่มสร้างที่ตัวเองก่อน (ให้ได้) และทำให้รู้ว่าต้องเริ่มเรียนรู้จากสิ่งที่สนใจก่อนเป็น pratice หรือวิธีการเรียนรู้

2.                    การฟังคนอื่นเพื่อได้รับความรู้ที่หลากหลายโดยใช้แนวคิดว่าต้องทำตัวให้เป็นน้ำ 1/2  แก้วเสมอ

3)Step ต่างๆที่จะทำ               ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการกระตุ้นและตื่นตัว

4)แนวทางการทำงานต่อไป              จัดอบรม, E – learning กระจายความรู้ให้ทุกกลุ่มงาน อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

(คุณอมร สุขบุญส่ง กฟภ.2)

วันนี้เราได้อะไรจากการเรียนรู้ เรื่อง Team Building และไปปรับใช้อะไรกับ กฟภ.

-                      ได้แนวความคิด ในการนำความรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย และทันสมัยนำมาปรับใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองและองค์กร

-                      ได้ทราบว่า การเรียนรู้ของมนุษย์มีการเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาและเมื่อคลอดออกมาก็เริ่มัฒนาการเรียนรู้ที่ทันสมัยอย่างไม่หยุดยั้งตลอดเวลา และความสามารถนำไปทำประโยชน์อื่นๆ ได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะทำให้กับองค์กรเป็นไปตามทฤษฎี 4L’s , 8K’s , 5K’s , Peter Sange ตั้งแต่นี้ต้องให้เป็นไปตามองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

-                      ได้ข้อคิด ที่จะทำให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง

(นายปรีดา สายเสียง กฟภ.2)

สิ่งที่ได้จากสังคมแห่งการเรียนรู้ในวันนี้คือ

จุดแข็ง    ได้มีความรู้เพิ่มเติมจากการสัมมนาจากสิ่งที่เคยไม่รู้มาก่อนและ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้แชร์องค์ความรู้ซึ่งกันและกัน ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆที่จะให้องค์กรนั้นก้าวไปสู่องค์กรแห่งการยั่งยืนแล้วเกิดภูมิคุ้มกันสู่ กฟภ. องค์กรอยู่ได้ประชาชนประเทศชาติอยู่ได้

จุดอ่อน   ผู้บริหารในองค์กรต้องให้ความสำคัญต่อพนักงานในองค์กรเพราะเป็นก้าวขับเคลื่อนในองค์กรไปข้างหน้า และต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา และยังผูกติดกับระบบศักดินาอยู่ยังไม่เปิดใจกว้างพอ

ข้อเสนอแนะ         ในวันนี้อยากให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และดำเนินการอย่างต่อเนื่องดังปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว ว่า ทุนปัญญา

กฟภ. 1

จุดแข็ง

-                      มีบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เป็นเลิศและมีการสอนงานจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง

-                      มีกฎระเบียบที่สร้างความเป็นธรรมต่อลูกค้า เท่าเทียมกัน

จุดอ่อน

-                      ขาดการกำหนดแผนปฏิบัติระยะยาว และผู้รับผิดชอบในการดำเนินการบริหาร LO ให้ต่อเนื่องยั่งยืน

-                      ขาดการกำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่ชัดเจนทำให้ไม่ทราบทิศทางการทำ LO

 (นายปรีชา จันทร์เทศ กฟภ. เขต2 อุบลราชธานี)

Work Shop I

การสร้างทีมงาน (Team Building) มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

-               ความคาดหวังที่จะได้จากการมาอบรมในครั้งนี้

1.ทีมงานที่มาเข้าอบรมในครั้งนี้ จะมีความรู้ความสามารถ และได้รับเทคนิคการสอน การถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น รวมถึงการนำเสนอ

2.สำหรับตนเองควรจะมีศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้เพิ่มมากขึ้น

-               สิ่งที่ได้จากอาจารย์ในช่วงเช้า คือ

ทำให้ทราบว่าผู้ที่เข้ารับอบรมจะสามารถรับความรู้ได้เต็มที่ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้นั้น คนๆนั้นต้องมีความใฝ่ที่จะเรียนรู้ และได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อทบทวน เพิ่มเติมและแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

-               สิ่งที่ได้ในช่วงบ่าย

การใช้แนวคิด ของพระเจ้าอยู่หัว ทฤษฎีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการที่จะนำไป พัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ให้มีความรู้อย่างยั่งยืน

Work Shop II

จุดอ่อน

1              พนักงานเป็นคนรุ่นเก่าไม่ใฝ่ที่จะรับของใหม่ๆเข้าไปเพื่อพัฒนาตนเอง

2              งบประมาณที่มีขีดจำกัด

จุดแข็ง

1                 ปัจจุบัน ผวก. เห็นความสำคัญและสนับสนุน

2                     มีการจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง ตามแผนงานในอนาคต

รวบรวมโดยทีมงานโต๊ะ 9

 

จุดอ่อน - จุดแข็งในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ กฟภ.

(1)จุดอ่อน

-                      โครงสร้างองค์กร (สำนัก, ฝ่าย , กอง, เขต) พื้นฐานการเรียนรู้ของพนักงาน (มศ.3, ปวช. , ปวส. , ปริญญา) ระเบียบปฏิบัติขององค์กร (ถูกควบคุมโดยนโยบาลของรัฐ) การยอมรับนับถือ การให้เกียรติซึ่งกันและกัน (ยึดถือตัวกู - ของกู)

-                      บุคลากรกระจายอยุ่ทั่วประเทศ (พื้นที่บริการครอบคลุม 96% ของประเทศ) การมีส่วนร่วม การรวบรวมองค์ความรู้เป็นไปได้ยาก

(2)จุดแข็ง

-                      47 ปีของ กฟภ. หล่อหลอมบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องมากมาย (มีทุนความรู้)

-                      มีงบประมาณ เทคโนโลยี (ทรัพยากร) ที่สนับสนุนทางการดำเนินงานให้เป้นองค์กรแห่งการเรียนรู้

10 มีนาคม 2551

กลุ่มที่4

จุดแข็ง

1.              องค์กร กฟภ. เป็นองค์กรขนาดใหญ่ดูแลผู้ใช้ไฟทั่วประเทศ 73 จังหวัด

2.              องค์กร กฟภ. มีการพัฒนาบุคลากรในด้านต่างๆ โดยการอบรม หรือ E - learning อย่างต่อเนื่อง

2               มีบุคลากร ที่มีความสามารถ ในเรื่อง L.O.

จุดอ่อน

1.         ประชากรส่วนใหญ่ไม่รู้จักการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

2.         งบประมาณการอบรม-สัมมนา มีไม่เพียงพอต่อปี

1.              พนักงาน กฟภ. ส่วนใหญ่ ขาดการไขว่คว้าหาความรู้ Innovation สิ่งใหม่ๆ ให้ทันต่อสภาพการณ์ปัจจุบัน

2.              องค์กร กฟภ. คิดหรือทำ Project อะไรทันสมัยปัจจุบัน แต่จะคิดหรือทำทีหลังหน่วยงานอื่น ทุกครั้งและสิ่ง        ที่คิดทำไปก็ไม่ได้สัมฤิทธิ์ผล มากกว่าสิ่งที่หน่วยงานอื่นใดทำไปก่อนหน้านี้

กลุ่ม 3 กฟภ. รุ่น นครนายก

 

 

คำถาม : ได้รับอะไรจากการฝึกอบรมหลักสูตร “Team Buiding” ในวันนี้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างไร

-               ได้รับรู้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

 

1.ต้องมีความใฝ่รู้

 

2.มีโลกทัศน์(Vision) ที่กว้างไกล

 

3.อย่ามองในมุมแคบ

 

4.อย่าสนใจเฉพาะความรู้เฉพาะทาง ควรสนใจความรู้ในสาขาต่างๆด้วย

 

5.ควรศึกษาหาความรู้อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

 

-               ความรู้ใน LO ข้างต้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันได้ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทำงาน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรต่อไป

นัยนา ซ่อนกลิ่น นักการตลาด กฟภ.สระบุรี (กฟภ.1)

 

 

ได้อะไรจาก? Team Buiding + Learning Organization

ตอบ

 

1.             การสร้างทีมงานที่สำเร็จและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ขององค์กรได้จริงนั้นจะต้องมาจากบรรยากาศขององค์กรที่มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะการที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จะนำพาทีมงานที่มีคุณภาพมุ่งไปสู่ความสำเร็จขององค์กรในที่สุด

 

2.             องค์กรแห่งการเรียนรู้จะสามารถสร้างสรรค์ ทีมงานที่มีคุณภาพสูง เข้ามาพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในที่สุดและยั่งยืนยาวนาน

ปัทมา ค้าผล

 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต3 ภาคกลาง จังหวัดนครปฐม

 

วันนี้ฉันได้อะไรจากการเรียนรู้ เรื่อง Team Building”

 

สิ่งแรกที่สะดุด และตรงใจมากก็คือคำว่า ความรู้ต้องสดและมีความทันสมัย นำไปใช้ได้ตลอดเวลา เนื่องจากปัจจุบันลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าเราไม่วิ่งตามให้ทันก็จะเป็นคนล้าสมัย ไม่ทันต่อเหตุการณ์

 

จากการเรียนรู้ ทฤษฎีต่างๆของ อาจารย์ สามารถนำไปปรับใช้กับ การทำงานได้ดี โดยเฉพาะ หลักคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ Peter Sange

 

นอกจากนี้ดิฉันจะนำแนวความคิดนี้ไปปรับใช้ใน การทำงานเนื่องจากต้องรับผิดชอบงานห้องสมุด และคิดว่าทุกครั้งที่มีการจัดอบรม จะให้ทุกคนเขียนเรื่องอย่างที่อาจารย์ให้ดิฉันเขียน เพื่อเก็บความรู้ต่างๆที่ทุกคนเขียนนำไปขึ้น WEB ห้องสมุดต่อไป เป็นการ Shared ความรู้ที่ทำร่วมกัน เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

นางเยาวลักษณ์ วัฒนะมงคล

วิศวกร ระดับ5

 

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับจากการฟังบรรยายจาก ศ.ดร.จีระ

ในวันที่ 10 มี.ค 2551

 

1.             ทำให้ข้าพเจ้ามีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ข้าพเจ้าชอบ และคิดว่ามีประโยชน์ในการทำงานให้กับ กฟภ. และเพื่อตัวของข้าพเจ้าเองด้วย ข้าพเจ้าคาดหวังว่าหลังจากวันที่ 10 มี.ค 2551 เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะจัดสรรเวลาส่วนหนึ่งโดยไม่มีข้อแม้ใดๆในการไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม (ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง)

 

2.             จะพยายามสร้างโอกาสและหาโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ข้าพเจ้ารู้ให้กับผู้อื่น เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กร ทำให้ กฟภ. ก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพได้เร็วขึ้น

 

3.             เพิ่มแนวคิด และมุมมองในการทำงาน ทั้งในเรื่องของ คน และ ระบบงาน สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในการทำงานได้ เช่น ทฤษฎี 2R’s , 6 หลักการในการทำงาน

ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม

 

จากการสัมนาในวันที่ 10 มี.ค 51 สิ่งที่ได้รับ ในการสร้างทีมเพื่อพัฒนาองคกรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้น คือ การสร้างคนเพื่อเสริมความรู้ โดยการเรียนรู้ควรจะเริ่มต้นจากศักยภาพจากตัวของเราเองก่อน โดยการเรียนรู้นั้นจะต้องรู้ให้จริงในเรื่องที่อยากรู้ ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ก็ไม่ควรมองข้ามโดยถือว่ามีความรู้อะไรอย่าเก็บไว้ เอาให้ผู้ที่อยากรู้ให้หมด แล้วเราจงหาความรู้ใหม่ๆเข้ามาเพื่อทดแทน

นายสุวิศิษฎ์ ภักดีรัตน์ กฟล.3

ทำอย่างไรให้ กฟภ. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

จุดแข็ง  กฟภ.

 

1.             เป็นองค์กรชั้นนำ ผูกขาดเพียงแห่งเดียวที่ให้บริการด้านไฟฟ้า

2.             พนักงานมีความชำนาญ มีทักษะ ในการปฏิบัติงาน

 

จุดอ่อน กฟภ.

 

1.             มีสายการบังคัญบัญชาที่กว้างเกินไป ทำให้การตัดสินใจมีความล่าช้า

2.             เป็นองค์กรที่ใหญ่ มีอยู่ทั่วประเทศ ทำให้การดูแลการตัดสินใจไม่ทั่วถึง

 

เพื่อให้ กฟภ. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

1.             สร้างวัฒนธรรมขององค์กร ให้เข็มแข็งเพื่อความยั่งยืนตลอดไป

2.             สร้างจิตสำนึกให้กับพนักงาน ว่าการทำ OL ทำอย่างไร เพื่อใคร แล้วได้อะไรจากการทำ OL

3.             สนับสนุน ให้โอกาสกับพนักงานทุกตำแหน่ง ได้มีโอกาสในการรับรู้ศาสตร์ใหม่ๆ ได้รับการฝึกอบรม ดูงานมากขึ้น

 

Learning Organization Awareness ใน กฟภ.

 

1.             ได้รับความรู้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการสร้าง  KM ให้กับหน่วยงาน

2.             ได้รับรู้ทฤษฎีใหม่ๆ + ทฤษฎีเก่าๆ เพื่อนำไปปรับปรุงการพัฒนาการเรียนรู้ ให้กับองค์กร

3.             การสร้าง KM ให้กับหน่วยงาน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ เพิ่มทักษะให้กับพนักงาน เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการให้มีความก้าวหน้าและมีความเจริญยั่งยืนให้กับองค์กร

4.             เป็นการสร้างโอกาสให้กับ พนักงานได้แสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นการแชร์ความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อให้มีความรู้และรู้จริงมากขึ้น

ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม

วันนี้ฉันได้อะไรจากการเรียนรู้

 

 

องค์กรแห่งการเรียนรู้ <LO> ของ กฟภ. น่าจะเป็นสถานที่ที่พนักงานทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่องซึ่งเกิดจากการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและจริงใจ เกิดแนวคิดใหม่เกิดความหลากหลาย เกิดการ เรียนรู้ร่วมกันในองค์กร

 

 

โดยอาศัยการสร้างทีม <Team Building> ที่เกิดจากกิจกรรมที่พนักงานคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรู้สึกดีดีที่มีต่อกัน บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกันสิ่งที่ต้องการเห็นคือ ความสามัคคีในองค์กรเกิดความรักความผูกพัน เราหวังความสำเร็จร่วมกัน นั่นคือความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าเป็นองค์กรชั้นนำของประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน

 

 

 

เมื่อเรามีความรู้แล้วสิ่งที่ไม่ควรลืม คือหลักธรรมาภิบาล มีความรู้ต้องคู่คุณธรรม

10/03/51

กิตติพงษ์ โสภาพงษ์ วิทยากร

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต1 ภาคใต้ จังหวัดเพชรบุรี

 

 ความคาดหวัง Team Building สู่ความมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

 

ปัจจุบันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินงาน ด้านพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก เมื่อเปรียบเทียบกับความ

รับผิดชอบของพนักงานสองหมื่นกว่าคนกับจำนวนผู้ใช้ไฟที่มากมาย และบทบาทของพนักงานมีหลากหลาย ปัญหาที่เด่นชัดเรื่อง LO คือ

 

1.                   ทำอย่างไรให้พนักงานทุกระดับ ทุกพื้นที่รับรู้และเดินขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน ลำบากมากๆ

 

2.                   พนักงานชั้นบน อยู่ใก้ลๆความเจริญในเขตไม่น่าเป็นห่วงเรื่องการเปลี่ยนแปลงความคิด แต่พนักงานที่อยู่ไกลๆ ทำงานหนักมากๆ ทำทุกอย่าง ดังนั้นผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานต้องไม่ห่วงเรื่องตัวเองเป็นหลัก ให้การสนับสนุนไม่พอ ต้องลงมือทำเพื่อให้เห็นด้วย

 

3.                   การที่เห็นอกเห็นใจพนักงานทุกระดับไม่พอ แต่การให้อะไรที่ทำให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้ นั้นสำคัญกว่า นักรบไม่มีอาวุธ แต่มีจิต แค่คิดสู้ก็แพ้แล้ว” “ที่สุดแล้ว จะนำแต่วิชา ไม่สวามิภักดิ์กับศัตรู

กิ่งกาญจน์ พงษ์พาณิช ศฐก.5

ได้อะไรจากการเรียนรู้เรื่อง Team building (กฟภ.2)

 

            1. การทำงานไม่ได้อาศัยฐานความรู้จากสาขาที่ได้รับปริญญามาเพียงอย่างเดียว ควรเพิ่มพูนความรู้ในทุก ๆ ด้านที่อาจจะเกี่ยวกับเราหรือไม่เกี่ยวกับเรา เพราะการทำงานจะอาศัยศาสตร์และศิลป์ในหลาย ๆ ด้านอีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับตัวเราด้วย

            2. การพัฒนาความรู้ไม่ได้อาศัยแค่เพียงตำรา เอกสารต่าง ๆ จะต้องพัฒนาความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป เช่น Digital , Net work เพราะความรู้ได้พัฒนารูปแบบไปหลากหลายควรศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

            3. ควรสร้างความคิดที่แปลกใหม่ให้เกิดอยู่เสมอ แต่ควรรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นให้มาก เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงวิธีการทำงานและความคิดให้มีระบบแบบแผนมากขึ้น

          4. ในการทำงานแต่ละอย่างควรมีคำถามเกิดขึ้นทุกครั้ง คือ คำว่า ทำไม เพราะนั่นคือรากฐานแห่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงานของคนได้ โดยทุกคนจะค้นหาคำตอบพร้อมกับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แทนการทำงานเพื่อให้ได้เพียงแค่คำว่า สำเร็จแล้ว

           5. ก่อนลงมือทำงานแต่ละครั้ง ควรศึกษาเรื่องที่ทำก่อน ไม่ว่าเนื้อหาจะเกี่ยวเนื่องโดยตรงหรือโดยอ้อม เพื่อจะได้หาวิธีแก้ไขจัดการปัญหาได้อย่างดีที่สุด ซึ่งการทำงานส่วนใหญ่เมื่อเกิดปัญหา จะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยไม่ได้มองว่าส่วนไหนที่เกี่ยวข้องจะได้รับผลกระทบบ้าง  ก่อให้เกิดความไม่ต่อเนื่อง

 

การคาดหวังที่ได้จากการสัมมนา

                1. คาดว่าผู้บริหารให้การสนับสนุน เข้าใจและยอมรับ และให้โอกาส กับพนักงานที่มีความใฝ่รู้ ไม่ใช่มองแต่ว่าพนักงานคนนั้นจะทำเกินหน้าที่เกินไปหรือเปล่า อาจจะเปล่าประโยชน์

                2. สาขาแต่ละสาขามีความสำคัญกับองค์กร ดังนั้นทุกสาขาควรได้รับการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่พัฒนาแต่ส่วนบน ส่วนล่างซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ ได้แต่รอรับการเปลี่ยนแปลง

เปรียบเทียบ 4L’s, 8k’s, 5k’s, Peter Sange, ทฤษฎีในหลวง ไปเกี่ยวโยงกับ Team building กับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ กฟภ.

                1. การสร้างความสำเร็จให้กับองค์กร ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะชนะเพียงอย่างเดียว ควรสร้างพื้นฐานความสำเร็จให้อยู่ภายใต้ความสามัคคีกลมเกลียวซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความโกรธแค้นกับแต่ละฝ่าย

               

                2. การทำงานแต่ละครั้งมีข้อจำกัดหลายอย่าง ดังนั้นควรศึกษาหาข้อมูลและความรู้ให้มาก เพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ และเกิดผลตามมาที่ดีที่สุดที่จะทำได้ เพราะทุกปัญหามีการแก้ไขได้ เว้นแต่ว่าจะเลือกแก้ไขด้วยทางใดก็จะทำให้สนุกกับการแก้ไขปัญหา ดังนั้นปัญหาต่าง ๆ ที่จะ เข้ามาก็จะเป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัว

 

วิเคราะห์จุดอ่อน 2 เรื่อง และจุดแข็ง 2 เรื่อง ของการดำเนินการของการสร้างสังคมการเรียนรู้ใน กฟภ.

 

                จุดอ่อน

            1. การพัฒนาความรู้บางครั้ง มาพร้อมกับนโยบายของผู้บริหารแต่ละคนทำให้การเรียนรู้  ได้รับการพัฒนาเป็นแบบช่วง ๆ เหมือนเส้นประ

            2. การจัดกิจกรรมโดยส่วนใหญ่ จะมีผู้เชิงร่วมทำกิจกรรมเฉพาะบางกลุ่มดังนั้นการที่จะให้พนักงานภายในองค์กรมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและยอมรับยังไม่ได้ทั่วถึง จึงทำให้มองกันว่าการร่วมทำกิจกรรมทำไปทำไม ไม่เห็นเกี่ยวกับเราเลย ซึ่งจะช่วยให้องค์กรพัฒนาได้ช้า

               

                จุดแข็ง

            1. การพัฒนาความรู้ภายใน กฟภ. จะได้รับการปฏิบัติอย่างทันสมัยเข้ากับยุคสนับทุกครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร

            2. กฟภ. ได้เน้นกกิจกรรมด้านสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะ ภายในหรือภายนอกเป็นการคืนกำไรให้กับสังคม พร้อมทั้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคนภายนอกได้รู้จักมากขึ้น

 

            นักประหยัดตัวน้อยประหยัดไฟกำไร 2 ต่อ มิเตอร์เพื่อผู้ยากไร้พลังงานแสดงอาทิตย์

 

รุ่นที่ 1

10 มีนาคม 2551

วังรี รีสอร์ท จ. นครนายก

 

            ทำจริงและต่อเนื่อง รู้มากรู้จริงเกี่ยวกับงานที่ทำ- ทำได้

4 L’s  

            - วิธีการเรียนรู้                                          - โอกาสการเรียนรู้

            - บรรยากาศการเรียนรู้                           - ชุมชนแห่งการเรียนรู้

           

           สิ่งที่ได้รับ

           

            การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ประกอบไปด้วยหลายสิ่งหลายอย่างที่ทุกคนภายในองค์กรต้องกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งที่ทำให้ได้มากที่สุด เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และความรู้ที่ได้นั้นต้องมีการนำมาถกกันระหว่างสู่ที่ร่วมงาน เป็นพื้นฐานของความเข้าใจในเนื้องานที่ทำอย่างถ่องแท้ ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะต้องให้โอกาสในการเรียนรู้ของผู้น้อยอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมกับต้องเป็นใจยอมรับในความคิดเห็นของผู้น้อยด้วย

           

            การพัฒนา กฟภ. ให้ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ได้นั้นขึ้นอยู่กับการที่ผู้บริหารให้โอกาสในการเรียนรู้ ลูกน้อง ทุกระดับชั้นด้วยใจเป็นธรรม

               

ถ้าผู้บริหารไม่มีคุณธรรม ก็อย่าเพิ่งไปหวังอะไรกับการพัฒนาองค์กร( เป็นมุมมองของผู้น้อยที่ชักจูงปิดกั้นด้านความคิดเพราะ  อคติ ของผู้บังคับบัญชา)

           

* ยอมรับและพ้อมที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นส่วนหนึ่งในสังคม กฟภ. ที่จะก้าวไปข้างหน้าเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ *

ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม

           

            1. จุดแข็งของ กฟภ. ที่จะเป็นองค์กรของการเรียนรู้ คือ

                1) มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี ทุกด้าน เช่น สื่อด้านวิทยุ, โทรทัศน์, Internet.

                2) มีผู้บริหารที่น่าเชื่อถือ ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อ องค์กร กฟภ.

 

            2. จุดอ่อน ของ กฟภ.

1) ควรพัฒนางานด้านบุคคลให้ต่อเนื่อง เช่น ด้านส่งเสริมการพัฒนาด้านความรู้ไม่ว่าจะเป็นด้านช่าง,  ด้านการตลาด, ด้านธุรกิจเสริมให้ กฟภ.

                2) ควรจะมีการส่งเสริมความรู้ด้านคุณภาพให้มีมาตรฐาน อย่างต่อเนื่อง

 

            3. จาการมุ่งสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ในการสัมมนา วันนี้

ทำให้เราได้ทราบถึงองค์กร ไม่ทอดทิ้งพนักงาน ดูแลพนักงานเกือบทุกระดับให้ได้รับความรู้เท่ากันให้อยู่ในจิตสำนึก รู้ว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไรให้เป็นพนักงาน กฟภ. ที่ดี ให้มีชีวิตการทำงานที่มีความสุขยั่งยืน รู้จักมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ยอมรับความคิดของบุคคลอื่น และรู้จักมองโลกในแง่ดี ทันสมัย ข่าวสาร เพื่อที่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง  ความพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทำให้เรารู้จัก ที่จะมีความสุข ต่อไปได้ในอนาคตถ้าเราเกษียณจาก กฟภ. แล้ว เมื่อมองย้อนกลับไปจะเกิดความรู้สึกที่ประทับใจมาก สามารถที่จะถ่ายทอดความรู้สึกดีๆ ให้กับ เพื่อน ๆ และลูกหลานได้เป็นอย่างดี

 

 

 

ประทานพร ชัชวาลย์ นบท.

กฟอ. พระพุทบาท

 

            1. อย่านำคลั่งในการเรียนรู้เฉพาะทาง ให้เรียนรู้ให้ความรู้ให้จริง ใฝ่รู้มีการพัฒนางานเองอย่างต่อเนื่อง การความรู้ไม่แตกต่างไม่จากผักสด ที่เราต้องมีความสดใหม่ ทันสมัย เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

           

            2. การกล้าที่จะคิด คิดดีแล้วทำ เพื่อให้ตนเองและส่วนรวมประสบความสำเร็จเพื่อให้องค์กร ครอบครัวและตนเองมีความสุข ส่วนผลต่อการพัฒนาทางประเทศ

           

            3. คุณต้องเป็นคนที่วิเคราะห์เป็น และสร้างเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

 

Swot  การดำเนินการต่อการสร้างสังคมการเรียนรู้ใน  กฟภ.

               

Strength (จุดแข็ง)              

1. ทรัพยากรที่เพียงพอ  มนุษย์,   เครื่องมือ

               

2. มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

 

Weakness (จุดอ่อน)                           

1. การพัฒนา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

 

2. การทำงานเป็นทีมที่ยังไม่มีประสิทธิภาพพอ การเชื่อมต่อ ระหว่าง กอง เขต แผนก บุคลากรในองค์กร

ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม

 

กฟภ. มีจุดอ่อน เช่น

           

1. หน่วยงานไม่เป็นที่รู้จักกองประชาชน

- ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี การสื่อความหมายและพนักงานไม่รู้จัก ความเป็นเจ้าของหน่วยงานทำงานแบบขาดความสามัคคี ขาดความสัมพันธ์ที่ดี ส่วนมากจะเน้นการทำงานแบบวันแมนโชว์และเป็นการทำงานแบบ Micro

           

2. ผู้ปฏิบัติงานไม่ยอมรับกับสิ่งใหม่ ๆ กลัวว่าจะต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้น

- เพราะขาดวิสัยทัศน์ ขาดการประสานงานที่ดี ทำงานเพียงเพื่อผ่านรับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่มีความสนใจที่จะศึกษาหาความรู้ ไม่รักที่จะสร้างสรรค์การทำงานที่ดีมีประโยชน์ต่อหน่วยงานขาดความสามัคคีที่จะทำงานร่วมกัน

 

จุดแข็ง

 

1. เป็นหน่วยงานที่ให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง

- ซึ่งจากการดำเนินงานของ กฟภ. นั้นการให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้ามีการให้บริการจ่ายกระแสไฟฟ้า แก่ประชาชนได้ ถึง 100% ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน สร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนเชื่อประชาชน เกิดความพึงพอใจ พนักงานที่ดำเนินการก็รู้สึกเกิดความภูมิใจและมีความสุขในการทำงานเพราะเป็นการคิดแบบ Macro เป็นการปฏิบัติงานจากจุดเริ่มต้น

               

2. พนักงาน กฟภ. ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม

- ในปัจจุบัน กฟภ. ได้มีการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรม ในการทำงานได้พอสมควรซึ่งผู้บริหารในปัจจุบันได้วางรากฐาน พัฒนาการทำงาน ให้พนักงาน มีการบริการที่ดี มีความสุขในการทำงาน ให้เห็นผลประโยชน์ที่มีอนาคตร่วมกัน

 

มุ่งสร้างคน สรรค์งาน เสริมความรู้ สู่คุณภาพ

ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม

 

 

องค์การแห่งการเรียนรู้   Learning Organization Awarenss

-    ต้องการให้ผู้บริหารสนับสนุนเรื่องเรียนรู้ และเรื่องเรียนตู้อย่างต่อเนื่อง

-    ต้องการความรู้ไปปรับพฤติกรรมการเรียนรู้

-    ต้องการแลกเปลี่ยนความรู้หรือแชความรู้และยอมรับซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องมองตำแหน่ง

                                 

1. จุดแข็ง ของ กฟภ. ที่จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

            1) มีการประชาสัมพันธ์ที่ดีทุก ๆ ด้าน เช่น สื่อด้านวิทยุ, หนังสือพิมพ์, โทรทัศน์, Internet

            2) มีผู้บริหารที่น่าเชื่อถือ ทำให้เกิดความก้าวหน้าในองค์กร

 

2. จุดอ่อน ของ กฟภ.

            1) ควรพัฒนางานด้านบุคลทุก ๆ ด้านให้ต่อเนื่อง

            2) ควรมีการส่งเสริมด้านความรู้ด้านคุณภาพ, ด้านการตลาด

นางปาริชาต ถุงทรัพย์

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอแก่งคอย

 

วันที่ได้รับความรู้เรื่อง Team Building

-ได้รับความรู้นำไปใช้เป็นประโยชน์ ต่อ กฟภ. และตนเองมากมีแนวคิดการทำงานใหม่ ๆ

- การเรียนรู้ในองค์กรแต่ละเรื่อง จะต้องรู้ให้จริงเพื่อนำไปใช้ให้ถูกต้องตรงประเด็นเพื่อลดการสับสนในการทำงานซึ่ง  กฟภ. เป็น องค์กรที่มีโครงสร้างงานหลายแผนก (ตจว.) และเป็นองค์กร (กฟภ) ที่ใหญ่มีสายงานมากและได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมและวิเคราะห์ได้

 

จุดอ่อน

1. กฟภ. เป็นองค์กรที่มีสายงานมากหลายงานในหน่วยงานเดียวกัน เช่น งานด้านช่าง, งานบัญชี บางครั้งใช้การเรียนรู้แบบเดียวกันไม่ได้เช่น งานเฉพาะตำแหน่ง เช่น Hot Line

2. พนักงานไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ไม่ยอมรับในงานใหม่ ๆ

 

จุดแข็ง

1. มีองค์การเรียนรู้ที่ดีแบบ Team Building ทำให้งานมีคุณภาพ สามารถนำความรู้ไปใช้งานได้ดีมีความชำนาญมากขึ้น

2. พนักงานมีทัศนะคติที่ดีต่อองค์กร มีความภาคภูมิใจต่อองค์กรมีความสุขในการทำงาน

3. งานมีคุณภาพส่งผลให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจ

4. เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ มีพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม

จุดอ่อน

 

-    ไม่ยอมรับความจริง

 

-    ไม่พัฒนาพนักงานผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

 

-    ขาดการประชาสัมพันธ์และมวลชนสัมพันธ์ (เพราะไม่ต่อเนื่อง)

 

จุดแข็ง

 

-    มีการพยายามในการพัฒนาระบบการจ่ายไฟอย่างต่อเนื่อง

 

-    มีแนะทางการปฏิบัติงานใหม่ ๆ อยู่เสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท