ยาขอบ


นายโชติ แพร่พันธุ์ ยาขอบ ประวัติย่อ

นายโชติ แพร่พันธุ์

 

นายโชติ แพร่พันธุ์ หรือมีนามปากกาว่า "ยาขอบ" เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 บิดาชื่อเจ้าอินแปง (บุตรของเจ้าพิริยเทพวงศ์เจ้าเมืองแพร่คนสุดท้าย) มารดาชื่อจ้อย ต้นห้องหม่อมเฉื่อย ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ นาม "โชติ แพร่พันธ์" เป็นนามที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพประทานให้

 

ประวัติ

ชีวิตในวัยเด็กมีความยากจนมารดาได้นำมาฝากเจ้าคุณบริหารนครินทร์ช่วยอุปการะ เข้าศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทราวาส เด็กชายโชติมีหน้าที่อ่านหนังสือให้เจ้าคุณฟัง เช่น เรื่องขุนช้าง ขุนแผน อิเหนา พระอภัยมณี ราชาธิราชและเกร็ดพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊ก เลียดก๊ก เป็นต้น การอ่านหนังสือมากทำให้มีความรู้จนสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพเป็นนักเขียนที่มีชื่อในเวลา ต่อมา

 

นายโชติเคยเป็นจ๊อกกี้ เป็นพนักงานพิสูจน์อักษรของหนังสือพิมพ์สยามรีวิว ทำงานกับ หนังสือพิมพ์ธงไทย ห้างเพ็ญภาคแผนกโฆษณา ตอนหลังกุหลาบ สายประดิษฐ์ซึ่งเป็นนักเขียนใน ขณะนั้นชักชวนให้เขียนเรื่องลงหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษที่เขาทำอยู่นายโชติจึงเขียนจดหมายตลก ขบขัน ชื่อ "จดหมายเจ้าแก้ว" โดยใช้นามปากกาว่า "ยาขอบ" ตามที่กุหลาบ สายประดิษฐ์ ตั้งให้ โดยเลียนคำว่า W.W.Jacob นักเขียนเรื่องตลกในหนังสือพิมพ์ Strand ของอังกฤษ

 

ต่อมานายโชติได้เขียนเรื่อง "ยอดขุนพล"ลงหนังสือพิมพ์ไทยใหม่แต่ยังไม่ทันจบ ภายหลังได้ เปลี่ยนชื่อจากเรื่องยอดขุนพลมาเป็น "ผู้ชนะสิบทิศ" ลงในหนังสือพิมพ์ประชาชาติต่อ นับแต่นั้นมา ยาขอบก็มีชื่อเสียงรุ่งโรจน์อยู่ในวงการเขียนตลอดมา

 

ผลงาน

งานเขียนหนังสือของยาขอบมีมากมาย อาจจำแนกได้เป็นนวนิยายธรรมดา กับ นวนิยายอิงพงศาวดาร เช่น เรื่องสามก๊กฉบับวณิพก ผลงานอื่น ได้แก่ เรื่อง สินในหมึก ผู้ชนะสิบทิศ คดีจอมพลเนย์ เธอต้องการมีดอกไม้สีม่วงในมือ ผู้ร่ายโฉลกเพื่อเอาชีวิตรอด ผู้คอขาด เพราะขาไก่ เตียนอุยผู้ถือศพเป็นอาวุธ แม่หม้ายที่ไม่เคยมีผัว ม้าเฉียวทายาทแห่งเสเหลียง เป็นต้น

 

เรื่องผู้ชนะสิบทิศนับ เป็นผลงานอมตะของยาขอบ มีความยาวถึง 8 เล่ม เป็นนวนิยาย อิงพงศาวดารที่ยาขอบเขียนจากข้อความในพงศาวดารเพียง 7 บรรทัด เป็นนวนิยายรักใช้ถ้อยคำ สำนวนอันมีลักษณะเฉพาะตัวได้รับความนิยมยกย่องอย่างกว้างขวาง มีการนำไปสร้างเป็น ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์และละครวิทยุซ้ำๆหลายครั้ง ผู้อ่านผู้ชมก็ยังนิยมยกย่อง อย่างไม่เสื่อมคลาย

 

นอกจากผู้ชนะสิบทิศแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับการยกย่องก็คือ สามก๊กฉบับวณิพกซึ่ง ยาขอบได้เขียนเรื่องนี้จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ (The Three Kingdoms) ด้วยความชัดเจน ประณีต บรรจง ละเอียดลออ

 

ยาขอบถึงแก่กรรมด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2499 ยาขอบจนทรัพย์สิน เงินทอง แต่ไม่จนน้ำใจแห่งความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตาอารีและเกียรติยศชื่อเสียง นับเป็นเลือดเนื้อ เชื้อไขของชาวเมืองแพร่ที่มีเกียรติประวัติ ผลงานยอดเยี่ยมที่ควรแก่การยกย่องและรำลึกถึงตลอดไป

 

http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/pre/pre242.html

 

หมายเลขบันทึก: 170061เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2008 06:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอบคุณครับ สำหรับความรู้เรื่อง ยาขอบ

ดีจัง...อ่านมาหลายเรื่องหลายเล่ม...ก้อย้อนนึกถึงคนเขียนหลังสือ..แย้วก้ออดชื่นชมในความสามารถไม่ได้...ขอบคุณข้อมูลก๊าบบบบบบบบบ

3ก๊กของยาขอบ ที่แบ่งเป็น 6 เล่มตามชื่อตัวละคร กับแบบ 2 เล่มจบเนื้อในเหมือนกันหรือไม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท