องค์กรกับการพัฒนานวัตกรรม


การมีนวัตกรรมของตัวเอง ส่งผลต่อเทคโนโลยี และผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ

ปัจจุบันองค์กรหลักที่พัฒนานวัตกรรม ส่วนใหญ่ก็เป็นสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพราะการมีนวัตกรรมของตัวเอง ส่งผลต่อเทคโนโลยี และผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ที่สามารถสร้างและผลิตขึ้นได้ และส่งผลต่อไปถึงคุณภาพอันเป็นที่ต้องการ นั่นแสดงถึงความอยู่รอด ปลอดภัยขององค์กร

การพัฒนาองค์กรตามกระแสนิยมที่กระทำกันคือการจัดการความรู้และการเป็นองค์กรเรียนรู้ ซึ่งเชื่อว่าจะมีนวัตกรรมและการพัฒนา เจริญเติบโตขึ้น โดยวัดจากผลิตภัณฑ์ ผลผลิต สินค้า รวมทั้งบริการบริการใหม่ๆ ว่ามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน เป็นที่ต้องการ มีผู้มาใช้บริการมากน้อยแค่ไหน  ถ้าการวัดจากผลผลิตและบริหารโดยตรงไม่ได้ก็อาจจะวัดจากผลงานการวิจัยและพัฒนาที่เป็นรูปธรรม วัดโอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น วัดตลาดใหม่ๆ ที่ได้มาก  และการวัดความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรมซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับการวัดผลงานวิจัยและการพัฒนา ในส่วนนี้สำหรับสถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยจะมีตัวชี้วัดที่จะต้องทำให้ปรากฏ ในตัวชี้วัดของกพร. และการประกันคุณภาพการศึกษา

ในส่วนขององค์กรเอง สำหรับองค์กรทางธุกิจมีการวัดกระทั่งว่า ได้ทำลายอุปสรรคด้านภูมิศาสตร์ที่จะมีผลกระทบ วัดการบูรณาการขององค์กร วัดความคล่องตัวขององค์กร วัดการแลกเปลี่ยนการแบ่งบันความคิดความเห็น วัดการเรียนรู้ในองค์กร วัดความรวดเร็วในการตัดสินใจ วัดขีดความสามารถในการรักษาลูกค้าเอาไว้ วัดผลการบริการลูกค้า วัดความสามารถในการทำความต้องการของลูกค้า และวัดคุณภาพสินค้าและบริการ

คุณภาพภายในองค์กรก็เป็นสิ่งสำคัญ ทำให้ต้องมีการวัดขีดความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลง วัดนวัตกรรมในการผลิต วัดประสิทธิภาพในการผลิต วัดประสิทธิภาพในการบริหารโครงการ วัดการบริหารจัดการสินค้า และผลผลิต ผลิตภัณฑ์ วัดขวัญและกำลังใจของพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลากรต่างๆ และที่จะขาดเสียไม่ได้ก็คือการวัดคุณภาพในการตัดสินใจ

จะเห็นว่าองค์กรต่างๆ ในปัจจุบันนั้นจะเน้นการวัดที่สามารถวัดได้ออกมาเป็นรูปธรรมและเน้นในเรื่องวิธีคิดวิธีตัดสินใจ เน้นการพัฒนานวัตกรรม การวิจัยพัฒนาและการออกแบบ ซึ่งก็คือเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ บุคลากรเป็นสำคัญหรือเป็นศูนย์ที่จะต้องทำให้เกิดนวัตกรรมต่างๆด้วยการวิจัยพัฒนาและการออกแบบ ซึ่งอาศัยการจัดการเป็นองค์กรการเรียนรู้และการจัดการความรู้

หมายเลขบันทึก: 169867เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2008 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท