ดำเนินการมาเกือบจะครบ 5 ปีแล้ว มสช. (มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว. เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการวิจัยสุขภาพของประเทศ การประชุมคณะกรรมการนโยบายวันนี้ (25 ก.พ.49) ทำให้ผมได้รับความรู้มากมาย
- การประชุมควรเริ่มต้นด้วยความสำเร็จ
เพื่อทำให้จิตใจสดชื่น ต้องมีวิธีการนำเสนอที่สั้น
กระชับ ชัดเจน
- การนำเสนอความคืบหน้าเรื่องใดก็ตาม
ต้องนำเสนอภาพรวมก่อนเสมอ
เพื่อป้องกันการถลำลงไปพิจารณาเฉพาะส่วนเสี้ยว
โดยไม่ได้มองภาพใหญ่
- การวิจัยสุขภาพเพื่อพัฒนาระบบ พัฒนานโยบาย
จะมีภาคีจำนวนมากมายในหลายภาคส่วนและหลายบทบาท
ต้องมียุทธศาสตร์ในการสร้างความเป็นเจ้าของร่วมและร่วมกันดำเนินการเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
- คุณหมอสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ
ให้ตัวเลขภาพรวมว่า สปสช.
มีเงินสำหรับดำเนินการด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปีละ 12,000
ล้าน สสส. ใส่เงินลงไป 180 ล้าน เพื่อไปดึง
สปสช. มาสนใจการสร้างเสริมสุขภาพ มี นพ. ศิริวัฒน์
ทิพย์ธราดล ผอ. สวรส. เป็นผู้อำนวยการแผนงาน
- สกว. ต้องการให้เกิดงานวิจัยสุขภาพที่เชื่อมโยงไปสู่เรื่องอื่น ๆ
ของสังคม ไม่ใช่มองที่สุขภาพของคน
- มสช. จะเสนอลักษณะงานที่พุ่งเป้า ที่ 3 เรื่องคือ
เด็กอ้วน, ผู้สูงอายุ,
และโรคหัวใจและหลอดเลือด
มีการดำเนินการที่กว้างขวาง ครอบคลุม
ในเรื่องเด็กอ้วนและผู้สูงอายุจะมีการดำเนินการในลักษณะ community -
based intervention โดยท้องถิ่นทำกันเอง มสช.
ช่วยเป็น catalyst ด้านวิชาการ
และเป็นผู้เชื่อมโยงเครือข่าย
-
มีการกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานที่ไม่ไปทำซ้ำรอยวิธีการที่มีผู้ล้มเหลวมาแล้ว
เช่นการแก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก
ไปแก้ที่ตัวเด็กและครอบครัวจะไม่ได้ผล
ต้องแก้ที่สิ่งแวดล้อม เช่น โรงเรียน สถานพยาบาล
ชุมชน ธุรกิจขนมเด็ก เป็นต้น
- ในเชิงการจัดการ ผมมองว่า มสช.
ต้องมีวิธีการจัดการ 3 โครงการนี้ให้เกิด synergy
ซึ่งกันและกัน ไม่จัดการแบบแยกส่วน
- เครื่องมืออย่างหนึ่งคือ KM ซึ่ง สคส. ร่วมมือได้
วิจารณ์ พานิช
25 ก.พ.49