เก็บดาวดวงเดียวกัน (ตอน 3 ตั้งโต๊ะเจรจาตัวชี้วัด KM)


KM ที่มาจากการท่องจำ มินานก็เสื่อมหาย.....

  [ตอน 2]  

     การสร้างเข้าใจเป็นพื้นฐานของการทำงานร่วมกัน ที่จะทำให้เกิดขึ้น  ซึ่งเช่นเดียวกับการดำเนินงานเรื่องการจัดการความรู้ (KM) ปีงบประมาณ 2551  หลังจากที่กำหนดกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว ก็มาทบทวนงาน
“องค์กรเกษตรกร  วิสาหกิจชุมชน  และเครือข่าย”  นั้นมีใครเป็นผู้รับผิดชอบและเป็นเจ้าภาพหลักบ้าง?

     เพื่อจะได้ไปปรึกษาหารือและชวนมาร่วมดำเนินงานด้วยกัน คำตอบที่ได้ก็คือ  1) สำนักพัฒนาเกษตรกร  รับผิดชอบองค์กรเกษตรกรและเครือข่าย  และ 2)  สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน  รับผิดชอบวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย

     การดำเนินการเพื่อให้เกิดความร่วม ได้ยึดหลักการ คือ 

       1)  มีทีมงานเรื่องการบริหารองค์ความรู้ (KM) ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปีงบประมาณ 2551  ที่จะเข้าไปช่วยดำเนินงานตามเป้าหมายของหน่วยงานดังกล่าวให้บรรลุผลได้ โดยใช้เครื่องมือ KM ในการพัฒนาองค์กรเกษตรกร  วิสาหกิจชุมชน  และเครือข่าย 

       2)  มีวิธีการสร้างความเข้าใจ ก็คือ
           ขั้นที่ 1  ทาบทาม  โดยสอบถามความสนใจกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นคณะทำงานเรื่องการบริหารองค์ความรู้ (KM) ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปีงบประมาณ 2551  ของหน่วยงานนั้น ๆ  เพื่อพูดคุยถึงหลักคิด ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น  การแบ่งเบาภาระงาน  จุดดีของการใช้ KM  และอื่น ๆ   ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ได้รับความสนใจและนำไปปรึกษาหารือเพื่อขยายความต่อไปกับผู้บริหาร
           ขั้นที่ 2  ทำความเข้าใจในรายละเอียด โดเชิญประชุมแบบไม่เป็นทางการ  เพื่อชี้แจงรายละเอียด  กรอบงานที่ปฏิบัติงาน  และการชี้วัดผลงาน กับหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักที่ต้องทำงานร่วมกัน  “องค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน  และเครือข่าย”  ของแต่ละหน่วยงาน  โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมินสถานการณ์และความเป็นไปได้/ ข้อข้องใจหรือกังวล  สำหรับใช้เป็นข้อมูลที่จะเสริมหนุนหรือช่วยเหลือระหว่างกัน  ผลที่เกิดขึ้นก็คือ  ความกังวลถึงภาระงานที่อาจจะไม่บรรลุผลได้  แต่ก็ได้มองเห็นวิธีการทำงานที่จะนำ KM มาช่วยพัฒนาองค์กรเกษตรกร  วิสาหกิจชุมชน  และเครือข่าย
           ขั้นที่ 3  ชี้ทางออกของการพัฒนางาน โดยเชิญประชุมแบบเป็นทางการ  เพื่อไขข้อข้องใจ/ กังวล เพื่อปรึกษาหารือ  อธิบายความ  และยกตัวอย่างการพัฒนางาน ที่เกิดขึ้นจากการใช้ KM  เป็นเครื่องมือให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ผลที่เกิดขึ้นก็คือ  ได้รับความสนใจ  อยากจะนำ KM เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนางาน  มีการให้ข้อมูลถึงกลุ่มเป้าหมายหลักที่รับผิดชอบ  โครงการและงบประมาณที่ต้องดูแล  ความพร้อมที่จะ
ร่วมกันทำ  และอื่น ๆ  โดยมีการกำหนดประชุมเพื่อจัดทำแนวทางการดำเนินงานร่วมกันที่มาจากผู้รับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ ในครั้งต่อไป

     ดังนั้น  ถ้าจะมอง "การจัดการความรู้ (KM)”  ให้ทะลุแล้วนั้นจะเห็นได้ว่า...มาจากความเป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้น  การตีความจากการสื่อสาร  ช่วยกันอธิบายความ  ยกตัวอย่างของจริงเพื่อใช้ไขข้อข้องใจ/กังวล  และการแบ่งเบาภาระงาน  เพราะการจัดการความรู้ (KM)  เป็นนามธรรมที่เข้าใจยาก!  ถ้าหากมาจากการ “ท่องจำ” แต่การจัดการความรู้ (KM) จะเข้าใจง่าย  ถ้ามาจากการสื่อสารของประสบการณ์ตรงที่ปฏิบัติจริง  ซึ่งความต่างของ กรอบประสบการณ์  กรอบความคิด  และกรอบความรู้  ของแต่ละคนสามารถนำมาเชื่อมโยงสู่กันได้และไม่ทำให้เป็นภาระงานหรือภาระคน  จากการใช้เทคนิคและวิธีการของ KM.

 

หมายเลขบันทึก: 169527เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2008 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท