สมองเรียนรู้อย่างไร (๖)


เริ่มเรียน "คณิตศาสตร์พื้นฐาน...จำนวน" ที่ /ใน /บน ตัวเด็กก่อน

BBL กับคณิตศาสตร์

       การเริ่มต้นเรียน "คณิต" บนกระดานดำ/กระดาษ ด้วย ตัวเลขสัญลักษณ์  ส่วนของสมองที่ถูกกระตุ้นให้ทำการเรียนรู้ คือ

        ๑. ระบบการมองเห็น.....ตัวเลขสัญลักษณ์....Visual system

        ๒. ระบบการฟังเสียง.............................. Auditory system

        ๓. ระบบควบคุมอารมณ์..............Limbic system  อาจจะ "ปิด" หรือ "เปิด"

                    Limbic system  "เปิด".........สำหรับนักเรียนที่เข้าใจ  พอใจ
                    Limbic system  "ปิด"..........สำหรับนักเรียนที่ไม่เข้าใจ  ไม่รู้เรื่อง

            การเรียนคณิตวิธีนี้บังคับให้สมองต้อง "จำตัวเลข สัญลักษณ์" อย่างเดียว  เพราะไม่รู้ว่า ตัวเลขสัญลักษณ์นั้น คืออะไร  เกิดขึ้นได้อย่างไร  มาจากไหน   เรียนด้วยความจำมากกว่าความเข้าใจ

           เด็กที่ปรับตัวไม่ได้  ตามไม่ทัน  อาจเบื่อคณิตศาสตร์ไปนาน...หรือไปตลอดชีวิต

ตามหลัก BBL      เริ่มต้นเรียนคณิตจากของจริง  → ตัวเลขสัญลักษณ์

           
เริ่มด้วย "จำนวนที่ตัวเด็กก่อน"  จะง่ายกว่าเริ่มด้วย "จำนวนนอกตัวเด็ก"

                        เมื่อเรียนด้วยวิธีนี้  ส่วนของสมองที่ถูกกระตุ้นให้ทำงาน คือ

            ๑. ระบบการมองเห็นภาพ...........ของจริงที่เป็นจำนวน (คน สัตว์ สิ่งของ)
            ๒. ระบบการฟังเสียง................. ที่มาพร้อมกับการเห็นภาพ
            ๓. ระบบประสาทผิวหนังสัมผัส/บีบกด  ที่เกิดขึ้นที่ มือ แขน ขา และส่วนต่างๆของรูปภาพ พร้อมๆ กับการเห็นภาพ และการได้ยิน
            ๔. ระบบความจำการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ที่ ปาก แขน ศีรษะ แขน ขา ลำตัว....ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการเห็นภาพและการได้ยิน
            ๕. ระบบควบคุมอารมณ์...Limbic system  เปิดทำงานเต็มที่

          • เริ่มเรียน "คณิตศาสตร์พื้นฐาน...จำนวน" ที่ /ใน /บน ตัวเด็กก่อน  ดีกว่า  การเริ่มจำนวนที่นอกตัวเด็ก (นอกตัวคือ สิ่งของ  สิ่งแวดล้อม)

          • เรียนพร้อมกันทั้งชั้น ด้วยความสนุก เป็นสุข...Limbic system  เปิดแน่นอน
             จึงเป็นการเรียนแบบเข้าใจมากกว่าความจำ

          • เรียนด้วยสมองทั้งหมด "whole blain learning"

          • เรียนด้วยการกระตุ้นสมองพร้อมๆ กัน ทั้ง  ๕  ระบบ "Multi-charnnel stimulus inputs"

            ที่ตัวเด็กทุกคนมีเรื่อง "คณิต/จำนวน" อยู่มากพอเพียงสำหรับการเริ่มต้นสร้าง "ฐานรากทางคณิตศาสตร์" คือ  จำนวน ๑-๑๐

           เมื่อเด็กมีความเข้าใจดี คล่องแคล่ว แม่นยำในการคิดแล้วจึงขยายฐานออกเป็น  ๑-๒๐, ๑-๓๐, ๑-๕๐, ๑-๑๐๐   อย่าก้าวเร็วเกินไป

                • เด็กแต่ละคน  ตัวเด็กทั้งตัว  มีค่าทางคณิตเป็นจำนวนเท่ากับ  "๑" หน่วย เท่ากันหมด  ไม่ว่าเด็กจะสูง /เตี้ย /อ้วน /ผอม  ก็มีค่าเท่ากับ  "๑" หน่วย

                • นิ้วแต่ละนิ้ว ไม่ว่าจะเล็ก /ใหญ่ / ยาว / สั้น  ก็มีค่าเท่ากับ "๑" หน่วย

                • ส่วนอื่นๆของร่างกายก็มีค่าเป็นจำนวนของการคิดเช่นเดียวกับ แขน ขา ตา ใบหู

                • เด็กทั้งชั้นจะมีกี่คนก็ตาม  ก็เป็นองค์ความรู้ทาง "คณิตพื้นฐาน" เรื่องจำนวน

         ในระยะเริ่มต้นให้เรียนคณิตด้วย "ปาก" ก่อนการเขียน "สัญลักษณ์ตัวเลข" และเครื่องหมายทางคณิต (+ - )

        เช่น    ◊ให้เด็กนับตัวเองแต่ละคน ๑ คน ๒ คน ๓ คน ๔ คน....จนถึง ๑๐ คน  นับสลับกันไปมา (จากคนที่ ๑ ไปถึงคนที่ ๑๐  และเปลี่ยนให้คนที่นับ ๑๐ เริ่มนับเป็นคนที่ ๑ )

                 ◊ ให้เด็กนับนิ้วมือโดยการจับและบีบไปทีละนิ้วพร้อมกับเปล่งเสียง ๑ → ๑๐ และนับสลับกันไปมา  จากนั้นให้นับนิ้วมือของเพื่อนๆ ในลักษณะเดียวกัน

     

 

หมายเลขบันทึก: 169426เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2008 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณครูนาย

เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และเป็นรูปธรรม เด็กเข้าใจได้ง่าย....ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูดาว

ใช่ค่ะ ไม่ยากเลยนะ ให้เด็กๆ รู้สึกว่าเรียนง่ายๆ เขาจะได้มีกำลังใจเรียนมากขึ้น

มาอ่านเอาความรู้ค่ะ จะได้ปรับใช้กับเด็กๆ ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะคุณอุไรรัตน์....ใช้กับเด็กๆ ได้ดีค่ะ กำลังเป็นวัยช่างฝันอยู่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท