ห้อง SI หรือ ห้อง OT ?


สี่วันที่ผ่านมา...ผมได้มีโอกาส "บริการวิชาการ" นอกคณะฯ และได้เรียนรู้หลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมบำบัดเพื่อพัฒนาชีวิต

วันแรก...อาจารย์กิจกรรมบำบัด มช เชิญเข้าร่วมประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมจัดงานประชุมกิจกรรมบำบัดภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ปี 2011 โดยประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ ต่อจากฮ่องกง ซึ่งจัดงานเมื่อปี 2007 ที่ผ่านมา

ผมได้เรียนรู้ว่า

  • ในทีมคณะกรรมการผู้มีประสบการณ์และมีความตั้งใจพัฒนาวิชาชีพ การระดมความคิดค่อนข้างมีความสุขและมีแนวคิดสร้างสรรค์ เช่น พยายามวางแผนจัดตั้งฝ่ายต่างๆ โดยคิดหานักกิจกรรมบำบัดที่มีความมุ่งมั่นมาเตรียมงาน และสร้างโครงการหารายได้เป็นกองทุนเตรียมงานใหญ่ระดับนานาชาติ แต่การประชุมครั้งนี้ผมและคณะกรรมการทุกท่านต้องเสียสละทรัพย์เป็นค่าเดินทางไปประชุมที่ ชม. ครับ ให้ระลึกว่า วิชาชีพใหม่ หาคนทำงานยาก และต้องเสียสละตนเพื่อส่วนรวม

วันที่สอง...ไปพูดคุยกับอาจารย์ของสถาบันเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวแห่งชาติ ม. มหิดล ทำให้ได้เรียนรู้แนวทางการเขียนโครงร่างวิจัยแบบสหวิชาชีพ และเตรียมหาทุนอย่างมีประสบการณ์เพื่อพัฒนางานวิจัยในระยะยาว (จากหนึ่งงานวิจัยและทำต่อเนื่องทุกปี โดยมีศูนย์วิจัยและทีมงาน) จริงๆ แล้วผมสนุกกับทีมงานนี้เพราะอาจารย์ของสถาบันฯ Active มากๆ และช่วยประชาสัมพันธ์บทบาทด้าน Health Promotion ของวิชาชีพกิจกรรมบำบัดด้วย เช่น การศึกษาผลกระทบของสื่อโทรทัศน์ในเด็กไทย

วันที่สาม...ไปสอน นศ. กายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 3 คณะสหเวชฯ มธ. จำนวน 37 คน ได้พบลูกศิษย์ที่ตอนนี้กลายเป็นอาจารย์หนุ่มสาวที่มุ่งมั่นพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ในบรรยากาศที่น่าทำงานด้วย เพราะไม่มีอายุขวางกั้นความคิดและสัมพันธภาพของเพื่อนร่วมงาน

ผมได้เรียนรู้ว่า

  • การเตรียมสอนเรื่องที่นศ. กายภาพบำบัด สนใจและสร้างกลวิธีสอนที่เน้น Interactive teaching and learning process ทำให้เนื้อหาที่ดูยากกลายมาเป็นการสาธิตและนำเสนอรูปธรรมที่จับต้องและเห็นคุณภาพ มากกว่าตอนที่ตนเองเรียนเนื้อหานี้ในสมัยก่อนครับ เป็นไปได้ว่าประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ของตนเองทำให้เตรียมสอนได้เข้าใจและเตรียมประเมินผลการทำกิจกรรมปฏิบัติการได้ชัดเจน นศ. เข้าใจว่า Sensory Integration (SI) เป็นระบบปกติของร่างกายและมีการทำงานในเด็กทั้วไปแตกต่างจากเด็กพิเศษได้อย่างไร เมื่อนำแนวคิดมาสร้างโปรแกรมด้วยเป้าหมายต่างกัน ปรากฏว่านศ. สี่ในหกกลุ่มสามารถสาธิตโปรแกรม SI มาประยุกต์ในการเคลื่อนไหวในชีวิตได้ดี ตัวอย่างเช่น การฝึกซื้อของด้วย SI การฝึกเคลื่อนไหวอย่างมีเป้าหมายด้วย SI การฝึกเกมส์ใส่เสื้อผ้าด้วย SI และการฝึกจับคู่สิ่งของด้วย SI เป็นต้น

วันที่สี่...ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่อง การพัฒนากิจกรรมบำบัดในโรงเรียน แก่ครูและผู้ปกครอง เกือบ 60 ท่าน ณ ห้องเล่นลูกรัก รร.รุ่งอรุณ

ผมได้เรียนรู้ว่า

  • การมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูและผู้ปกครอง ทำให้ทราบว่า คนอื่นที่ไม่ได้เรียนกิจกรรมบำบัดมองภาพห้องกิจกรรมบำบัดกลายเป็นห้อง SI และนำหลักการ SI ไปใช้อย่างไม่เหมาะสม
  • การนำเสนอ Ecological Model เน้นการพัฒนา internal factor คือ การพัฒนาความรู้ ความเชื่อ และคุณค่าของตนเอง ก่อนที่จะสร้างสัมพันธภาพหรือทำกิจกรรมกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ภายนอก หรือ external factor ได้แก่ เด็กและครอบครัว โรงเรียน และสังคม
  • ผมได้เน้นถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเอง ให้เข้าใจว่าแนวคิดกิจกรรมบำบัดช่วยเพิ่มศักยภาพของคนตลอดช่วงชีวิต ในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า ไม่ได้มองแค่ปัญหาที่อาจประกอบขึ้นได้หลายอย่างและซับซ้อนจนไม่สามารถจัดการได้
  • การฝึกคิดและสร้าง KM ในกลุ่มผู้เข้าประชุม หลังจากฟังการบรรยายที่มีการถามตอบอย่างน่าสนใจ ทำให้เกิดประเด็นต่างๆ ที่นำมาเป็นข้อปฏิบัติและสื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัดที่ชัดเจน มีเพียงสามข้อจากสามสิบข้อ ที่ยังคงคิดว่าน่าจะใช้ SI ในกรณีตัวอย่าง แต่ผมได้อธิบายเพิ่มเติมต่อว่าสามข้อนี้เราไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้ เช่น แกว่งชิงช้าก่อนเข้าเรียน หรือ นวดสัมผัสก่อนเขียนหนังสือ หรือ นำเด็กสมาธิสั้นมานั่งหน้าชั้น ด้วยเหตุผลดังนี้ เราคงต้องประเมินว่าเด็กมีปัญหาการรับความรู้สึกอย่างไร แบบประสมประสาน (SI) ในระบบความรู้สึกสองด้านขึ้นไปที่สัมพันธ์กัน หรือ แบบต้องกระตุ้นระบบความรู้สึก (sensory stimulation) หรือแบบแยกดูกระบวนการการรับความรู้สึก (sensory processing) หรือ การปรับสมดุลของระบบการรับความรู้สึก (sensory modulation) หรือ การตอบสนองจากระบบการรับความรู้สึก (sensorimotor performance or action)
  • เสียดายที่เวลาจัดอบรมเพียง 3 ชั่วโมง แต่ผมประทับใจกับ "พลังความรักของคุณพ่อคุณแม่" ที่สร้างบรรยากาศที่ทำให้ผมอยากช่วยสร้างระบบการใช้กิจกรรมบำบัดในการพัฒนาศักยภาพของเด็กลูกน้อยๆ ของพวกเขาเหล่านี้ครับ
  • คราวนี้ผมคิดว่า ผมได้กำลังพลที่ยอดเยี่ยม ในการประชาสัมพันธ์ต่อทุกๆคนว่า บทบาทนักกิจกรรมบำบัดมีอีกสื่อการรักษาอีกหลายด้านที่ช่วยเด็กพิเศษ โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพและทักษะชีวิต ไม่ใช่เพียงการใช้สื่อด้าน SI ที่หลายศูนย์พัฒนาการกำลังทำอยู่ เราสามารถนำความรู้ทาง SI เบื้องต้นมาปรับใช้ได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ในระดับขั้นสูง คงต้องส่งต่อผู้ที่รับการอบรมและฝึก SI มาโดยเฉพาะครับ
  • รร. รุ่งอรุณ จัด "การเล่นอิสระ" มีการขุดดิน ปั้นดิน เล่นน้ำบนโคลน เดินย่ำดิน เดินบนไม้ไผ่ และท่องธรรมชาติ ปีนป่ายต้นไม้ และวิ่งเล่นกับครูเหมือนเพื่อนรักตามกฎกติกา ส่งผลให้พัฒนาการการเรียนรู้ อารมณ์ และสังคม มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน นี่คือตัวอย่างของ SI ที่มีใน รร. ด้วยความรักและความคิดที่สร้างสรรค์ของคุณครู รร. รุ่งอรุณ ครับ จริงๆ แล้วนักกิจกรรมบำบัดควรให้คำปรึกษาเรื่องการประยุกต์ SI สู่ทักษะการดำเนินชีวิตในโรงเรียนแก่คุณครูครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 168179เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2008 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • มาทักทายน้อง
  • เคยไปที่โรงเรียนรุ่งอรุณกับพ่อครูบาและ ดร วรภัทร์
  • พบว่าที่โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีมาก
  • เด็กที่สมาธิสั้นก็เอามาฝึก
  • เอามาเรียนมวยไทย ฟันดาบ
  • น่าสนใจมาก
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับพี่ขจิต

 

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • มาแวะอ่านค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะค่ะ
  • เรื่องที่ติดต่อไว้กำลังเลือกเรื่องค่ะ
  • แล้วจะติดต่อกลับค่ะ

ขอบคุณครับคุณหมอเจ๊

มาเป็นกำลังใจด้วยค่ะ

และจะบอกว่า...มิใช่แต่ "พลังความรักของคุณพ่อคุณแม่" ที่สร้างบรรยากาศที่ทำให้มีการพัฒนาศักยภาพของเด็กน้อยๆ ของพวกเรา

พลังรักของคุณย่าอย่างดิฉันก็มีส่วนมากๆค่ะ

เพราะหลานตัวน้อยของดิฉันมีความสุขและมีพัฒนาการอย่างดีสมอายุ เป็นที่พอใจ  เมื่อมีย่าเป็นเพื่อนเล่นวิ่งไล่จับ เล่นจ๊ะเอ๋ เล่านิทานกันตลอดค่ะ

เด็กที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีพัฒนาการดีค่ะ และเราก็ต้องตั้งใจพัฒนาเขาด้วย เพราะโรงเรียนอนุบาลที่อยากให้เข้า ถ้าเด็กช่วยตัวเองไม่ได้ในระดับหนึ่ง เขาก็ไม่ให้เข้า

สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือ เกิดโรงเรียนเตรียมอนุบาลขึ้นหลายแห่งค่ะ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นจากคุณ Sansinanda ครับ

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพัฒนาการของเด็กโดยตรงครับ โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของความเข้าใจและความมั่นใจจากสถาบันครอบครัวและโรงเรียน

คุณย่า Sansinanda และหลาน เป็นตัวอย่างแห่งความสุขในการพัฒนาความสามารถในการดำเนินชีวิตครับ

เป็นกำลังใจให้ด้วยคนค่ะ และเห็นถึงพลังจากจิตวิญญาณของอาจารย์ด้วยนะคะ ในมุมมองของตนเอง คิดว่าเป็นวิธีบำบัดด้วยวิถีธรรมชาติแบบตะวันออก หรือพลังธรรมชาติจริง ๆ ที่ไม่ได้มีการปรุงแต่งซึ่งเติมเต็มให้กับเด็ก ๆ ต่อพัฒนาการในการเติบโตทั้งสมองและร่างกาย รวมทั้งจิตใจด้วยค่ะ ผู้บุกเบิกส่วนใหญ่ต้องเจอกับความยากลำบากมาทั้งนั้นค่ะ แต่เมื่อไหร่มีผลผลิตที่ตามเรามา ออกดอก ออกผล มีการสานต่อในสิ่งดีดี ก็จะเป็นพลังขับเคลื่อนเป็นอย่างดีนะคะ

ขอบคุณคุณบัวชมพูสำหรับความคิดเห็นที่ดีมากๆครับ

สนใจอยากเชิญอาจารย์มาบรรยายให้คุณครูที่โคราชได้เข้าใจเรื่อง SI และห้อง OT ไม่ทราบว่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ไหมคะ

ยินดีครับ ลองกำหนดช่วงวันเวลาเดือน ส.ค. มานะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท