"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมากกว่า
30 ปี และหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เน้นย้ำถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับพฤติกรรมในทุกระดับ
ไม่ใช่เพียงแต่ในระดับจุลภาค
แต่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในระดับมหภาคโดยตรง
เพราะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นวิกฤตของระบบเศรษฐกิจ
ซึ่งมีที่มาจากพฤติกรรมที่ไม่ "พอเพียง"
ทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาค
และมีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนในทุกระดับ
รวมทั้งในระดับของรัฐด้วย
จากพระราชดำรัสในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ได้มีการประมวลและกลั่นกรองออกมาเป็นบทสรุปของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นทางการคือ
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
Reference:www.socialwarning.net/data/views.
จากพระราชดำรัสในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ได้มีการประมวลและกลั่นกรองออกมาเป็นบทสรุปของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นทางการคือ
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
Reference:www.socialwarning.net/data/views.
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นางสาว ฝนทิพย์ พัฒนการค้า ใน ปรัชญา"เศรษฐกิจพอเพียง" พาประเทศ "พ้นความเสี่ยง"
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก