คุณลิขิต : ผู้ลิขิตนวัตกรรมให้ปรากฏ


ไม่มีคุณลิขิต นวัตกรรมก็กลายเป็นเรื่องลม ๆ แล้ง ๆ

คุณลิขิต (Note Taker)

 

คุณลิขิต คือผู้ทำหน้าที่จดบันทึก ในกิจกรรมจัดการความรู้ โดยทำหน้าที่เป็นการเฉพาะกิจ ในตลาดนัดความรู้ ใน workshop การจัดการความรู้ หรือในมหกรรมจัดการความรู้ หรืออาจทำหน้าที่เป็นระยะยาวหรือกึ่งถาวร

แนวคิดเรื่องการบันทึก

pเพื่อให้จับประเด็น

pเห็นปัญหา

pพาไปสู่วิธีแก้

pเห็นเนื้อแท้ของผลลัพธ์

pลำดับของแหล่งอ้างอิง

สิ่งที่ คุณลิขิต จดบันทึก  ได้แก่

1.      เรื่องเล่าจากกิจกรรม เรื่องเล่าเร้าพลัง (story telling)

2.      ขุมความรู้ เพื่อการบรรลุเป้าหมายงานแต่ละชิ้นจากเรื่องเล่า

3.      แก่นความรู้ (Core Competence) เพื่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์ของงานแต่ละชิ้น

4.      บันทึกการประชุมตามที่ตกลงกัน

5.      บันทึกอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการจัดการความรู้

6.      มีความต่อเนื่อง

หน้าที่ของคุณลิขิต

pสรุปประเด็นให้สมาชิกทุกคนเห็นโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนคำพูด (ใช้ Flip chart)

pตรวจสอบสิ่งที่จดบันทึกเป็นระยะ          

pช่วยผู้นำกลุ่ม  เพื่อทำให้เกิดความต่อเนื่องของข้อมูล

pจัดทำสรุปสิ่งที่บันทึกได้

pนำเสนอให้กลุ่มพิจารณา

ทักษะที่จำเป็นสำหรับ คุณลิขิต มีดังต่อไปนี้

1. การจับใจความและบันทึกเป็นเรื่องเล่า

2. การสกัดประเด็นเป็นขุมความรู้ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีเวลาจำกัด การทำ
    หน้าที่คุณลิขิตต้องทำ 3 อย่างไป  พร้อมๆ กัน คือ ฟัง คิด เขียน จึงต้องฝึกให้
    จับความได้เร็ว และจดประเด็นย่อยไว้ แล้วค่อยเติมถ้อยคำให้
    สละสลวยภายหลัง        

3. ความรู้ความเข้าใจสาระของเรื่องที่จดบันทึก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีเวลา
    จำกัด การช่วยให้คุณลิขิตทำหน้าที่ดีขึ้นนั้น คุณลิขิตต้องศึกษาสาระเรื่องราว
    มาล่วงหน้า

4. ทักษะด้านภาษา

5. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และการใช้ซอฟท์แวร์พิเศษบางอย่างในการช่วยจับ
     ความรู้เป็นหมวดหมู่อย่างวดเร็ว

6. ทักษะการเข้าไปติดตาม  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง  คุณกิจ 

โครงสร้างของการจดบันทึก

1.  การเตรียมตัวก่อนการบันทึก :

pศึกษาข้อมูล เรื่องราว ของการประชุม/กิจกรรม ที่จะเป็นผู้บันทึก การเตรียมความพร้อมทาง

pร่างกาย จิตใจและสมาธิ (เช่นนอนให้เพียงพอ ทำใจให้เบิกบาน เตรียมเปิดใจ)

pเห็นคุณค่าของกิจกรรมที่ตนจะบันทึก

2. ระหว่างบันทึก : deep listening , เน้นคุณภาพ, ความครบถ้วน บันทึกทุก
     ความคิดแม้ผู้บันทึกจะไม่เห็นด้วย
, เสร็จในเวลา

3. หลังการบันทึก :

pอาจมีการทวนสอบ กลั่นกรอง (K. refinement)

pนำบันทึกไปจัดเก็บตามหมวดหมู่ (K. Organization)

pเผยแพร่ ออกใช้ประโยชน์ (K. Access and Utilization)

pยกระดับบันทึกให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น (K. Development)

เคล็ดลับสำหรับคุณลิขิต

pซักถามเพื่อทำความกระจ่าง  เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลถูกต้อง

pบันทึกเฉพาะคำหรือวลีที่เป็นคำสำคัญไม่ต้องเขียนทุกคำพูด

pใช้คำพูดที่ผู้กล่าว  ไม่ใช่การแปลความ

 

 

หมายเลขบันทึก: 167438เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2008 02:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท