GotoKnow

ควอนตัม

ดร. หัสชัย สิทธิรักษ์
เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2551 22:22 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 22:51 น. ()
ในวัตถุขนาดเล็กระดับอะตอมการแสดงตัวของพลังงานเป็นกลุ่มก้อนเต็มหน่วยไม่ใช้่แบบต่อเนื่อง

ในโลกของอะตอมและองค์ประกอบของอะตอม  ทุกอย่างปรากฏแสดงพลังงานเป็นกลุ่มก้อน  คำว่าคอวนตัมมาจากภาษาลาตินว่ามาเป็นกลุ่มเป็นชุด  ภายในอะตอมทุกอย่าง มวล ประจุ พลังงาน โมเมนตัมและอื่นๆ ปรากฏออกมาเป็นกลุ่มก้อน  ไม่มีอะไรที่สม่ำเสมอต่อเนื่อง  และเมคานิก หรือกลศาสตร์(mechanics) เป็นคำเก่าของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนที่  ดังนั้นกลศาสตร์ควอนตัม  จึงเป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ใช้เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ ในระดับอนุภาคภายในอะตอม หรือกึ่งอะตอม

ปัญหาที่หนักที่สุดที่คนทั่วไปเกี่ยวข้องกับกลศาสตร์ควอนตัมมาจากจิตใต้สำนึกของเรา  เป็นเหมือนข้อตกลงเบื้องต้นว่าสิ่งต่างๆจะประพฤติในทำนองเดียวกันกับในโลกของควอนตัม เหมือนกับพฤติกรรมที่อยู่ในโลกปกติสามัญที่เรามีประสบการณ์  โดยลางสังหรณ์ของเราเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ควรจะมีพฤติกรรมแบบใด ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเรา กับการเคลื่อนที่ของวัตถุขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วปกติ  ไม่มีเหตุผลใดที่จะคาดหวังว่าเมื่อเรามองไปที่วัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆ หรือวัตถุที่มีอัตราเร็วสูงมาก ควรจะมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับวัตถุที่เราคุ้นเคย  ซึ่งจากการศึกษาพบว่าไม่สามารถที่จะนำความรู้ตามฟิสิกส์แบบฉบับเดิมไปใช้อธิบายวัตถุที่เล็กในระดับอะตอมและโมเลกุลได้เลย จำเป็นต้องมีทฤษฎีใหม่มาอธิบาย

คำสำคัญ (Tags): #จิตใต้สำนึก #ประจุ 

ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย