อาจารย์ยม
อาจารย์ อาจารย์ยม บทบาทนักวิชาการ คือการชี้ทางสว่างให้สังคม นาคสุข

แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21


แนวทางหรือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวคนไทยอีกต่อไป โดยเฉพาะ นักศึกษา ป.โท MPA ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้เรียนวิชา "การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" นำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ ในเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 ได้เรียนกับ Doctoral Cadidate อาจารย์ยม นาคสุข

 

ยม

สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่าน ศ.ดร.จีระ และนักศึกษา ทุกคน

ผมเปิด Blog นี้ ขึ้นมา เพื่อสรุปบทเรียน เนื้อหาสาระโดยย่อ ที่ได้มีการเรียนการสอน การแสดงความคิดเห็นในส่วนที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปสอน นักศึกษา ป.โท หลักสูตร MPA ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อวันเสาร์ที่ 23 และวันอาทิตย์ที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา  ขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่ได้ให้เกียรติและความไว้วางใจ ให้เข้าไปช่วยสอน ในครั้งนี้  ทั้งยังได้รับการเชิญชวน ให้นำพานักศึกษาไปทัศนศึกษาที่เกาะล้าน พัทยา ชลบุรี ด้วย

 

MPA สวนสุนันทา

ในภาพ นักศึกษา MPA มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ไปทัศนศึกษาที่ พัทยา จ.ชลบุรี โดยการนำของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคณะ เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2551

ใน Blog นี้ ผมจะสรุปสาระ ประเด็นโดยย่อ เพื่อไว้ให้นักศึกษา ได้ทบทวน และเตือนตน ว่า เราได้พูดคุยกันถึงเรื่อง แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

ยม

อาจารย์ยม (Doctoral Candidate สายรัฐประศาสนศาสตร์) โดยการนำของ ศ.ดร.จีระ ในภาพ อาจารย์ยม กำลังสอนนักศึกษา MPA มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในวิชา การบริหาร-การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เรื่อง "แนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และ การวางแผนกยุทธ์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(ทุนมนุษย์)

 

 

 

การส่งการบ้านของนักศึกษา ให้ส่งใน blog ของ ศ.ดร.จีระ เท่านั้น สำหรับ blog นี้ ผมได้บอกวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจนแล้ว  แต่หากนักศึกษาหรือผู้สนใจ จะร่วมแชร์ไอเดีย แสดงความเห็น ก็ยินดี มิได้ขัดข้องใด ๆ เพราะวัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งที่เปิด blog นี้ก็คือ เพื่อร่วมเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และ เป็นการแบ่งบันความรู้สู่สังคมไทย ของเรา เนื้อหาสาะเป็นอย่างไร ขอเชิญท่านผู้สนใจ ติดตามได้ในตอนท้ายของ blog นี้

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน

สวัสดี

อาจารย์ยม ศ.ดร.จีระ และ MPAสวนสุนันทา

ศ.ดร.จีระ (กลาง) อ.ยม(ซ้ายมือ) และคณะ นำพานักศึกษา หลักสูตร ป.โท MPA มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ไปทัศนศึกษา เกาะล้าน พัทยา จ.ชลบุรี



ความเห็น (26)

เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ขณะนี้ โลกเปลี่ยนผ่านจากศตวรรษที่ 20 สู่ศตวรรษที่ 21 เป็นการเปลี่ยนผ่านจากยุคเกษตรกรรม ผ่านมายังยุคอุตสาหกรรม และเมื่อ ค.ศ. 2000 เราเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคโลกาภิวัตน์  ยุคแห่งโลกไร้พรมแดน ยุคของโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง และยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ยุคของการแสวงหาและพัฒนาทุนมนุษย์ ยุคของคนมีปัญญาดี  นำพาองค์การ ประเทศชาติ หรือสังคมโลกให้รอดพ้นจากความเดือดร้อน อันมีผลกระทบมาจาก การเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้เกิดเทรนด์ใหม่ของโลก มากมาย เป็นผลทำให้องค์การทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สังคมทุกระดับ ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาทิศทางใหม่ ในการดำเนินชีวิต ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ทั่วโลก ต่างมุ่งแสวงหาทิศทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคใหม่ ในศตวรรษที่ 21

นักศึกษาลองคิดสิว่า สมมติว่านักศึกษาได้รับการร้องขอจากหน่วยงานภาครัฐ ในฐานะที่นักศึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้รอบรู้ เป็นมหาบัณฑิต ถูกร้องขอให้ ให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทุนมนุษย์ของชาติ  โดยภาครัฐ ต้องให้นักศึกษาให้คำแนะนำว่า กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควรมีบทบาทอย่างไร ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  และให้ท่านทำการค้นหาแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ยุคใหม่ ให้กับประเทศ  ให้ท่านทำการกำหนดนโยบาย หรือกลยุทธ์ในการพัฒนาทุนมนุษย์ของชาติ เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของประเทศไทย  ที่เขียนไว้ว่า ประเทศไทย "มุ่งพัฒนาสู่ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรม นำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชน เข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี" นักศึกษาจะมีวิธีการเสนอแนะต่อภาครัฐอย่างไร  จงอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม

ถ้านักศึกษา ไม่มีความรู้ ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ ไม่เอาใจใส่ ในองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คงจะตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ 

การที่จะให้คำแนะนำตามข้อความข้างต้นได้  นักศึกษา จะต้องทบทวนองค์ความรู้ที่ได้เรียนกับ คณาจารย์ทุกท่าน หมั่นทบทวน ฝึกคิด ฝึกเขียน  คิดต่อยอด (คิดสร้างสรรค์) 

นักศึกษาจะต้องพยายามเพิ่มพูน "ทุนทางปัญญา" ด้วยการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ ทีว่าด้วย ปัญญา 3 ดังนี้

 

  1. สุตะมะยะปัญญา*ปัญญาเกิดจากการได้ยิน  ได้ฟัง ได้อ่าน Listen, แหล่งเรียนรู้ เช่น ตำรา คำสอน (แหล่งและสื่อข้อมูล)Data, Media, Information
  2. จินตะมะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากความหมั่นตรึกตรอง ความนึกคิด ความคิดทั้ง หมั่นทบทวน ๆ
  3. ภาวนามะยะปัญญา *ปัญญาเกิดจากการพัฒนาจากการทำให้เกิด ทำให้มีโดยวิธีการวิจัยและพัฒนาทั้งวิจัยและพัฒนาทางร่างกายภายนอกตัวตน  และภายในจิตใจของตน การฝึกจิต ฝึกสมาธิ และการสั่งจิตใต้สำนึกประกอบกับการหมั่นทบทวน หลักธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า

สำหรับ Blog นี้ ผมเขียนเพียงเท่านี้ก่อน  ขอให้ศิษย์รักทุกคน จงโชคดี ขอบคุณท่านผู้สนใจทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่าน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ศ.ดร.จีระ และศิษย์รักทุกคน

ผมได้อ่านสิ่งที่ นักศึกษาไปดูงานที่ เกาะล้าน ที่พัทยา จ.ชลบุรี  ประทับใจกับนักศึกษาท่านหนึ่ง จับประเด็นและเขียนได้ดี ดังปรากฎอยู่ตอนท้ายนี้  ขอชื่นชม และขอให้รักษาความดีไว้ และให้เป็นตัวอย่างแก่นักศึกษาท่านอื่น ๆ ครับ

--------------------------------------------------------------

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031
เมื่อ ส. 23 ก.พ. 2551 @ 22:12*

นางสาวจุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่านและผู้อ่านทุกท่าน

เมื่อวันพุธที่ 21 ก.พ.2551 ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้านจังหวัดชลบุรี

สิ่งที่ประทับใจจากการได้ไปเดินทางในครั้งนี้

1.จากการที่ได้เดินทางไปที่เมืองพัทยาและเกาะล้านรู้สึกว่าดีใจที่ได้มีโอกาสมาเยือนเมืองพัทยาและเกาะล้านซึ่งถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อีกแห่งในประเทศไทยที่มีทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยนิยมมาท่องเที่ยวกันมากได้มีโอกาสได้สัมผัสท้องทะเลที่สวยงามและวิวทัศน์ทัศนียภาพต่างๆที่เป็นธรรมชาติสวยงามมากและได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์และเย็นสบายไม่หมือนอยู่ในกรุงเทพมหานคร ลมเย็นได้พักสมองเหมาะกับเป็นการพักผ่อนไปในตัวได้มีเวลาคิดทบทวนสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับตนเองรู้สึกสบายกายและทำให้มีจิตใจที่สงบ

2.ได้ศึกษาและเห็นวิถีชีวิตของคนเมืองพัทยาและเกาะล้านได้เปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นจากเดิม

3.บรรยากาศที่ไดสัมผัสรู้ว่าสนุก มีความสามัคคีปรองดองกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นห่วงเป็นใยกัน

4.ได้พบปะและพูดคุยกับเพื่อนหลายๆคนทำให้รู้จักกันมากขึ้นและได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ทัศนคติต่างๆ ถามไถ่ความรู้สึกซึ่งกันและกัน

5.ในการเตรียมงานที่คณาจารย์ทุกท่านทีมงานทุกท่าน คอยจัดการดูพวกเราทุกคนเป็นอย่างดีไม่ขาดตกบกพร่องพูดคุยกันสนุกสนาน บรรยากาศก็เป็นกันเองเป็นเหมือนพี่เหมือนน้องกัน

6.คนขับเรือในขณะที่ลงเรือพวกเราต้องเผชิญกับคลื่นลมทะเลต่างๆ ที่สามารถพาพวกเราไปรับไปส่งที่เกาะล้านได้อย่างปลอดภัยสอนให้เรารู้จักมีความอดทนอดกลั้นในการดำเนินชีวิต

7.เจ้าของร้านอาหารที่คอยดูแลพวกเราต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดี อาหารก็อร่อยน่ารับประทานมาก

8.ได้รับประสบการณ์ต่างๆที่ข้าพเจ้าได้รับมาสำหรับการเดินทางในครั้งนี้

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้อะไรจากการเดินทางไปในครั้งนี้   ได้ความรู้ข้อคิดต่างๆในการดำเนินชีวิต

1.การทำงานทุกอย่างจะต้องมีการติดต่อประสานงานที่ดีจึงจะทำให้งานดังกล่าวประสบความสำเร็จ เช่น การเดินทางไปยังเกาะล้านในครั้งนี้

2.รู้จักระบบการทำงานเป็นทีมซึ่งเป็นทีมงานที่มีคุณภาพถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานระบบทีมงาน

3.ได้เดินทางไปยังร้านหนังสือ BookaZine  ซึ่งเป็นร้านที่มีหนังสือและนิตยสารของไทยและต่างประเทศ สอนให้ข้าพเจ้ารู้จักร้านหนังสือ และหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ ซึ่งแต่ก่อนข้าพเจ้าจะพบเห็นแต่ร้านหนังสือ และหนังสือพิมพ์ที่เป็นของประเทศไทยเป็นส่วนมากร้านหนังสือ และหนังสือพิมพ์ต่างประเทศไม่ค่อยได้พบเห็นเท่าไหร่นักซึ่งทำให้ข้าพเจ้าได้มีความรู้ที่กว้างขว้างมากขึ้นกว่าแต่เดิม

4.ได้เห็นบทบาทความเป็นผู้นำของอาจารย์ในขณะสนทนาร่วมกันกับท่านอาจารย์และทีมงาน ฯและเพื่อนรปม รุ่น 4 ทุกท่าน

ดร.กีรติ ได้มาให้ความรู้ข้อคิดดังนี้

1.ในเรื่องการบริหารองค์การถ้าจะให้ประสบความสำเร็จจะต้องเน้นบริหารคนในองค์การให้ความสำคัญกับการบริหารคนว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดเราต้องหาบุคลากรที่เก่งและดีและมีศักยภาพและคุณภาพ เข้ามาในองค์การ เช่นบริษัทไหนที่มีบุคลากรที่ดีกว่า มีความรู้ความสามารถมากกว่าก็จะทำให้งานในบริษัทนั้นประสบความสำเร็จหรือได้รับผลกำไรที่มากกว่าบริษัทที่ไม่สนใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เลย

รองผู้กำกับฯสภอ.เมืองพัทยา ได้มาให้ความรู้ข้อคิดดังนี้

1.ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนเมืองพัทยาและเกาะล้านเป็นการเปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นจากเดิมและรู้จักวิถีชีวิตของชาวอีสานที่เข้ามาทำงานที่พัทยา

2.เมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีเสน่ห์และอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร

3.ได้เรียนรู้จากการที่ไม่ให้ชาวต่างชาตินั้นเข้ามาเอาเปรียบกับคนไทย เช่น การทำธุรกรรมต่างๆโลกในอนาคตเป็นโลกๆไร้พรมแดนสอนให้เราอยู่อาศัยกับชาวต่างชาติอย่างฉลาดรู้ทันเขาแบบรู้เขารู้เรา

4ได้ทราบข้อมูลและรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเมืองพัทยา เช่น การปกครอง ค่าปรับการจราจร  ธุรกิจที่จะลงทุนในเมืองพัทยา

อ.ยม  นาคสุข ได้มาให้ความรู้ข้อคิดดังนี้

1.ให้เรารู้จักการจับประเด็น การคิดต่อยอดยุคนี้เป็นยุคไร้พรมแดน เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ต้องเรียนรู้จากการวางตัวที่ฉีกแนวทาง จากการดำเนินชีวิตเหนือคนปกติ ทั่วไป

2.การเป็นนักบริหาร เราต้องบริหารตนเองให้เป็น ให้เพิ่มขีดความสามารถที่เพียงพอที่จะไปช่วยคนอื่นพัฒนาได้ต้องใฝ่รู้ มีปัญญาเหมือนมีทรัพย์ คือ มีเงินถ้าใช้เงินไม่เป็นเงินก็จะหายหมดไป

ความรู้ข้อคิดอื่นๆ

1.การเอาชนะชาวต่างชาติเราต้องบริหารจัดการอย่างไร

2.รู้จักตนเองต้องมีหวังมีความทะเยอทะยาน เรียนหนังสือจะต้องเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง

3.รู้จักการบริหารเวลาการบริหารความเสี่ยงก็เป็นสิ่งที่สำคัญ

4.รู้จักการพัฒนาตนเองให้เป็นคนใฝ่รู้อยู่เสมอ และพัฒนากระตุ้นให้พวกเราเกิดความเป็นเลิศ

5.รู้จักการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น รู้จริงทำจริง ไม่เพ้อฝัน หาความรู้ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลาการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน

6.เงินมาจากปัญญา ไม่มีทุนไม่มีเงินแต่เรามีความมานะ สามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้ รู้จักการพึ่งพาตนเองได้ คนไม่ได้เรียนหนังสือแต่ก็ใฝ่รู้ได้ เช่น บางคนไม่ได้เรียนหนังสือแต่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ก็เพราะเป็นคนที่ใฝ่รู้นั่นเอง

          ขอขอบพระคุณ ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์ ดร.กีรติ รองผู้กำกับฯสภอ.เมืองพัทยา อ.ยม  นาคสุข  ทีมงานของอาจารย์ เจ้าของร้านอาหาร คนขับเรือ คนขับรถบัส ชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวที่ประเทศไทย เพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่านและผู้อ่านทุกท่านที่ทำให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้เดินทางไปเกาะล้านในครั้งนี้ถือว่าไดรับประสบการณ์ที่น่าจดจำไว้ในความทรงจำอีกครั้งหนึ่งของข้าพเจ้าขอให้ทุกท่านมีความสุขหลังจากการเดินทางกลับจากการเดินทางในครั้งนี้อย่างปลอดภัย ขอบคุณค่ะ

-------------------------

*http://gotoknow.org/blog/chirakm/163250

ทุนมนุษย์ประกอบด้วยทรัพยากรที่เป็นนามธรรม Intangible ที่พนักงานมอบให้นายจ้าง

  Schuller (2000) ได้ย้ำว่า "ทักษะ ความรู้และสมรรถนะ ของมนุษย์ คือ ปัจจัยที่กำหนดความมั่งคั่งขององค์การและชาติ"

  นักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Schcetz (1961:1) กล่าวว่า รายได้จากการลงทุนมนุษย์เกี่ยวกับการศึกษาและการฝึกอบรมในสหรัฐอเมริกามากกว่าการลงทุนทางกายภาพ (วัตถุ)

  การที่จะนำ  ทุนมนุษย์ (Human Capital) ไปขับเคลื่อนองค์การ จะต้องประกอบด้วยยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้

  1. การพัฒนาหรือการค้นหาผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (Leadership)
  2. การบริหารคนเก่ง+คนดี (Talent management)
  3. การเรียนรู้และการพัฒนา(Learning and development)
  4. การบริหารความรู้ (Knowledge management)
  5. การบริหารสมรรถนะ (Competency management)
  6. การบริหารการทำงาน (Performance management)
  7. การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา (Trust management)
  8. การบริหารความรัก (Love management)

  โมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคน  รูปแบบการพัฒนา "คนเก่ง" (Talent Development)มี 5 ขั้นตอน  ได้แก่

  1. การประเมินความรู้ และทักษะ  เป็นการรวบรวม Feedback จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
  2. การวิเคราะห์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล และกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับจากการพัฒนาความรู้และทักษะ   โอกาสในการใช้ความรู้ และทักษะ  เมื่อสรุปได้แล้ว ให้เลือกความรู้ และทักษะที่ต้องการพัฒนาให้คนเก่ง เข้าสู่กระบวนการวางแผนพัฒนา
  3. การวางแผนพัฒนา  "คนเก่ง" โดยระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาและอบรม การระบุเวลาที่ต้องใช้ และงบประมาณ ผู้สอน วิธีการที่ใช้ เป็นต้น
  4. การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้ มาสู่การดำเนินการ  และให้มีการตรวจติดตามความกว้าหน้า
  5. การประเมินความกว้าหน้า เป็นการประเมินผลและการให้การ Feedback แก่พนักงาน

เพราะโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ โลกของการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 นี้ คนที่มีสมรรถนะสูง ที่เป็นที่ต้องการขององค์การ หรือคนที่มีขีดความสามารถสูง มักมีคุณลักษณะดังนี้

  1. เป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำ
  2. มีความสามารถในการสื่อสารอย่างน้อย 2 ภาษา
  3. มีความสามารถในการวางแผนเชิงกลยุทธ์
  4. การทำงานภายใต้ความกดดัน
  5. สามารถทำงานภายใต้ภาวะกดดัน
  6. รู้จักบริหารความเครียด
  7. มีแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ 
  8. มีศักยภาพในการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง
  9. มีพลังในการทำงาน/มีสมรรถนะสูง
  10. กล้าคิด กล้าการตัดสินใจ
  11. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
  12. มีการทำงานเป็นทีม
  13. รู้หลักการจัดการ
  14. มีความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์  
  15. มีปัญญาดีเยี่ยม ฯลฯ
น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เลขที่ 9 รหัส 50038010009

จาก น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เลขที่ 9 รหัส 50038010009

 

กราบเรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพ (ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์), อาจารย์ยม   นาคสุข ,อาจารย์ผู้สอน

ทุกท่าน ,นักศึกษา รปม.รุ่น 4 และผู้เข้าชม Blog  ทุกท่าน 

 

ก่อนที่จะตอบคำถาม อาจารย์ยม   หลังจากที่อาจารย์ได้สอนใน Class ในวันที่ 23 – 24  ก.พ. 51    แล้วข้าพเจ้ามีความรู้สึกปลาบปลื้ม และภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ทุกท่านถือว่าเป็นบุญ  ที่อาจารย์ทุกท่านได้มาประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาความรู้

 

1. จากวันที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม (วันที่ 23  ก.พ. 51) ได้อะไรบ้าง

        - ได้ทราบถึงทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่  21  ซึ่งถือได้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก  หากต้องการให้องค์การพัฒนา  ก็ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ทำให้เกิด คนเก่ง  ซึ่งทุกคนสามารถเป็นคนเก่งได้ โดยมีรูปแบบการพัฒนา คนเก่ง  มี  5  ขั้นตอน

        1.  การประเมินความรู้และทักษะ

          2.  การวิเคราะห์

        3.  การวางแผนพัฒนา    

        4.  การดำเนินการตามแผน

        5.  การประเมินความก้าวหน้า

        - ได้ทราบถึงการวางแผนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต  ซึ่งในการพัฒนาคนต้องมีการกำหนดแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ  ประกอบด้วยการจัดการเชิงกลยุทธ์  8  เรื่อง  ที่มีประเด็นในเรื่องมุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง   อาทิเช่น  มุ่งความต้องการของลูกค้า , วางแผนกลยุทธ์,  ให้ความสำคัญกับผู้นำ  / ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์  ประกอบด้วย  การเตรียมการวิเคราะห์ ,  การนำกลยุทธ์ไปใช้,  การควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์

 

2.  คนในอนาคตมีลักษณะอย่างไร  วิธีการพัฒนาคนทำอย่างไร

          คนในอนาคตต้องมีสมรรถนะที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้นำ ซึ่งประกอบด้วย

        1.  สมรรถนะในการบริหารคน (HR.Management)

                มีทักษะในการสื่อสาร

                มีการประสานสัมพันธ์

                สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อก่อให้เกิดความศรัทธา

        2.  สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General  Management  Knowledge)

                มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

                มีจิตมุ่งบริการ

                มีการวางแผนกลยุทธ์

                ศึกษา  Innovation เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง

        3.  สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (working  like  the  Professional  Management Level)

                การตัดสินใจ

                ความเป็นผู้นำ

                การคิดเชิงกลยุทธ์

                คิดนอกกรอบ

        4.  สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

                การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

                การบริหารทรัพยากร

                การบริหาร  CEO 

 

วิธีการพัฒนาคนในอนาคตทำอย่างไร

1.     Coaching  การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา คนเก่ง  ที่ดีใช้ คนเก่ง  เป็นที่ปรึกษา  เป็นครูผู้ฝึกสอน  แนะนำแนวทางที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน  ตัวผู้สอนอาจมาจากภายนอก หรือภายในองค์กรตามแต่ความเหมาะสม

2.     Internal  Education  and  Training  หาหลักสูตรอบรม  เช่น  หลักสูตรภาวะผู้นำ  เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความสามารถที่องค์กรต้องการ

3.     Executive  Program  / External  Course  Work        ส่งคนไปอบรมภายนอกในสถาบันต่าง ๆ  เช่น  ในมหาวิทยาลัย  เป็นหลักสูตรสำหรับผู้บริหาร

4.     Teaching  as  Learning  สอนทักษะการสื่อสาร  สร้างความเชื่อมั่น  สร้างภาวะผู้นำ  เน้นประสบการณ์ให้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้  โดยให้คนเก่งเป็นผู้สอน  ฝึกให้คนเก่งเป็นผู้พัฒนาทักษะนำเสนอ

5.     Extracurricular  Activity  พัฒนาให้ทำกิจกรรมพิเศษ  ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  เพื่อให้เกิดการพัฒนา  เช่น  กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์  เน้นมนุษยสัมพันธ์  สร้างภาพพจน์  ภาพลักษณ์

 

นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว  วิธีการฝึกอบรม และพัฒนาคนเก่ง  มี  15  แนวคิด  แต่ขอยกตัวอย่างมา  5  ข้อ  และขออนุญาตต่อยอดแนวความคิดอาจารย์ยม

Test  make a  mistake  and  Test  for  correct  โดยมอบหมายให้ทำงานที่เริ่มจาก Project  เล็ก ๆ  ก่อน  เพื่อเป็นการทดสอบการการทำงาน   ความรับผิดชอบ   การตัดสินใจ  โดยเป็นการลองผิด  ลองถูก  โดยมี คนเก่ง  เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำควบคู่ ทำให้มีประสบการณ์จากการทำงานจริง

นางสาว ลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่น 4

กราบเรียนท่านอาจารย์ ยม และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนจากท่านอาจารย์ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์  2551

1.       ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคศตวรรณที่ 21

2.       การวางแผนกลยุทธด้านทรัพยากรกมนุษย์

Model  การพัฒนาและการอบรมคนเก่ง

การพัฒนา คนเก่ง  5 ขั้นตอน

1.        การประเมินความรู้ และทักษะเป็นการรวบรม feedback  จากแหล่งข้อมูล

2.        การวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งมาวางแผนเป็นจุดแข็งหรือเอาจุดแข็งมาวางแผนให้พัฒนาให้ดีขึ้น

3.        กกการวางแผน คนเก่ง โดยระบุประด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ

4.        ดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้มาสู่การดำเนินการและให้มีการตรวจ ติดตามความก้าวหน้า

5.        การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลและการ Feedbackพนักงาน

คุณลักษณะที่มักใช้ประเมินบุคลากร

-          ภาวะผู้นำ

-          การสื่อสาร(พูดได้ต่อชุมชม)

-          การวางแผน ทำงานภายใต้ความกดดันได้

-          การตอบสนอง ต่อความเครียด ด้วยตนเองได้

-          แรงจูงใจ

-          ศักยภาพในการเรียนรู้

-          พลังในการทำงานสมรรถนะ

-          การตัดสินใจ

-          การจัดการ

-          การวิเคราะห์

 

สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

1.สมรรถนะในการบริหารคน HR, Manangeament

2. สมรรถนะในความรอบรู้ในการบริหารGenerl Management Knowlede

3.สมรรถนะในการบริหารมืออาชีพ  Working  like the professional management level

4.สมรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ Management by Result ,MOB

                                สมรรถนะในการบริหารคน

-          ทักษะในการสื่อสาร  Communication

-          การประชาสัมพันธ์   Coordinate activeness

สมรรถนะในความรอบรู้ในการบริหาร

-          การบริหารการเปลี่ยนแปลง  Managing change

-          การมีจิตมุ่งบริการcustomer service orientation

-          การวางแผนกลยุทธ Strategic  Plannig

สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

-          การตัดสินใจ Division Making

-          ความเป็นผู้นำ  leadership

-          การคิดเชิงกลยุทธ  Thinking

สมรรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

-          การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ Achieving Result

-          การบริหารทรัพยากร Managing Resouces Management

-          การบริหารแบบ CEO  Customer Empoyee Organzation

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

1.              โดยการสอนงานคอกลยุทธที่ใช้เพื่อการพัฒนาคนเก่ง

2.              เวลาทำงานให้ย้ายไปฝ่ายอื่นบ้างเพื่อเกิดประสบการณ์ใหม่ๆ

3.              การมอบหมายงานเร่งด่วนให้

4.              การมอบหมายงานให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหรือกู้วิกฤติโครงการใดโครงการหนึ่งเพื่อพัฒนาความรู้

5.              การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนา

6.              การส่งคนเก่งไปพัฒนา อบรมภายนอกองค์กร

7.              การพัฒนาในรูปแบบนี้เป็นลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ

8.              การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน

9.              การให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา คนเก่ง

10.          การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ web – based learning

11.          การลางานหรือการหยุดงานของผู้จัดการมอบหมายให้คนเก่งเข้ามารับบทบาทแทนผู้จัดการ

12.          คือการมอบหมายให้คนเก่งสังเกตพฤติกรรมของผู้เป็นต้นแบบซึ่งจะช่วยการพัฒนาทักษะทางด้านการบริหาร

               

การจัดการเชิงกลยุทธ  8  เรื่องมุ่งสู่องค์การสมรรถภาพสูง

1             .ความต้องการของลูกค้า

2             ความพึงพอใจของลูกค้า

3             การวางแผนกลยุทธ

4             การให้ความสำคัญกับผุ้มารับบริการและผู้มีส่วนเสีย

5             การพัฒนากระบวนการ

6             การบริหารการพัฒนามนุษย์

7             การจัดการเชิงวิเคราะห์ การจัดการความรู้

8             วิสัยทัศน์  พันธกิจ  วัตถุประสงค์ขององค์การ

ขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ

1.            วิสัยทัศน์

2.            ประเด็นยุทธศาสตร์

3.            เป้าประสงค์ตัวชี้วัด , เป้าหมาย

4.            กลยุทธ

5.            Strategy Map

การนำกลยุทธไปใช้

กลยุทธคืออะไร

Henry  Mintzberg   ได้ใช้หลัก 5 p  อธิบายความหมาย

1.       กลยุทธคือ แผน

2.       กลยุทธคือแบบแผนหรือรูปแบบ

3.       กลยุทธคือทัศนภาพ

4.       กลยุทธคือกลวิธีในการเดินหมาก

 

สรุปกลยุทธ คือแผนที่จะไปสู่ความสำเร็จขององค์กร 

กลยุทธ หมายถึงวิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

Michael  E, Porter  ได้ให้แนวคิดว่ากลยุทธในการบริหารมี  3  ประเภท

1.       กลยุทธที่เน้นต้นทุนต่ำ

2.       เน้นสร้างนวัตกรรม ความแตกต่าง เพื่อให้เหนือชั้นกว่า

3.       เน้นที่ลูกค้า  กลุ่มเป้าหมาย

ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ Human  Capital Strategy

 

การนำ HCM  ไปพัฒนาในองค์การ

ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์

                สรุปประเด็น  Human Capial  Managment

1.       จูงใจได้มารักษาคนฉลาด

2.       การจัดการและภาวะผู้นำ

3.       การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์

4.       การพัฒนาทุนมนุษย์

ทฤษฏีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

 

องค์กรที่ด้อยประสิทธิภาพ                                                                                องค์กรสมรรถภาพสูง

1.ไม่ได้บริหารคนเก่ง+คนดี                                                             1. บริหารคนเก่ง+คนดี

2.คนขาดความรู้                                                                                   2.บริหารความรู้และพัฒนา

3.ขาดภาวะผู้นำ                                                                       3. พัฒนาภาวะผู้นำ

4.ขาดการจัดการทุนมนุษย์                           4 พัฒนาประสิท ธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

5.ขาดการวัดทุนมนุษย์                                                           5ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

 

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ยม  นาคสุข  ที่สร้างแรงจูงใจทำให้มีความทะเยอทะยานเกิดกำลังใจความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานและทำงานอย่างมีความสุข

พ.ต.หญิงประไพศรี บุญรอด รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

เรียน   ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข และทีมงาน,  เพื่อน รปม.รุ่นที่ 4  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

แนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

จากการอ่านบทความหนังสือพิมพ์มติชน ลง 23 ก.พ.51 เรื่อง "เทรนด์ใหม่ของโลก"โดย ศีล มติธรรม  กล่าวคือ การพัฒนาคนจะต้องรู้จักตัวเองก่อน และทำในสิ่งที่ตนเองถนัดการพัฒนาคนเป็นการพัฒนาที่เน้นการเป็นคนที่มีคุณภาพ เมื่อเป็นคนมีคุณภาพก็จะช่วยพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า

การพัฒนาคนยุคใหม่ เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์  ตลอดจนการพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้ พัฒนาทักษะด้วยตัวเอง การพัฒนาแนวทางนี้จะเน้นการค้นหาตนเอง วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง  การกำหนดเป้าหมายของชีวิตแล้วหาทางเดินไปสู่เป้าหมาย

รูปแบบการพัฒนาคนมี 5 ขั้นตอน สมรรถนะหลักของผู้นำแบ่งเป็น 4 กลุ่ม  วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง 7 วิธี  และการจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง ได้แก่

1.ความต้องการของลูกค้า 

2.การวางแผนกลยุทธ์- ยุทธวิธี 

3.การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย 

4.การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 

5.การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์ 

6.การพัฒนากระบวนการ 

7.ความพึงพอใจของลูกค้า  ความพึงพอใจของทีมงาน  ผลประกอบการ 

8.วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

การจัดการเชิงกลยุทธ์จะเน้นเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ และ การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์     ปัจจัยความเสี่ยงในการวิเคราะห์การวางแผนกลยุทธ์   ได้แก่   ปัจจัยภายใน (คน ระบบ วัฒนธรรมองค์กร)   และปัจจัยภายนอก  (นโยบาย  เศรษฐกิจ สังคมและ เทคโนโลยี) การทำงานของคนอย่างมีประสิทธิขึ้นอยู่กับการบริหารจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก

                                ท้ายนี้  ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้กรุณาแนะนำ  ทางสว่างให้เกี่ยวกับวิธีการเขียนคำตอบมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง   พวกเราหลายๆ คนเครียดมากค่ะ

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

เจริญพร ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และ พี่ ๆ เพื่อน ๆ รปม. รุ่น 4 ทุกท่าน

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการไปเปิดโลกทัศน์ที่พัทยา

  • ได้แลกเปลี่ยนความรู้จากการสนทนากับ อ. ยม นาคสุข ระหว่างการเดินทางตั้งแต่ต้นสายจนถึงเดินทางกลับ
  • ได้ร่วมกิจกรรมกับคณะชาว รปม. รุ่น 4 สวนสุนันทาอันนำมาซึ่งความสามัคคีในหมุ่คณะรวมทั้งได้เห็นความเป็นห่วงเป็นใยกันในหมู่คณะ
  • ได้พบกับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการเดินทาง ทั้งทางรถ และทางเรือ(ลงเรือลำเดียวกัน โดยมีอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้นำทาง)
  • ได้เยี่ยมชมร้านหนังสือ พร้อมกันนี้ก็ได้หนังสือติดย่ามมา 2 เล่มเล่มแรก คือ หนังสือ มอง CEO โลก เป็นหนังสือนำเสนอความรู้ของผู้นำระดับโลก รวบรวมแนวคิดและวิสัยทัศน์ของผู้นำชั้นแนวหน้า ฯลฯ  โดยวิกรม กรมดิษฐ์ ฯ  เล่มที่ 2 เป็นหนังสือ หลัก ๕ ประการ สู่การเป็นผู้นำ สะพานาเชื่อมช่องว่างของการเป็นผู้นำ THE 5 PILLARS OF LEADERSHIP (Paul J. Meyer & Randy Slechta)แปลโดย จุมพจน์ เชื้อสาย
  • ได้เห็นความเป็นผู้นำของอาจารย์ ความเป็นกันเองในขณะสนทนากับท่านอาจารย์และทีมงาน ฯ
  • ประเด็นสำคัญในการเปิดโลกทัศน์ในครั้งนี้คือ ท่านอาจารย์ได้เชิญผู้มีความรู้ด้านทรัพยากรณ์มนุษย์ และผู้ชำนาญการด้านท้องที่เมืองพัทยา คือ รองผู้กำกับ มาร่วมเดินทางในครั้งนี้ด้วย ก็ได้รับประโยชน์จากการฟัง ซึ่งพระพุทธองค์ก็ตรัสว่า สุตามยปัญญา คือปัญญาเกิดจากการฟัง การได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง หรือเรื่องที่เคยฟังแล้วพอได้ฟังอีกก็ยิ่งเกิดปัญญามากขึ้น และเข้าใจมากขึ้น ซึ่งเราท่านทั้งหลายก็คงเก็บเกี่ยวความรู้จากส่วนนั้นมาได้กันพอสมควรแก่อัตภาพ
  • โดยท่านแรกที่กล่าวแนะนำและมอบความรู้ คือ ดร.กีรติ  ท่านกล่าวว่า การที่เราเลือกที่จะขับรถไปทางซ้ายแล้วไปทันเวลาและไปถึงสนามบินก่อน นั่นมิได้หมายความว่า ทางขวาผิด ฯ หัวใจของการบริหารจัดการคือ การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ ฯ เครื่องจักรเครื่องกลซื้อหาได้ แต่บุคลากรต้องหาและต้องบริหารให้ดี
  • ส่วนท่านที่สอง คือ รองผู้กำกับ ฯ ท่านให้ความรู้เรื่องเมืองพัทยามากมาย เช่น บอกว่าอย่าดูข่าวเรื่องเมืองพัทยามากนัก เพราะสิ่งที่คุณคิดหรือได้เห็นตามข่าว อาจไม่ใช่สิ่งที่ใช่เสมอไป  ฯ เมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีนายกเทศมนตรีเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการทั้งหมด โดยขึ้นตรงกับผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ฯ  เมืองพัทยา มีประชากรจำนวน 200000 กว่าคน แต่ความจริงแล้ว มีประชากรหรือคนต่างด้าวแฝงอยู่จำนวน 2000000 กว่าคนโดยประมาณ และในแต่ละปี มีเงินหมุนเวียนในเมืองพัทยาเดือนละหลายพันล้านบาท ฯ และกล่าวถึงเสน่ห์ของพัทยานานัปประการ เช่นไม่ไกลจากกรุงเทพ เป็นต้น ฯ
  • ท่านต่อมา คือ อ.ยม นาคสุข กล่าวสั้น ๆ ได้ใจความว่า การจะฟังอะไรก็แล้วแต่ ต้องจับประเด็น แล้วต่อยอดให้ได้ ฯ  ต้องรู้ว่ายุคนี้คือยุคอะไร ฯ ก่อนหรือหลังการเรียนรู้เราได้อะไรบ้างจากการเรียนรู้ ฯ การเป็นนักบริหารที่ดีต้องรู้จักการบริหารตัวเอง ฯ

       หลวงพี่แทนจับประเด็น  ก็ได้กล่าวถึงการมองเห็นความสำคัญความรู้ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ฯ เช่นในเมืองพัทยา ก็บริหารทรัพยากรด้านต่าง ๆ ดูแลเรื่องเศรษฐกิจท้องถิ่นเมืองพัทยา และได้กล่าวว่า การจะเลือกเดินทางใดทางหนึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิด ฯ

  • ได้รับรู้การดำรงชีพของชาวเกาะล้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เนื่องจากเวลาจำกัด แต่เท่าที่รู้และน่าสนใจนอกเหนือทรัพยากรณ์มนุษย์ คือ ทรัพยากรณ์ธรรมชาติประจำเกาะล้าน คือ มีแร่ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมกันและพากันเรียกว่า แร่เหล็กใหลประจำเกาะล้าน ท่านที่ชอบเครื่องประดับถ้าเห็นก็คงชอบใจ ข้อมูลโดยคนขับสอง แถวอาตมานั่งแถวที่สาม(ข้างหน้า)ฯ

เรื่องเล่าเช้าจรดค่ำ (เล่าแล้วยาว)

       ในการไปศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ครั้งนี้ สิ่งที่สำคัญ คือ การสังเกตการณ์ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ฯ  ในส่วนของหลาย ๆ ท่านก็ย่อมมีความสนใจที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนของอาตมานั้นก็เก็บเกี่ยวหรือทรงจำในแบบฉบับของตัวเอง ณ จุดที่สนใจหรือจุดที่ได้ข้อคิด ซึ่งมีดังต่อไปนี้

       แรกเริ่ม คือ ต้นสายของการเดินทาง ณ จุดเริ่มต้น คือ สวนสุนันทา อันเป็นจุดนัดพบของเรา ๆ ชาว รปม. รุ่น 4  เมื่อเราทั้งหลายมาพร้อมเพรียงกันแล้ว ก็เริ่มจับจองที่นั่งพร้อมกับสำรวจรอบ ๆ กาย และก็ออกเดินทาง ในขณะที่เดินทางนั้น คนที่นั่งข้างกายอาตมา ช่วงแรก ๆ ก็คุ้น ๆ หน้า พอสอบถามและได้สนทนากับท่านแล้วก็หายสงสัย เพราะท่านคือ อ. ยม นั่นเอง ผู้ซึ่งจะมาสอนในวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ นี้ จากการได้สนทนากับท่าน ก็ได้ข้อคิดหลายแนว พร้อมทั้งแนะนำในเรื่องของการเรียนอีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องการทำวิจัย มีการแนะนำในเรื่องของหัวข้อ และ การวางเป้าหมายชีวิตด้านการศึกษา เช่น อนาคตตั้งเป้าหมายไว้อย่างไรกับการศึกษา พร้อมกันนี้ก็แนะให้อ่านหนังสือการทำวิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพ ว่าต่างกันอย่างไรกับเชิงปริมาณ ฯ ซึ่งบางท่านอาจสงสัยว่า อาตมาคุยอะไรกับอาจารย์บ้าง และส่วนเหล่านี้แหละที่ได้สนทนากับท่าน นี้ก็เป็นส่วนที่ประทับใจว่า การเดินทางครั้งนี้ มิได้มีเพียงแค่นักศึกษา รปม. เท่านั้น แต่ยังมีอาจารย์ ยม นาคสุข ร่วมเดินทางรถคันเดียวกับเราอีกด้วย ประทับใจที่ได้พบบัณฑิตเช่นท่านและท่านยังให้ยืมหนังสือ เรื่อง โต้คลื่นวัฒนธรรม (ผู้เขียน คือ ศาสตราจารย์ ดร.บุญทัน ดอกไธสง) และได้ทำการถ่ายเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว นี่คือผลของการได้พบบัณพิต สนทนากับบัณฑิต ย่อมได้รับผลดี ตามแบบฉบับในมงคลสูตร 38 ประการข้อหนึ่ง ฯ

       ในเช้าวันดังกล่าวนั้นก็ได้รับการถวายภัตตาหารเช้าโดยอาจารย์ยมเช่นเคย เพราะว่าวันนั้นท่านบอกว่าไม่ได้ทำบุญตักบาตร ก็เลยถือโอกาสนี้ถวายภัตตาหารเลย และท่านก็ดูแลอย่างดี ถวายอาหารคาวหวาน ขนม น้ำผลไม้เป็นอย่างดี มีเค้กช๊อกโกแลตเสริมด้วย ฯ

       และนอกจากนี้ก็ได้ทราบเรื่องราวของท่านมากมาย แต่มิอาจกล่าวได้หมดในรายงานส่วนนี้ ฯ 

       ประทับใจพี่ ๆ เพื่อน ๆ ชาว รปม. ที่คอยดูแลพระทั้งสามรูป รวมอาตมาด้วย เจริญพรขอบคุณ อ้อ และมีคำชมจากท่านอาจารย์ยมด้วยนะ  ว่า เราชาว รปม.รุ่นนี้ดีมาก มากกว่ารุ่นก่อน ๆ นี้อีกนะ คือว่า การเดินทางของเราครั้งนี้ เราพูดไม่หยุดเลย พูดตลอดทาง เก่งจริง ๆ  ไม่เหมือนรุ่นสามที่ไปดูงานที่ จ. กาญจนบุรี ท่านบอกว่า พูดน้อย และหลับตลอดทางมากกว่า  รุ่นเราดีกว่า พูดตลอดทาง และมีการแซวพระอีกด้วยนะ โดยทีมงานพี่อี๊ด พี่เจี๊ยบ ซาวด์ 55+ ก็สนุกสนานดีจ๊ะคุณโยมพี่ทั้งหลาย เห็นความยิ้มแย้มขณะเดินทาง เห็นความสามัคคีในหมู่คณะ พี่ดาโต๊ะเองก็ใช่ย่อยซะเมื่อไรละ ไม่ธรรมดาจริง ๆ

       การเดินทางครั้งนี้แดดช่างร้อนอันเกิดจากแสงอาทิตย์ที่เจิดจรัสหลายดวง จนอาจทำให้พี่ ๆ บางคน (พี่เอ้+พี่นุช+และทีมพี่อี๊ด) ต้องสวมแว่นดำเพราะแสบตา บางท่านก็สวมหมวกเพื่อป้องกันแสงรังสีที่แผ่สะท้อนกัน จากหลาย ๆ ดวง (เพราะว่าเป็นวันมาฆะพระก็ร่วมเดินทางซะด้วยสิ) คงไม่ต้องบอกนะว่าก่อนวันมาฆะพระต้องทำอะไร ?

       ต่อมาก็ชีวิตบนเรือ เราทั้งหลายลงเรือลำเดียวกันแล้ว ที่มีนายเรือเป็นผู้ขับเคลื่อนเรือ และมีนายกัปตันเรือ คือ อ.จีระ เป็นผู้นำทาง เราทั้งหลายไม่ใช่ลูกเรือ แต่เป็นผู้ร่วมเดินทางในครั้งนี้ ชีวิตก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง คละกันไป ทะเลก็เช่นกัน หากทะเลไร้คลื่นซัดก็ดูไม่งามไม่ใช่ทะเลแท้ ทะเลที่ไร้โขดหินก็หาใช่ทะเลไม่ นั้นทะเลก็ย่อมมีทั้งคลื่นทั้งเบาและแรงปะปนกันและแปรผันตามอากาศ ที่พากันโหมเข้ามาปะทะฝั่ง ชีวิตเราก็เหมือนกัน มีอุปสรรคมาประดับ มีอุปสรรรคมาทดสอบความอดทนว่าเราสามารถทนได้ขนาดไหน  การเดินทางก็พิสุจน์เราเหมือนกัน กับการพบอุปสรรคทั้งคลื่นลมและแสงแดด แต่เราก็สามารถเดินเรือไปถึงฝั่งฝันจนได้

       หลังจากเดินทางถึงฝั่งฝันแล้ว อาจารย์จีระ และทีมงาน พร้อมด้วยชาว รปม. รุ่น ก็ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกัน ก็มีกุ้ง มีปลา (แหมนะ เลยเวลาพระซะแล้วสิ น่าเสียด้ายเสียดาย)  พระก็ได้มะพร้าวลูกหนึ่งมากล่อมต่อมน้ำลายคลายความเขิน นมกล่องหนึ่ง (ยังดีที่ผ่ามาให้พร้อมกับหลอด ถ้าให้พระมาทั้งลูกหรือให้พระปีนเองละคงแย่แน่เลย) และแล้วก็มาถึงนาทีที่รอคอย คือการจับประเด็นการสนทนาและการฟังเพื่อประดับความรู้ จากการให้คำแนะนำของ ดร.กีรติ และ รองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา และที่ขาดเสียมิได้คือ อ.ยม ซึ่งมี อ.จีระ เป็นผู้ดำเนินรายการ และก็จบลงด้วยเนื้อหาสาระดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และแล้วเราก็เดินทางกลับถึงสวนสุนันทาโดยสวัสดิภาพแล้วแยกย้ายกันกลับด้วยความเหน็ดเหนื่อยบวกกับความสุขฯ

ข้อคิดและคำคมบางประการที่ได้รับจาก ศ.ดร.จีระ อ.ยม และแขกรับเชิญ

  • โลกปัจจุบันเป็นที่ที่ไร้พรหมแดน และเป็นโลกแห่งการแข่งขัน ฯ
  •  เงินถ้ามีแล้วใช้ไม่เป็น ฉิบหายหมด ฯ
  •  เงินถ้ามีแล้วใช้เป็น มีแต่จะงอกเงย ฯ
  •  เราต้องใช้จุดแข็งของเราให้เป็นประโยชน์ ฯ
  •  ต้องรู้จุดยืนของตัวเองว่า เราอยู่จุดไหน ฯ
  • จะฟังอะไรต้องจับประเด็น และ ต่อยอด(ทางความคิดและลงมือปฏิบัติ)ให้ได้ ฯ
  • จงภูมิใจในความเป็นราชภัฏ รักในความเป็นสถาบันของเรา เพราะเราชาว รปม.4 สวนสุนันทา มีความกตัญญูต่อสถาบันและอาจารย์ผู้ให้ความรู้ ไม่แพ้มหาวิทยาลัยอื่นเช่นกัน ฯ  
  • เราในฐานะลูกศิษย์ของ อ. จีระ ต้องไม่ให้ใครเอารัดเอาเปรียบ อย่ายอมเป็นขี้ข้าใคร อย่าให้ใครมาจูงจมูก แลที่สำคัญ ต้องรู้จักตัวเอง ฯ คนอิสาน ถึงไม่ได้เรียนราชภัฏก็สามารถเรียนรู้ได้โดยใช้อินเทอร์เน็ต ฯ  เงินหาได้โดยใช้สมอง  เงินมาจากปัญญา ฯ คนไทยเข้าใจว่าทุนคือเงิน  แต่ความจริงไม่ใช่ สมองหรือปัญญาต่างหากคือทุนอันล้ำค่าที่เรามี (ปัญญาคือเงิน เงินเกิดได้จากปัญญา) ฯ

       และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่อยุ่ในความคิดซึ่งอาตมภาพได้รับรู้และสามารถเขียนเป็นกระทู้ได้อีก แต่อย่ากระนั้นเลย เพียงเท่านี้ก็พอเห็นได้ว่า การไปครั้งนี้ไม่เสียทีจริง ๆ ฯ

        

สุดท้ายนี้ก็ขอเจริญพรขอบคุณ อ.จีระ และคณะที่จัดให้มีกิจกรรมครั้งนี้ เจริญพรขอบคุณ อ.ยม นาคสุข สำหรับอาหารเช้าและน้ำผลไม้ พร้อมทั้ง ชาว รปม. รุ่น 4 ทุกท่านที่ให้การดูแลพระเป็นอย่างดีในเรื่องอาหาร (มะพร้าวหนึ่งลูกพร้อมเปลือกกับหลอดหนึ่งอัน) ฯ ถ้าไม่ได้อาจารย์ยมเช้านั้นนะ พระหิวแย่เลย พระเนื้อนะจ๊ะโยมจ๋า ไม่ใช่พระอิฐพระปูน (หัวเราะ) ฯ

จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อ.ยม  นาคสุข  และทีมงานทุกท่าน

นักศึกษา รปม.รุ่น 4  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

                จากการเรียนเมื่อวันที่  23-24   กุมภาพันธ์  2551 ที่ผ่านมา นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ของ ม ราชภัฎสวนสุนันทา ได้รับเกียรติจาก   อ.ยม  นาคสุข     ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานของท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์   ได้เข้ามาสอนให้นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เรื่อง แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรธที่ 21 ดังที่ทราบในกลุ่มนักศึกษาแล้วนั้น อ.ยม ได้บรรยายเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุย์ ทำให้เรารู้หลายๆสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก หรือเรียกว่า อยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ยุคแห่งโลกไร้พรหมแดน ยุคของโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ยุคของการแสวงหาและการพัฒนามนุษย์  ยุคของการแสวงหาคนเก่ง ปัญญาดี ที่จะนำพาองค์กร ประเทศชาติ ให้รอดพันจากความเดือดร้อนอันมีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลก  ซึ่งเป็นผลทำให้องค์การทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สังคมทุกระดับ ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงและแสวงหาทิศทางใหม่ ในการดำเนินชีวิต ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลก ยกตัวอย่างประเทศที่แข่งขันกันเพื่อที่จะให้เป็นมหาอำนาจของโลก คือ ประเทศจีน และอินเดีย ซึ่งก็ได้นำมาวิเคราะห์สิ่งต่างๆทีเป็นองค์ประกอบแล้วประเทศที่จะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจนั้นก็คือ ประเทศอินเดีย เพราะประเทศอินเดียนั้นจะมุ่งเน้นพัฒนามนุษย์มากกว่าประเทศจีน และในการที่จะนำมนุษย์ไปขับเคลื่อน ประเทศ องค์การ นั้นต้องประกอบด้วยหลายๆสิ่งหลายอย่าง เช่น

 

-          การบริหารคนเก่ง + คนดี     และวิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

-          การเรียนรู้และการพัฒนา

-          คุณลักษณะที่ประเมินบุคลากร

-          การบริหารความรู้

-          สมรรถนะในการบริหารคน และการบริหารอย่างมืออาชีพ

-          การบริหารการทำงาน

-          การบริหารความเชื่อมั่น

-          การบริหารความรัก

-          ฯลฯ

ซึ่งแต่ละหัวข้อจะมีรายละเอียดย่อยลงไปอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวประกอบ

ในการพัฒนาบริหารทรัพย์ยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความสารถ คนเก่ง เพื่อที่ขับเคลื่อนพัฒนาองค์การให้ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ที่สุด และสุดท้าย อ.ยม ยังสอนถึงเรื่องการเกิดปัญญาของคนเรา ซึ่งจะสามารถเพิ่มพูน ทุนทางปัญญา ได้อีก ตามแนวพุทธศาสตร์ ซึ่งปัญญาของคนเรานั้นสามารถเกิดขึ้นได้ 3 ทาง ดังนี้

1.    สุตะมะปัญญา  ปัญญาที่เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน

2.    จินตะมะยะปัญญา ปัญญาที่เกิดจากความหมั่นตรึกตรอง ความนึกคิด

3.    ภาวนามะยะปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการพัฒนาจากการกระทำให้เกิกด ทำให้มี

โดยการวิจัยและพัฒนาทั้งวิจัยและพัฒนาร่างกายภายนอกของตัวตน และภายในจิตใจของตน การฝึกจิตฝึกสมาธิ และการสั่งจิตใต้สำนึกประกอบการหมั่นทบทวน หลักธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า

         

เรียน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม  นาคสุข และทีมงาน รวมถึงเพิ่อนๆ รปม.4 และท่านผู้อ่านทุกๆท่าน

       จากการเรียนเมื่อวันเสาร์ที่  23 กุมภาพันธ์  2551 เรื่อง

เทรนด์ใหม่ของโลก  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 

       อาจารย์ยม ได้ให้  high light ไว้ว่า ไม่มีองค์กรใดจะประสบ

 ความสำเร็จได้โดยไม่ใส่ใจเรื่อง คน การบริหารงานที่ดีต้องมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ รวมทั้ง โมเดลการพัฒนาการอบรมและรูปแบบการพัฒนาคนเก่ง 5 ขั้นตอน

 

1.    การประเมินความรู้และทักษะ

 

2.    การวิเคราะห์

 

3.    การวางแผนพัฒนา

 

4.    การดำเนินการตามแผน

 

5.    การประเมินความก้าวหน้า

 

     สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

        1.    สมรรถนะในการบริหารคน ( HR. Management )

 

-        ทักษะการสื่อสาร  คือการสื่อสาร 2 ทาง ให้มีประสิทธิภาพ

 

-        การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

 

2.    สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร ( General Management  Knowledge )

 

-        การบริหารการเปลี่ยนแปลง 

-        การมีจิตมุ่งบริการ

 

-   การวางแผนกลยุทธ์

       3.    สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ ( Working like the Professionnal Management  Level )

 

-        การตัดสินใจ 

-        ความเป็นผู้นำ

 

-        การคิดเชิงกลยุทธ์

 

4.    สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Management by

 Result, MBO )

 

-        การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ 

-        การบริหารทรัพยากร

 

-        การบริหาร CEO

     วิธีการพัฒนาคนในอนาคต ทำอย่างไร ?

         วิธีการฝึกอบรม และพัฒนาคนเก่ง มี 15 วิธี  แต่ขอยกตัวอย่าง

 

มา 5 วิธี

 

 1.     การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา คนเก่ง  ใช้ในกรณีที่คนเก่ง ต้องการมีที่ปรึกษา มีครู  ผู้ฝึกอบรม และผู้แนะแนวทาง ที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน เพื่อให้สำเร็จในงานที่ทำ

 

2.     การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน เป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง  โดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับผู้อื่น เป็นการฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญไปในตัว

 

3.     การพัฒนาในลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ การเปิดโลกในอินเตอร์เน็ต ที่องค์กรแนะนำเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะ  เพราะคนเก่งมักเป็นผู้กระตือรือร้น มีแรงจูงใจในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

 

4.     การสอนทักษะการสื่อสาร  สร้างความเชื่อมั่น  สร้างภาวะผู้นำ เน้นประสบการณ์ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

 

5.     การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมจากภายนอกองค์การ  เป็นระยะสั้น ๆ ประมาณ 2 - 3 วัน เพื่อกลับมาพัฒนาองค์การและคนในองค์การ

 

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง  

1.     ความต้องการของลูกค้า

 

2.     การวางแผนกลยุทธ์ ยุทธวิธี

 

3.     การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย

 

4.     การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

 

5.     การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

 

6.     การพัฒนากระบวนการ

 

7.     ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงานและผลประกอบการ 

8.  วิสัยทัศน์  พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

 

         สุดท้ายนี้  ขอขอบพระคุณ อาจารย์ยม  นาคสุข ที่ให้คำแนะนำดี ๆ ในการเขียน BLOG และแนวทางในการเขียน-ตอบ ข้อสอบ ว่าต้องมี

หลักเกณฑ์  และมีประเด็นอะไรบ้าง

 

       สุดท้ายจริง ๆ ค่ะ  รู้สึกว่า ตัวเองเป็นผู้มีบุญจริง ๆ ที่อาจารย์ได้มาเพิ่มพูนความรู้ใส่ในสมองให้มีรอยหยักเพิ่มมากขึ้น ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ

พระศุภสิน ศักศรีวัน

 

เจริญพร อาจารย์ยม นาคสุขและคณะ เพื่อนรปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

      จากการเรียนการสอนของอาจารย์ยม นาคสุขเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ ได้เกิดแนวคิดความรู้ให้รู้จักแนวความคิด กระบวนการคิด โดยการยกประเด็น และยกตัวอย่าง แนะแนวการเรียนหนังสือให้มีความสำเร็จ ต้องเป็นคนมีบุญ  สนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ การเขียนบล๊อคระมัดระวัง เขียนให้ได้ใจความ มีสาระเพราะว่ามีคนดูทั่วโลก และยังให้นักศึกษาวิเคราะห์ระหว่างอินเดียกับจีนใครจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และแนะแนวทางว่าแนวโน้มอินเดีย มีแนวที่จะเจริญมากกว่า เพราะอินเดียเน้นนวัตกรรมเสริมสร้างความรู้ เพราะอินเดียดำเนินทางไปตามโลกาภิวัตน์ที่เน้นข้อมูลสารสนเทศบนฐานฐานความรู้ อินเดียได้เปรียบในเรื่องภาษา จีนจะเน้นเรื่องฮาร์ดแวร์(Hardware) อินเดียจะเน้นซอฟท์แวร์ (Software)
      การเรียนรู้ในเรื่องทิศทางการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21ก็คือแนวโน้มการพัฒนาคนในอนาคต ถ้าเราจะพัฒนาคนต้องทำอย่างไรโดยการให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีคำกล่าวว่าไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน"  เรื่อง"ทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป"  ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ

แนวทางในการพัฒนาคน

        1. การประเมินความรู้ของเขาเสียก่อนว่าเหมาะกับการพัฒนามากน้อยขนาดไหน ในหลักการนี้ข้าพเจ้าเล็งเห็นเหมือนตอนที่พระพุทธองค์จะเทศนาใคร จะทรงหยั่งดูด้วยพระญาณก่อนว่าเขามีภูมิอย่างไร มีจริตแบบไหน แล้วทรงสั่งสอนเพื่อให้เกิดผลมากที่สุด
        2. การวิเคราะห์ว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร แล้วนำจุดอ่อนมาพัฒนาเพื่อให้เป็นจุดแข็ง
        3.การวางแผนพัฒนา "คนเก่ง" โดยระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาและอบรม การระบุเวลาที่ต้องใช้ และงบประมาณ ผู้สอน วิธีการที่ใช้ เป็นต้น
        4. การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้ มาสู่การดำเนินการ  และให้มีการตรวจติดตามความกว้าหน้า
        5. การประเมินความกว้าหน้า เป็นการประเมินผลเพื่อหาจุดที่ต้องแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม

คุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากร

      - ภาวะผู้นำ คือการจะทำอะไรให้สำเร็จ หรือมีศักยภาพเราต้องมีเป้าหมาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ตัวเราเสียก่อน เราจะเปลี่ยนแปลงอะไร ต้องเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราให้มีศักยภาพเสียก่อน
      - การสื่อสาร เช่นต้องพัฒนาการทางด้านภาษาเพื่อให้ได้เปิดกว้างในด้านการข้อมูลข่าวสาร ที่มีการไหลเอ่อของกระแสโลกาภิวัตน์
      - การวางแผน การทำงานภายใต้ความกดดัน
      - การตอบสนองต่อความเครียด
      - การรู้จักสร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง
      - ศักยภาพในการเรียนรู้
      - พลังในการทำงานและสมรรถนะสูง มีความอดทน
      - การตัดสินใจที่ชัดเจน และเด็ดขาด
      - การมีความทำงานเป็นทีม เช่นในการเรียนในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ แบ่งแยกหน้าที่ เช่น คนมีความสามารถจดเก่งก็จด คนมีความจำดีก็จำประเด็น และนำมารวมกันเพื่อวิเคราะห์ เป็นต้น
      - การจัดการที่เป็นระบบ
      - การวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล    เป็นต้น

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน ที่จะเป็นผู้บริหารไปสู่อนาคต แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

      1. ความสามารถในการารบริหารคน  (HR.  Management) ต้องมีทักษะในการสื่อสาร และการประสานสัมพันธ์
      2. ความสามารถในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge) มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีจิตที่จะมุ่งบริการมีความเมตตากรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และมีการวางแผนแบบมีกลยุทธ์
      3. ความสามารถในการบริหารอย่างมืออาชีพ  (working  like  the  Professional  Management  Level) ดูจากการตัดสินใจที่รวดเร็วแม่นยำ มีการคิดเชิงกลยุทธ์คือคิดอย่างมีเหตุมีผล มีเป้าหมาย มีวิธีไปสู่ความสำเร็จได้
      4. ความสามารถการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO) ทำไปเพื่ออะไร มีวิธีการวัดผลอย่างไร มีตัวชี้วัดอย่างไร เช่นการสร้างเป้าหมายของตัวเองในการเรียน ว่าจะทำอย่างไรให้เรียนจบด้วยประสิทธิภาพ ต้องทำให้ได้คะแนนเท่าไร

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง
      1. Coaching การสอนงาน ต้องสอนวิธีการให้เขารู้ เพื่อพัฒนาให้เป็นคนเก่ง เช่นจากการที่อาจารย์ไปเที่ยวเกาะล้าน ได้นั่งใกล้กับพระคุณเจ้าและแนะนำวิธีการทำวิทยานิพนธ์ถวายท่าน อีกครั้งหนึ่งตอนล่องเรือมองเห็นการที่พ่อสอนให้ลูกทำงานสอนงานในการขับเรือควบคุมเรือ ให้เขาเรียนรู้และคอยแนะนำ เป็นต้น
      2. Job rotation การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์การทำงานใหม่ ๆ และช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่จากฝ่ายงานต่าง ๆ ในองค์การ  คนเก่งสามารถเรียนรู้งานใหม่ และปฏิบัติงานในสายานใหม่ได้อ่างรวดเร็ว  การโยกย้ายฝ่ายงานจะบรรลุผลสำเร็จด้วยดี อยู่ที่การวางแผนที่ลัดกุม และมีการวัดผลที่ชัดเจน
      3. Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรือองานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานนี้ ฝึกเรื่องความรับผิดชอบในงาน
      4. Task Force Assignment  การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะการรมการ เพื่อฝึกให้เขาบริหารงานเป็นทีม ฝึกให้แก้ปัญหาวิกฤติในโครงการใดโครงการหนึ่ง
      5. Internal Education and Training การให้ "คนเก่ง" ฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม หาหลักสูตรที่สอดคล้องกับงานและความสามารถ
      6. ส่งคนไปอบรมตามสถาบันต่าง ๆ เช่น บริษัทใหญ่ๆ เช่นNokia ผู้บริหารส่งคนไปเรียน
      7. Guided Reading การพัฒนาในรูปแบบนี้ เป็นลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง แนะนำหนังสือให้อ่าน เช่นหนังสือ Good to Great
      8. Teaching as Learning การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน  นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง โดยให้ "คนเก่ง" เข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น 
      9. Extracurricular Activity การให้ "คนเก่ง" ทำกิจกรรมพิเศษ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา "คนเก่ง" เช่น กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์  กิจกรรมแรงงานสัมพันธ์
     10. E-Learning  การจัดการเรียนรูด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning  เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่หลายองค์การได้นำมาใช้เพื่อกาส่งต่อคามรู้  ทำให้ "คนเก่ง" เข้าถึงแหล่งความรู้
     11. Filling in for a Manager   การลางานหรือการหยุดงานของผู้จัดการในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ต้องการให้มีคนเข้ามารับบทบาทหน้าที่แทน  การมอบหมายงานให้ "คนเก่ง" เข้ามารับบทบาทแทนผู้จัดการที่ลาไป จะช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะการเป็นผู้บริหารให้กับ "คนเก่ง"
     12. Job Shadowing  คือการมอบหมายให้ "คนเก่ง" สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ เช่นการนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างคนที่ทำงานแทนผู้นำโดยตรงในคณะรัฐมนตรี คือรัฐมนตรีเงา

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร(ซึ่งองค์กรจะอยู่ในส่วนขององค์การ คือจุลภาคและมหภาค) หรือวิธีการไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ข้างหน้า
องค์การที่จะเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงต้อง
     1. ความสำคัญของลูกค้า
      2. เอาความสำคัญของลูกค้าไปวางแผนกลยุทธ์
      3. ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์การ
      4. มีการจัดการความรู้ ทักษะของพนักงาน เพื่อทำให้การจัดการบริหารทุนมนุษย์ ทำให้เกิด 
    ประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่ง
       - ความพอใจของลูกค้าหรือประชาชน
       - ความพึงพอใจของคนทำงาน
       - ผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมาย สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ

การวางแผนกลยุทธ์

      ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์
         - การเตรียมการ/วิเคราะห์สภาพแวดล้อม/การกำหนดทิศทางและการวางกลยุทธ์
         - การนำกลยุทธ์ไปใช้  ต้องมีแผนปฏิบัติการ  การปรับปรุง กระบวนงาน  โครงสร้าง เทคโนโลยี  คน
         - การควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์ การติดตาม การตรวจสอบและ    ประเมินผลการดำเนินงานการทบทวนสถานการณ์เพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์ อย่างต่อเนื่อง
      นอกจากนี้จากการเรียนการสอน อาจารย์บอกว่า ถ้าไม่ได้อะไรจริง ๆ ก็ให้ได้ต้นไม้ คือทฤษฎีต้นไม้ที่ว่าด้วย สมรรถนะขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ และด้อยประสิทธิภาพ ซึ่งองค์กรที่มีประสิทธิภาพต้องเน้นการบริหารทรัพยกรมนุษย์ โดยมีการบริหารคนเก่งควบคู่ไปกับการเป็นคนดีมีศีลธรรม การบริหารให้เขาเกิดทักษะความรู้ สร้างภาวะผู้นำให้เกิด พัฒนาด้านประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์ และการประเมินผลการทำงานของทุนมนุษย์
      ท้ายสุดยังฝากข้อคิดเรื่องกระบวนการความคิด ซึ่งจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุมีผล โดยอิงหลักทางพุทธศาสนา 3 ข้อ คือ
         1. สุตะมะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากการได้ยิน  ได้ฟัง ได้อ่าน แหล่งเรียนรู้ เช่น ตำรา คำสอน (แหล่งและสื่อข้อมูล)
         2. จินตะมะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากความตรึก ความนึก ความคิดทั้ง รูปแบบนิรนัย และอุปนัย
         3. ภาวนามะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากการพัฒนาจากการทำให้เกิด ทำให้มีโดยวิธีการวิจัยและพัฒนาทั้งวิจัยร่างกาย และ ภายนอกตัวตน  เช่น  ฝึกสมถะและวิปัสสนา

นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รหัส 50038010040 รปม.รุ่น 4

 

กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ & ทีมงาน  อาจารย์ยม และผู้อ่านทุกท่าน

 

สิ่งที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม เมื่อวันที่  23กุมภาพันธ์  2551  คือ

 

1. ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21  

 

รูปแบบการพัฒนา "คนเก่ง" มี 5 ขั้นตอน

1. การประเมินความรู้ และทักษะ  เป็นการรวบรวม Feedback จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย

2. การวิเคราะห์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล และกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับจากการพัฒนาความรู้และทักษะ   โอกาสในการใช้ความรู้ และทักษะ  เมื่อสรุปได้แล้ว ให้เลือกความรู้ และทักษะที่ต้องการพัฒนาให้คนเก่ง เข้าสู่กระบวนการวางแผนพัฒนา

3. การวางแผนพัฒนา  "คนเก่ง" โดยระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาและอบรม การระบุเวลาที่ต้องใช้ และงบประมาณ ผู้สอน วิธีการที่ใช้ เป็นต้น

4. การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้ มาสู่การดำเนินการ  และให้มีการตรวจติดตามความกว้าหน้า

5. การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลและการให้การ Feedback แก่พนักงาน

 

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน   แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

1. สมรรถนะในการบริหารคน  (HR.  Management)

2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge)

3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ  (working  like  the  Professional  Management  Level)

4. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

 

สมรรถนะในการบริหารคน  (HR.  Management)

- ทักษะในการสื่อสาร  (Communication)

- การประสานสัมพันธ์  (Coordinate activeness)

 

สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge)

- การบริหารการเปลี่ยนแปลง  (Managing  Change)

- การมีจิตมุ่งบริการ  (Customer  Service  Orientation)

- การวางแผนกลยุทธ์  (Strategic  Planning)

 

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

1 Coaching  การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา "คนเก่ง"  ต้องมีครู ผู้ฝึกสอน และผู้แนะแนวทางที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน ให้คำแนะนำ เพื่อความสำเร็จในงาน  ตัวผู้สอน อาจจะมาจากภายนอก หรือภายในองค์การ ตามแต่ความเหมาะสมขององค์การ

2 Job rotation การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์การทำงานใหม่ ๆ และช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่จากฝ่ายงานต่าง ๆ

3 Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรืองานพิเศษให้ทำ  เป็นการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน จะต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบในงาน

4 Task Force Assignment  การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะการรมการ เพื่อพัฒนาความรู้ ประสบการณ์การทำงานใหม่ ๆ  ผู้เข้าร่วมทีมควรจะมีความเป็นผู้ใหญ่ในการทำงาน มีทักษะในเรื่องที่ทำ

5 Internal Education and Training มีการฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม ความรู้ในหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร 

6 Executive Program/External Course Work  การส่ง "คนเก่ง" ไปรับการพัฒนาอบรมภายนอก

7 Guided Reading การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ ที่องค์การแนะนำให้ เพื่อเพิ่มเติมความรู้ ทักษะ 

8 Teaching as Learning การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน 

9 Extracurricular Activity การทำกิจกรรมพิเศษ

10 E-Learning  การเรียนรูด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning 

11 Filling in for a Manager   การลางานหรือการหยุดงานของผู้จัดการเพื่อให้มีคนเข้ามารับบทบาทหน้าที่แทน 

12 Job Shadowing  สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ

 

 

2. การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

 

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานว่าจะนำไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

 

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึงกระบวนการกําหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามกลวิธีที่กำหนดไว้ สามารถนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าประสงค์ที่กําหนดไว้

 

การบริหารคนฉลาด (Talent) ในองค์การ  ยุคคนมีปัญญาดี

- การจำแนก

- ดึงดูดคนเข้ามา

- พัฒนาความรู้

- พัฒนาสมรรถนะ+ศีล สมาธิ สติ ปัญญา

- พัฒนานวัตกรรมการทำงาน การบริการ

- พัฒนาความกว้าหน้าในอาชีพ

 

การนำ  HCM ไปพัฒนางานในองค์การประกอบด้วย

- การพัฒนาหรือการค้นหาผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (Leadership)

- การบริหารคนเก่ง+คนดี (Talent management)

- การเรียนรู้และการพัฒนา(Learning and development)

- การบริหารความรู้ (Knowledge management)

- การบริหารสมรรถนะ (Competency management)

- การบริหารการทำงาน (Performance management)

- การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา (Trust management)

- การบริหารความรัก (Love management)

 

ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์  (Human capital strategy)

- หาคนดีมาผูกใจให้อยู่ในองค์การอยู่ (Acquisition & Retention)

- เรียนรู้และการพัฒนา (Learning and development)

- การจัดการและภาวะผู้นำ (Management and Leadership)

- การจัดการทุนมนุษย์ (Human capital management)

- การทำงานจากทุนมนุษย์ (Human capital performance)

 

สรุปประเด็น  (Human Capital Management) HCM

- จูงใจได้มารักษาคนฉลาด

- การจัดการและภาวะผู้นำ      

- การเรียนรู้และการพัฒนา

- การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์

- การพัฒนาทุนมนุษย์

 

ทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

 

องค์กร ด้อยประสิทธิภาพ

องค์กร ขาดทุนมนุษย์                   

- ไม่ได้บริหารคนเก่ง+ดี

- คนขาดความรู้

- ขาดภาวะผู้นำ

- ขาดการจัดการทุนมนุษย์

- ขาดการวัดผลการทำงานของทุนมนุษย์

 

องค์กร สมรรถนะสูง

ยุทธศาสตร์ บริหารทุนมนุษย์

- บริหารคนเก่ง+ดี

- บริหารความรู้และพัฒนา

- พัฒนาภาวะผู้นำ

- พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

- ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

 

         กล่าวคือ  การกำหนดกลยุทธ์ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะต้องให้แผนกลยุทธ์นั้นมีความเหมาะสม สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ในภาพรวมขององค์กร  ทั้งนี้โดยมีแนวคิดว่าแผนกลยุทธ์ทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานที่จะเอื้ออำนวยให้แผนกลยุทธ์ในระดับองค์กรประสบความสำเร็จ

น.ส.มัลลิกา โสดวิลัย ตัวแทน รปม. รุ่นที่ 4

เรียน  อาจารย์ยม  นาคสุข  เพื่อนๆ รปม. รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

        จากที่ดิฉันได้เรียนและได้ฟังอาจารย์ยม  นาคสุข สอนเกี่ยวกับเรื่อง 1) ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และ  2)  เรื่องการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ในครั้งนี้  ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำกล่าวที่ว่า ไม่มีองค์กรใดที่จะประสบความสำเร็จได้โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน

                       

        ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ   ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่นๆ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ถ้าจะให้คนเก่งต้องมีการฝึกอบรมและพัฒนา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้ทรงคุณวุฒิ อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในวิชาชีพนี้ให้กว้างไกลยิ่งขึ้น โดยใช้รูปแบบการพัฒนา คนเก่ง 5 ขั้นตอน คือ

1.    การประเมินทางด้านความรู้ และทักษะของบุคลากรในหน่วยงาน

2.  การวิเคราะห์ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล และกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับจากการพัฒนาความรู้และทักษะ  

3.  การวางแผนพัฒนา  คนเก่ง  โดยการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนา

4.    การดำเนินการตามแผนที่วางไว้

5.    การประเมินความก้าวหน้าของพนักงาน

       

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

        คนเก่ง (Talent) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวรุ่ง (Star) ” ซึ่งเป็นพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานในขั้นดีเลิศ มีสมรรถนะหลักและมีศักยภาพอยู่ในขั้นสูง ซึ่งมักจะมีจำนวนไม่มากนักในแต่ละองค์กร ดังนั้น องค์กรต่างๆ จึงมีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง โดยใช้วิธีการสอนงาน  การโยกย้ายงาน การฝึกอบรม และการมอบหมายงานพิเศษ ฯลฯ เป็นต้น

 

การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์  เพื่อมุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง จึงมีการจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนำ HCM ไปพัฒนางานในองค์กร เพื่อผลักดันให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศต่อไป

 

องค์กร ด้อยประสิทธิภาพ

องค์กร สมรรถนะสูง

องค์กร ขาดทุนมนุษย์

1. ไม่ได้บริหารคนเก่ง+ดี

2. คนขาดความรู้

3. ขาดภาวะผู้นำ

4. ขาดการจัดการทุนมนุษย์

 

5. ขาดการวัดผลการทำงานของทุน

มนุษย์

ยุทธศาสตร์ บริหารทุนมนุษย์

1. บริหารคนเก่ง+ดี

2. บริหารความรู้และพัฒนา

3. พัฒนาภาวะผู้นำ

4. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

5. ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

        โดยสรุปแล้ว องค์กรต่างๆ ถ้ามีการสูญเสียคนเก่ง-ดี จะก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งบุคลากรที่มีความสามารถและมีศักยภาพสูงในการปฏิบัติงานและยังสูญเสียความรู้และความเชี่ยวชาญในงานที่ติดอยู่กับบุคคลนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้องค์การต่างๆ เริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการคนเก่ง-ดีในองค์กร เพื่อให้องค์กรได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากคนเก่งที่มีอยู่อย่างจำกัด และสามารถรักษาคนเก่ง-ดี เหล่านี้อยู่กับองค์กร รวมถึงสามารถดึงดูดคนเก่ง-ดี จากภายนอกให้เข้ามาอยู่กับองค์กรได้ การบริหารจัดการคนเก่ง จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการในเรื่องนี้

 

สวัสดี ศ.ดร.จีระ ศิษย์รักทุกคน และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ผมติดตามอ่านบทความที่ ศิษย์ทยอยเขียนมา โดยหลักการ ผมได้แจ้งไว้แล้วข้างต้น เกี่ยวกับการวัตถุประสงค์ของการเปิด blog นี้ ว่าเป็นการสรุปบทเรียน และให้คำแนะนำศิษย์ ในประเด็นที่ศิษย์บางท่านสงสัยถามมา หรือหากศิษย์จะแสดงความคิดเห็นใด ๆ ในนี้ ก็ย่อมได้  เพราะยุคนี้ เป็นยุค แบ่งปันความรู้  เป็นยุคแห่งทุนทางปัญญา เศรษฐกิจฐานความรู้  ปัญญานำพาองค์การ ประเทศชาติอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

ขอให้ศิษย์ทุกคน สร้าง รักษา พัฒนา และใช้ทุนทางปัญญา ตามที่ผมได้นำเอาแนวพุทธศาสตร์ ว่าด้วย ปัญญา 3 ซึ่งผมได้รับการถ่ายทอดมาจาก ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง ซึ่งเป็นปรมาจารย์ ผู้ประสิทธประศาสตร์วิชา ความรู้ ประสบการณ์ มรดกทางปัญญา ให้กับผม อีกท่านหนึ่ง นอกเหนือจาก ศ.ดร.จีระ

ผมซึมซับความดีของปรมาจารย์จุดเด่นของคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านมาไว้ในตัวผม ยังมีผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่านที่ผมไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งนับว่าท่านมีคุณวุฒิ คุณงามความดีพอที่ผมได้ยกย่องท่านว่าเป็น อาจารย์ผู้ทรงเกียรติ ผู้มีพระคุณที่ทรงคุณค่า ควรค่าอย่างยิ่งแก่การยกย่องให้เป็น "สุดยอดอาจารย์ในดวงใจของผม"

ศิษย์ที่เรียนกับผมก็ควรพิจารณาอาจารย์ผู้สอน มิใช่แค่ความรู้ ภูมิปัญญา เท่านั้น แต่ควรมองหาคุณค่า ในตัวอาจารย์ ความงาม ความดีของท่าน แล้ว ซึมซับ ไว้เป็นมรดกทางปัญญา เป็นแบบอย่างที่ จะไม่มีวันจม

 

ขอชื่นชม มัลลิกา โสดวิลัย ขนิษฐา พลับแก้ว พระศุภสิน ศักศรีวัน พระมหาวิทยา นางวงค์ ญานิสา เวชโช บัญชา วิริยะพันธ์ พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน ลาวัลย์ ลิ้มนิยม  พ.ต.หญิงประไพศรี บุญรอด จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ ที่จัดเป็นผู้เขียนบทความเกี่ยวกับที่ผมสอน ส่งมาในระดับต้น ๆ มีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่เป็นอย่างดี  สำนวนการเขียน รูปแบบก็มีการพัฒนาดีขึ้น ขอชื่นชม 

การสอบอย่ากังวล อย่าลืมสังจิต ตามที่ผมแนะนำ ทุกวัน ก่อนนอนให้ทำ อ่านหนังสือ ทดลองเขียน "ฝึก ฝืน ข่มใจ" ต้องทำ จึงจะเกิดการพัฒนา    อาจารย์อยากได้ภาพที่พวกเราถ่ายไว้  ใครมีอยู่ช่วยส่ง อีเมล์ให้อาจารย์ด้วย  และใครที่ขอยืมหนังสืออาจารย์ไป รับปากว่าจะติดต่อนำหนังสือมาคืนให้โดยเร็ว  ยังไม่ได้รับการติดต่อใด ๆ ถ้าไม่เอามาคืน จะมีปัญหาน๊ะ

 

ขอให้ศิษย์รักทุกคนโชคดี 

นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์

เรียน   ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ทุกคน  และท่านผู้อ่านทุกท่าน..

 

        ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน 

       

          คำ ๆ นี้  ปรากฎขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551  ที่ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  ได้มาให้ความรู้แก่พวกเราชาว รปม. รุ่น 4   ทำให้เรายิ่งตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์มากยิ่งขึ้นไปอีก 

          ดังนั้น  เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ

 

          ในวันนี้ท่านอาจารย์ยม  ได้ให้ความรู้แก่เราหลายเรื่อง  ท่านสามารถสร้างความสนุกสนานสอดแทรกอยู่ภายในสาระและแก่นประเด็นที่สำคัญได้อย่างแนบเนียนหาตัวจับยาก  ท่านทำให้พวกเราสนใจใฝ่รู้ได้ตลอดเวลาที่ท่านทำการสอน  ซึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงประเด็นใหญ่ 2 ประเด็น  ได้แก่

1)     ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 

2)     การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

 

1.  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

 

          องค์การจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องประกอบด้วยหลายส่วน  การพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนเก่ง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำพาองค์การไปสู่ความสำเร็จได้  ซึ่งรูปแบบการพัฒนา คนเก่ง  มี 5 ขั้นตอน  ได้แก่

1.     การประเมินความรู้และทักษะ   

2.     การวิเคราะห์  หาจุดอ่อน จุดแข็งว่าเป็นอย่างไร 

3.     การวางแผนพัฒนา  หาแนวทางที่จะพัฒนาจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง และพัฒนาจุดแข็งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

4.     การดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้

5.     การประเมินความก้าวหน้า

หากจะทำให้เกิดความยั่งยืน  ควรมีการพัฒนา คนเก่ง เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

 

          ผู้นำ  ควรใช้สมองทั้ง 2 ซีก คิด  นั่นคือ  คิดทั้งเชิงบวกและลบ   พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส  และหากจะเลือกผู้นำ  ผู้นำจะต้องมีสมรรถนะหลัก 4 ประการ ดังนี้

1.     สมรรถนะในการบริหารคน  

-         ต้องสื่อสารเป็น

-         มีมนุษยสัมพันธ์ดี

-         มองคนให้เป็น และเข้าใจถึงจิตใจเขา

-         มี Connection ที่ดีต่อบุคคลในองค์กร

2.     สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

-         รอบรู้ในการวางแผนกลยุทธ์

-         บริหารการเปลี่ยนแปลงได้

-         มีจิตใจมุ่งเน้นการบริการ

3.     สมรรถนะในการบริหารงานแบบมืออาชีพ

-         มีการตัดสินใจที่ดี เหมาะสม

-         มีภาวะผู้นำ

-         มีความคิดเชิงกลยุทธ์  คิดอย่างมีเหตุผล มีเป้าหมาย มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน

4.     สมรรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

-         กำหนดเป้าหมายชัดเจน

-         หวังผลแห่งความสำเร็จ

-         บริหารแบบ CEO

 

 

การฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง มีดังนี้

  1. Coaching  คือ การสอนงาน โดยมีผู้รู้เป็นผู้สอน และแนะนำแนวทางที่ดีมาช่วยเหลือเพื่อให้สามารถดำเนินการได้สำเร็จ
  2. Job rotation  คือ การหมุนเวียน โยกย้ายงานให้เกิดการเรียนรู้ในงานใหม่ๆ อยู่เสมอ
  3. Interim and Emergency Assignments  คือ การมอบหมายเรื่องเร่งด่วนให้ทำ เพื่อพัฒนาทักษะและความรับผิดชอบ
  4. Task Force Assignment  คือ การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการในการแก้ไขปัญหา หรือการกู้วิกฤต ในภารกิจใดภารกิจหนึ่ง เพื่อพัฒนาความรู้ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากทีมงาน
  5. Internal Education and Training  คือ การจัดการอบรม สร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับขีดความสามารถบุคลากรที่องค์กรต้องการ     
  6. Executive Program / External Course Work  คือ การส่งบุคลากรออกไปฝึกอบรม หรือศึกษาระยะสั้น / ยาว  ภายนอกองค์กร
  7. Guided Reading   คือ  การพัฒนาตัวเองโดยการอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและหน่วยงาน ฝึกการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ เพิ่มเติมความรู้อยู่ตลอดเวลา
  8. Teaching and Learning  คือ การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน ในเรื่องต่าง ๆ หรือ การให้คนเก่งสร้างคนเก่ง
  9. Extracurricular Activity  คือ การให้คนเก่ง ทำกิจกรรมสร้างมนุษยสัมพันธ์
  10.  E-learning  คือ การใช้ระบบ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการที่ทันสมัย ใช้ Web-Based Learning
  11.  Filling in for a Manager  คือ มอบหมายให้คนเก่งมารับบทบาทหน้าที่แทนในช่วงที่ผู้บริหารไม่อยู่ โดยบอกกล่าวกันไว้ล่วงหน้า
  12.  Job Shadowing  คือ การให้คนเก่งสังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ ช่วยให้เกิดทักษะด้านการวิเคราะห์

ในยุคปัจจุบัน  การพัฒนาคนจะมีอยู่หลายรูปแบบ  ไม่เฉพาะการฝึกอบรมเท่านั้น  จึงควรจะมีวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถพัฒนาคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคลอบคลุมความสามารถ  

นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์

เรียน  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  ทีมงาน Chira Academy  นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ทุกคน  และท่านผู้อ่านทุกท่าน..

 

        ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน 

       

          คำ ๆ นี้  ปรากฎขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551  ที่ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  ได้มาให้ความรู้แก่พวกเราชาว รปม. รุ่น 4   ทำให้เรายิ่งตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์มากยิ่งขึ้นไปอีก 

          ดังนั้น  เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ

 

          ในวันนี้ท่านอาจารย์ยม  ได้ให้ความรู้แก่เราหลายเรื่อง  ท่านสามารถสร้างความสนุกสนานสอดแทรกอยู่ภายในสาระและแก่นประเด็นที่สำคัญได้อย่างแนบเนียนหาตัวจับยาก  ท่านทำให้พวกเราสนใจใฝ่รู้ได้ตลอดเวลาที่ท่านทำการสอน  ซึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงประเด็นใหญ่ 2 ประเด็น  ได้แก่

1)     ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 

2)     การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

 

1.  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

 

          องค์การจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องประกอบด้วยหลายส่วน  การพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนเก่ง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำพาองค์การไปสู่ความสำเร็จได้  ซึ่งรูปแบบการพัฒนา คนเก่ง  มี 5 ขั้นตอน  ได้แก่

1.     การประเมินความรู้และทักษะ   

2.     การวิเคราะห์  หาจุดอ่อน จุดแข็งว่าเป็นอย่างไร 

3.     การวางแผนพัฒนา  หาแนวทางที่จะพัฒนาจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง และพัฒนาจุดแข็งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

4.     การดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้

5.     การประเมินความก้าวหน้า

หากจะทำให้เกิดความยั่งยืน  ควรมีการพัฒนา คนเก่ง เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

 

          ผู้นำ  ควรใช้สมองทั้ง 2 ซีก คิด  นั่นคือ  คิดทั้งเชิงบวกและลบ   พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส  และหากจะเลือกผู้นำ  ผู้นำจะต้องมีสมรรถนะหลัก 4 ประการ ดังนี้

1.     สมรรถนะในการบริหารคน  

-         ต้องสื่อสารเป็น

-         มีมนุษยสัมพันธ์ดี

-         มองคนให้เป็น และเข้าใจถึงจิตใจเขา

-         มี Connection ที่ดีต่อบุคคลในองค์กร

2.     สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

-         รอบรู้ในการวางแผนกลยุทธ์

-         บริหารการเปลี่ยนแปลงได้

-         มีจิตใจมุ่งเน้นการบริการ

3.     สมรรถนะในการบริหารงานแบบมืออาชีพ

-         มีการตัดสินใจที่ดี เหมาะสม

-         มีภาวะผู้นำ

-         มีความคิดเชิงกลยุทธ์  คิดอย่างมีเหตุผล มีเป้าหมาย มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน

4.     สมรรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

-         กำหนดเป้าหมายชัดเจน

-         หวังผลแห่งความสำเร็จ

-         บริหารแบบ CEO

 

 

การฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง มีดังนี้

  1. Coaching  คือ การสอนงาน โดยมีผู้รู้เป็นผู้สอน และแนะนำแนวทางที่ดีมาช่วยเหลือเพื่อให้สามารถดำเนินการได้สำเร็จ
  2. Job rotation  คือ การหมุนเวียน โยกย้ายงานให้เกิดการเรียนรู้ในงานใหม่ๆ อยู่เสมอ
  3. Interim and Emergency Assignments  คือ การมอบหมายเรื่องเร่งด่วนให้ทำ เพื่อพัฒนาทักษะและความรับผิดชอบ
  4. Task Force Assignment  คือ การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการในการแก้ไขปัญหา หรือการกู้วิกฤต ในภารกิจใดภารกิจหนึ่ง เพื่อพัฒนาความรู้ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากทีมงาน
  5. Internal Education and Training  คือ การจัดการอบรม สร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับขีดความสามารถบุคลากรที่องค์กรต้องการ     
  6. Executive Program / External Course Work  คือ การส่งบุคลากรออกไปฝึกอบรม หรือศึกษาระยะสั้น / ยาว  ภายนอกองค์กร
  7. Guided Reading   คือ  การพัฒนาตัวเองโดยการอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและหน่วยงาน ฝึกการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ เพิ่มเติมความรู้อยู่ตลอดเวลา
  8. Teaching and Learning  คือ การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน ในเรื่องต่าง ๆ หรือ การให้คนเก่งสร้างคนเก่ง
  9. Extracurricular Activity  คือ การให้คนเก่ง ทำกิจกรรมสร้างมนุษยสัมพันธ์
  10.  E-learning  คือ การใช้ระบบ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการที่ทันสมัย ใช้ Web-Based Learning
  11.  Filling in for a Manager  คือ มอบหมายให้คนเก่งมารับบทบาทหน้าที่แทนในช่วงที่ผู้บริหารไม่อยู่ โดยบอกกล่าวกันไว้ล่วงหน้า
  12.  Job Shadowing  คือ การให้คนเก่งสังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ ช่วยให้เกิดทักษะด้านการวิเคราะห์

 

          ในยุคปัจจุบัน  การพัฒนาคนจะมีอยู่หลายรูปแบบ  ไม่เฉพาะการฝึกอบรมเท่านั้น  จึงควรจะมีวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถพัฒนาคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคลอบคลุมความสามารถ 

 

 

สรุป  :          ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

1.     ต้องรู้ว่าคนต้องการอะไร

2.     ต้องมีโมเดลการพัฒนาคน ว่าจะต้องพัฒนาอะไรบ้าง

3.     วิธีการพัฒนา คน ให้เป็นคนเก่งมีอะไรบ้าง

 

 

 

2.  การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

          กลยุทธ์  คือ  วิธีการที่จะดำเนินไปตามเป้าหมายอย่างประสบความสำเร็จ

          กลยุทธ์และยุทธศาสตร์  (Strategy)  มีความหมายเหมือนกัน  คำว่า ยุทธศาสตร์  แต่เดิมเป็นคำที่ใช้ในวงการทหาร  ส่วนในหน่วยงานต่าง ๆ จะใช้คำว่า กลยุทธ์  หรือขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้น ๆ ว่าจะใช้อย่างไร 

 

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง เพื่อมุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง 

1.     ความต้องการของลูกค้า

2.     การวางแผนกลยุทธ์

3.  คำนึงถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย

          4.  วัด วิเคราะห์

5.  บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์

6.  การพัฒนากระบวนการ

7.  CEO = ความพอใจของลูกค้า  ความพอใจของพนักงาน และผลประกอบการ

     เป็นไปตามเป้าหมาย

8.  วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

 

 

การจัดการเชิงกลยุทธ์  คือ?

          กระบวนการบริหาร การทำงาน ดำเนินภารกิจเพื่อไปสู่เป้าหมายให้ได้ โดยการกำหนดภารกิจ เป้าหมาย มีวิธีการที่เหมาะสม  มีการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนด  เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

 

 

การนำทุนมนุษย์ไปพัฒนางาน 7 ยุทธศาสตร์

1.     ยุทธศาสตร์การบริหารคนเก่ง คนดี  (Talent management)

2.     ยุทธศาสตร์การเรียนรู้และการพัฒนา  (Learning and development)

3.     ยุทธศาสตร์การบริหารความรู้ในองค์การ  (Knowledge management)

4.     ยุทธศาสตร์การบริหารสมรรถนะ  (Competency management)

5.     ยุทธศาสตร์การบริหารการทำงาน  (Performance management)

6.     ยุทธศาสตร์การบริหารความเชื่อมั่น ศรัทธา  (Trust management)

7.     ยุทธศาสตร์การบริหารความรัก  (Love management)

 

          อำนาจ  มีอำนาจก็ต้องสร้าง  ต้องรักษา และต้องใช้  อำนาจสร้างได้ 5 อย่าง

          1.  สร้างได้จากการให้   ให้โอกาส  ให้อภัย  ให้สถานที่ทำงานที่ดี ฯลฯ

          2.  สร้างได้จากการตำหนิ   ตำหนิเพื่อความปรารถนาดี

          3.  สร้างได้ด้วยความเป็นผู้รู้มากกว่า   เห็นผู้รู้มากกว่า จนเป็นที่ยอมรับจากองค์กร  แต่ อย่าลืมตัว

          4.  สร้างได้ด้วยการใช้อำนาจอ้างอิง   อ้างอิงนโยบายต่าง ๆ ที่มีอยู่จริง มาใช้ในการบริหาร

          5.  สร้างได้โดยอาศัยอำนาจตามนิติกรรม   ต้องวางตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งนั้น ๆ

 

          หากทำอย่างต่อเนื่องและถูกต้องเหมาะสม อำนาจ  ก็จะกลายเป็น บารมี  ทั้ง 5 อย่างสามารถใช้ได้ทั้งในองค์กร หน่วยงาน  ครอบครัว  เพื่อน และสังคมทั่วไป 

 

   

  

 

สรุป  :          การบริหารทุนมนุษย์

                   1.  จูงใจได้มารักษาคนฉลาด

                    2.  การจัดการและภาวะผู้นำ       

                   3.  การเรียนรู้และการพัฒนา

                   4.  การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์

                   5.  การพัฒนาทุนมนุษย์

 

 

 

 ทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

 

องค์กร ด้อยประสิทธิภาพ

องค์กร สมรรถนะสูง

องค์กร ขาดทุนมนุษย์                   

- ไม่ได้บริหารคนเก่ง+ดี

- คนขาดความรู้

- ขาดภาวะผู้นำ

- ขาดการจัดการทุนมนุษย์

- ขาดการวัดผลการทำงานของทุนมนุษย์

 

ยุทธศาสตร์ บริหารทุนมนุษย์

- บริหารคนเก่ง+ดี

- บริหารความรู้และพัฒนา

- พัฒนาภาวะผู้นำ

- พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

- ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

สายฝน ด้วงทอง รปม.รุ่น4

สวัสดีค่ะ อาจารย์ยม เพื่อน ๆรปมรุ่น 4  และท่านผู้ที่ได้เข้ามาอ่านในที่นี้ จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์ยมไปเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งได้แบ่งเป็น 2 ช่วง คือในภาคเช้า อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะกล่าวถึง รูปแบบพัฒนา คนเก่ง ที่มี 5 ขั้นตอน การสร้างสมรรถนะ หลักของผู้นำ รวมถึงวิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

                ส่วนในภาคบ่าย อาจารย์ยม ได้อธิบายเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์  อาทิเช่น การวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง ที่มุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ เป็นต้น

จากการได้ฟัง อาจารย์ทำให้ความ แง่คิดและความรู้ คือ

1.       ทำให้ดิ ฉันได้รู้ แนวโน้มว่าต่อไปว่า คนจะมีความสำคัญมากขึ้นในองค์กร และจะทำอย่างไรให้บุคลากรเป็นคนเก่ง คนดี และอยู่กับองค์กร

2.       ทำให้ทราบว่า การจะพัฒนาคนนั้นให้เก่งขึ้น ควรจะพัฒนาทางใดก่อน

3.       ทำให้ทราบว่า การจะทำอะไรก็ตามควรมีการวางแผน วิธีการทำงานให้ชัดเจน  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ลดการซ้ำซ้อนและผิดพลาด

4.       ทำให้ทราบว่า นอกจากการจะพัฒนาองค์กรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้ามากระทบกับองค์กรด้วย

สุดท้ายนี้ต้อขอขอบคุณอาจารย์ยม ที่มาสอน ให้พวกเราได้ความรู้ในสิ่งใหม่ ๆ ได้แง่คิดที่ดี เช่น ทฤษฎีต้นไม้  ซึ่งเป็นประโยชน์กับพวกเราเป็นอย่างมาก

สุภานุช นุพงค์ รหัส 50038010022 เลขที่ 22 รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

เรียน  อาจารย์ยม  นาคสุข  เพื่อนๆ รปม. รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

         ประเทศไทยซึ่งยังอ่อนแอทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก ไม่ว่าจะดูดัชนีชี้วัดตัวไหนก็ตาม แต่ก็ได้พยายามที่จะสร้างความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา จะได้ประโยชน์อย่างมากมายหากมีการตั้งศูนย์วิจัยและส่งงานระดับสูงมาให้บุคลากรของประเทศไทยทำ เพราะจะช่วยให้เราได้สร้างประสบการณ์และเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในระดับแนวหน้า ซึ่งอาจช่วยให้เราพัฒนาความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดดได้ และที่สำคัญมากก็คือ จะช่วยให้เกิดมีการลงทุนของบริษัททั้งข้ามชาติและในประเทศมากขึ้น ตลอดจนจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของเราเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ที่คนไทยอยากเห็นได้เร็วขึ้น

          ประเทศไทยมีโอกาสจะรับทำงานระดับสูงที่ใช้ความรู้ และเป็นที่ตั้งศูนย์วิจัยของบริษัทต่างชาติได้หรือไม่นั้น? คำตอบก็คือ ได้ แต่คงต้องเริ่มในเรื่องที่เรามีจุดแข็ง เน้นให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านนี้ให้คุณภาพสูงและมีจำนวนพอเพียง และต้องถือว่าเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสนับสนุนโดยทำงานในลักษณะบูรณาการ

 การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

                กลยุทธ์  คือ  วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือแผนของผู้บริหารระดับสูงที่จะนําไปสู่ผลลัพธ์ต่างๆที่สอดคล้องกับภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร

                การวางแผนกลยุทธ์  คือ เป็นการวางแผนที่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ มีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทำงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง สำหรับการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการระบบการทำงานที่คล่องตัว ต้องการดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนำสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อความอยู่รอด (Survive) และความก้าวหน้า (Growth) ขององค์การ ของหน่วยงาน หรือของธุรกิจของตนในอนาคต

                              ขอบพระคุณ อาจารย์ยม  นาคสุขค่ะ

พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4

เจริญพร อาจารย์ยม นาคสุข นักศึกษารปม.รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน

จากการเรียนเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551   

เรื่องแนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้

1.  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคศตวรรณที่ 21  ซึ่งถือได้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังมีผู้รู้กล่าวไว้ว่าไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน  คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญขององค์กร ดังนั้นเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากที่จะนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับคนเท่านั้น โดยเฉพราะในศตวรรษที่ 21   และเพื่อให้องค์กรได้ผู้นำที่ดี คนที่มาร่วมงานจึงต้องมีการะประเมินเสียก่อน ดูได้จากลักษณะดังต่อไปนี้

คุณลักษณะที่มักใช้ประเมินบุคลากร

-    ภาวะผู้นำ ต้องเป็นคนดีและคนเก่ง

-    การสื่อสาร  เข้าใจง่าย จากที่ยากให้เป็นง่าย รวมทั้งพูดภาษาอังกฤษได้ยิ่งดี

-   การวางแผน ทำงานภายใต้ความกดดันได้เมื่อเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้าเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

-   การตอบสนอง ต่อความเครียด  รู้จักผ่อนคลายอารมณ์ เปิดโอกาสให้คนอื่นได้แสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็ตาม รับฟังได้

-    แรงจูงใจ การกระตุ้นในการทำงานจากองค์กร ให้ทำงานด้วยความศรัทธาต่อองค์กร มีความจงรักภักดี ไม่หนีไปทำงานทื่อื่น เช่นการให้โบนัส สวัสดีการต่างๆ

-    ศักยภาพในการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ใฝ่หาความรู้

-   พลังในการทำงานสมรรถนะ เป็นคนช่างคิดช่างทำต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ไม่ท้อต่อการทำงาน ทำงานนอกเวลาได้ ทำงานได้มากกว่าคนอื่น

-    การตัดสินใจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีจุดโฟกัส เจาะจงไปที่เป้าหมายของเรา ไม่เอนเอียงต่อส่งที่ไม่ดี

-    การจัดการ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด และคุ้มค่า คล่องตัว ว่องไว ทันต่อสถานการณ์ คิดแล้วลงมือปฏิบัติ

-     การวิเคราะห์ เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เรื่องนั้นเป็นเรื่องใหม่ ไม่เป็นเรื่องเก่า การวิเคราะห์อยู่พื้นฐานความจริง

 

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด และคุ้มค่า คล่องตัว ว่องไว ทันต่อสถานการณ์ คิดแล้วลงมือปฏิบัติผู้นำจึงต้องมีหลักสมรรถนะ ดังนี้

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

 

            1.  สมรรถนะในการบริหารคน (HR.Management)

                        -  ทักษะในการสื่อสารที่ดี พูดได้คล่อง ได้หลายภาษา

                        - การประสานสัมพันธ์ต่อภายในองค์กรและภายนอกองค์กร

                         

            2.  สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General  Management  Knowledge)

                        -  มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพราะในยุคนี้เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเร็ว

                        -  มีจิตมุ่งบริการ  เอาใจใส่ต่อผู้รับบริการ ดูแลเสมือนเป็นลูกค้าของเรา ให้คำแนะนำ ปรึกษาหารือ แก้ไขปัญหา

                        -  มีการวางแผนกลยุทธ์  คือมีวิธีการดำเนินที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

                        - ศึกษา  Innovation เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง

 

            3.  สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (working  like  the  Professional  Management Level)

                        -  การตัดสินใจ อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง

                        -  ความเป็นผู้นำ ที่ดีและเก่ง

                        -  การคิดเชิงกลยุทธ์    คิดนอกกรอบ มุ่งผลสำเร็จ มีทิศทางการเดินหมายถึงการทำงาน

 

            4.  สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

                        -  การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

                        -  การบริหารทรัพยากร

                        -  การบริหาร  CEO  Customer Empoyee Organzation 

                                   C  ความพึงพอใจของลูกค้า  ถ้าหน่วยงานราชการคือความพึงพอใจของประชาชน

                                    E  ความพึงพอใจของทีมงาน  ของพนักงาน

                                    O  ผลประกอบการณ์ออกมาเป็นไปตามเป้าหมาย ความสำเร็จขององค์กร

 

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

 1.  Coaching  การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา คนเก่ง  ที่ดีใช้ คนเก่ง  เป็นที่ปรึกษา  เป็นครูผู้ฝึกสอน  แนะนำแนวทางที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน  ตัวผู้สอนอาจมาจากภายนอก หรือภายในองค์กรตามแต่ความเหมาะสม

 

2.  Job rotation  การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์ และความรู้ใหม่ ๆ ในองค์กร

 3.  Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรืองานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน

 4.  Task Force Assignment  มอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมงาน เพ่อให้เขารู้จัดการทำงานเป็นทีม บริหารงานเป็น แก้ปัญหาได้

 5.  Internal Education and Training การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม

 6.  Executive Program/External Course Work การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์การเพื่อกลับมาพัฒนาองค์การ

 7.  Guided Reading การพัฒนาในรูปแบบนี้ เป็นลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ ที่องค์การแนะนำให้ เพื่อเพิ่มเติมความรู้ ทักษะ  ทั้งนี้ เพราะ คนเก่ง มักเป็นผู้ที่กระตือรือร้นมีแรงจูงใจในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

 8.  Teaching as Learning  การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งโดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น โดยสอนทักษะการสื่อสาร  สร้างความเชื่อมั่น  สร้างภาวะผู้นำ  เน้นประสบการณ์ให้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ 

 9.  Extracurricular  Activity  พัฒนาให้ทำกิจกรรมพิเศษ  ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  เพื่อให้เกิดการพัฒนา  เช่น  กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์  เน้นมนุษยสัมพันธ์  สร้างภาพพจน์  ภาพลักษณ์

 10. E-Learning  การจัดการเรียนรูด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning  เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่หลายองค์การได้นำมาใช้เพื่อกาส่งต่อคามรู้  ทำให้ "คนเก่ง" เข้าถึงแหล่งความรู้

 11. Filling in for a Manager   การมอบหมายงานให้ "คนเก่ง" เข้ามารับบทบาทแทนผู้จัดการที่ลาไป จะช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะการเป็นผู้บริหารให้กับ "คนเก่ง"

 12. Job Shadowing  คือการมอบหมายให้ "คนเก่ง" สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ หรือก็คือรัฐมนตรีเงา เมื่อเทียบกับรัฐบาล

 2.   การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรกมนุษย์

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร  หรือวิธีการไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ข้างหน้า
 ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

การจัดการเชิงกลยุทธ์  8  เรื่องมุ่งสู่องค์การสมรรถภาพสูง

1. ความต้องการของลูกค้า 

2. การวางแผนกลยุทธ์- ยุทธวิธี 

3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย 

4. การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 

5. การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์ 

6. การพัฒนากระบวนการ 

7. ความพึงพอใจของลูกค้า  ความพึงพอใจของทีมงาน  ผลประกอบการ 

8. วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

ขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ์

1. เตรียมการ วิเคราะห์สภาพแวดล้อม กำหนดทิศทาง กำหนด กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ

2. การนำกลยุทธ์ไปใช้ แผนปฏิบัติการปรับปรุง

- กระบวนงาน

- โครงสร้าง

- เทคโนโลยี

- คน

3. การควบคุมและการตรวจสอบกลยุทธ์

- การติดตาม

- การทบทวนสถานการณ์เพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์

Henry  Mintzberg   ได้ใช้หลัก 5 p  อธิบายความหมายของกลยุทธ์ ได้แก่

1. กลยุทธ์คือ แผน Plan

2. กลยุทธ์คือ แบบแผนหรือรูปแบบ Pattern

3. กลยุทธ์คือ การกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง Position

4. กลยุทธ์คือ ทัศนภาพ Perspective (ภาพที่ต้องการในอนาคต

5. กลยุทธ์คือ กลวิธีในการเดินหมาก Play (กลวิธีเดินไปสู่เป้าหมายอย่างมีสติรอบคอบมีการวัดผล

สรุปกลยุทธ์ คือแผนที่จะไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

            กลยุทธ์ หมายถึงวิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

Michael  E, Porter  ได้ให้แนวคิดว่ากลยุทธ์ในการบริหารมี  3  ประเภท

1.   กลยุทธ์ที่เน้นต้นทุนต่ำ

2.   เน้นสร้างนวัตกรรม ความแตกต่าง เพื่อให้เหนือชั้นกว่า

3.   เน้นที่ลูกค้า  กลุ่มเป้าหมาย

 สรุปประเด็น  Human Capial  Managment

1. จูงใจได้มารักษาคนฉลาด

2. การจัดการและภาวะผู้นำ

3. การเรียนรู้และการพัฒนา

4. การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์

5. การพัฒนาทุนมนุษย์ ด้านความรู้ทักษะ สมรรถนะ

การกำหนดยุทธศาสตร์ ควรศึกษาปัญหา จากปัญหาในองค์กรให้แก้ไข และป้องกันปัญหา โดยศึกษาจากสาเหตุของปัญหาจากแนวคิดทฤษฏี Objective Three ต้นไม้แห่งปัญหา  ต้นไม้แห่งความสำเร็จ

ทฤษฏีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

องค์กรที่ด้อยประสิทธิภาพ

องค์กรสมรรถภาพสูง

1. ไม่ได้บริหารคนเก่ง+คนดี

2. คนขาดความรู้

3. ขาดภาวะผู้นำ

4. ขาดการจัดการทุนมนุษย์

5. ขาดการวัดทุนมนุษย์

1. บริหารคนเก่ง+คนดี

2. บริหารความรู้และพัฒนา

3. พัฒนาภาวะผู้นำ

4. พัฒนาประสิท ธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

5. ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

นางวีรยาพร อาลัยพร

กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์  และอาจารย์ยม นาคสุข

 

และ สวัสดีท่านอาจารย์ทุกท่าน    รวมทั้งท่านผู้อาน Blog   และเพื่อนร่วมร่นสวนสุนันทา รปม.   รุ่น 4  ทุกคน

 

                ก่อนอื่น ๆ ดิฉันต้องขอโทษอาจารย์ ยม นาคสุข  ที่ดิฉันได้ส่ง Blog ของท่านอาจารย์ช้าไป เนื่องจากติดภารกิจทางราชการอยู่

 

                จากการเรียนกับท่านอาจารย์ยม นาคสุข ในวันเสาร์ที่ 23  กุมภาพันธ์  2551 นั้น  อาจารย์ได้แยกเนื้อหาการสอนเป็นสองประเด็น ซึ่งในช่วงเช้าอาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่อง  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่คือในยุคศตวรรษที่ 21  ส่วนในช่วงบ่ายอาจารย์ได้พูดถึง การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

                ซึ่งจะเห็นได้ว่า เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ ดังคำกล่าวที่ว่า ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน  ดังนั้นโมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่ง นั้น มีรูปแบบการพัฒนา อยู่ 5 ขั้นตอน คือ

1.    การประเมินความรู้ และทักษะ เป็นการรวบรวมแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย

2.    การวิเคราะห์  เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและกำหนดผลที่คาดว่าองค์กรจะได้รับจากการพัฒนา

3.    การวางแผนพัฒนา คนเก่ง ต้องระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาและอบรม

4.    การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้มาสู่การดำเนินการและให้มีการตรวจติดตามความก้าวหน้า

5.    การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลและการให้การFeed back แก่พนักงาน

เมื่อได้รูปแบบแล้วก็ต้องมีวิธีการฝึกอบรมและการพัฒนาคนเก่งด้วย โดยคนเก่งนั้น หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวรุ่ง ก็ได้ ซึ่งเป็นบุคลากรขององค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในขั้นดีมาก มีศักยภาพสูง องค์กรสามารถที่จะทุ่มเทเพื่อให้บุคลากรเหล่านี้ได้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างดีเลิศ เพื่อจะได้กลับมาพัฒนาและทำประโยชน์ให้องค์กรบรรลุเป้าหมายไปสู่ผลสำเร็จที่ได้วางไว้  ซึ่งมีจำนวนไม่มากนักในองค์กร ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ จึงต้องมีการฝีกอบรมและการพัฒนาคนเก่ง โดยการสอนงาน หรือ (Coaching)  การโยกย้ายฝ่ายงาน การมอบหมายงานที่พิเศษให้ การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีม หรือคณะกรรมการ ตลอดจนถ้าเขาอ่อนในหลักสูตรใด ก็หาหลักสูตรที่สอดคล้องกับขีดความสามารถมาอบรมให้ รวมทั้งให้มีการออกไปอบรมภายนอกตามสถาบันต่าง ๆ ด้วย ตลอดจนแนะนำหนังสือให้อ่าน การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ Internet หรือ E-Learning ฯลฯ เป็นต้น

สำหรับทางด้านการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์นั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงกลยุทธ์ก่อนว่า กลยุทธ์คืออะไร กลยุทธ์ก็คือ แผน แบบแผนหรือรูปแบบ การกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง ทํศนภาพ และกลวิธีในการเดินหมาก ซึ่งโดยรวมทั้งหมดแล้ว กลยุทธ์  หมายถึง การทำงานที่วางแผน วิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ดังนั้นจึงมีการจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง  โดยมีการนำ HCM ไปพัฒนางานในองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้วางไว้ และประสบความสำเร็จ  ซึ่งประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์  ดังทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

 

องค์กร  ด้อยประสิทธิภาพ

   องค์กร  สมรรถนะสูง

   องค์กร ขาดทุนมนุษย์

1.    ไม่ได้บริหารคนเก่ง + ดี

2.    คนขาดความรู้

3.    ขาดภาวะผู้นำ

4.    ขาดการจัดการนมนุษย์

5.    ขาดการวัดผลการทำงานของทุนมนุษย์

ยุทธศาสตร์ บริหารทุนมนุษย์

1.    บริหารคนเก่ง + ดี

2.    บริหารความรู้และพัฒนา

3.    พัฒนาภาวะผู้นำ

4.    พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

5.    ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

 

                ดังนั้นองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ก็ด้วย คน  ซึ่งคนนั้นจะต้องเป็นคนเก่งและมีการพัฒนาความรู้ ใฝ่รู้ หาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ มีการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ และมีการติดตามประเมินผลของการบริหารอยู่เสมอ ๆ รวมทั้งมีภาวะการเป็นผู้นำและที่ขาดไม่ได้ที่สำคัญคือต้องมีทุนมนุษย์ของการทำงาน จึงจะสามารถพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้ นั่นก็คือ องค์กรที่มีสมรรถนะสูงนั่นเอง

กราบสวัสดี ศ.ดร.จีระ อาจารย์ยม และสวัสี้พื่อนๆทุกคนค่ะ

1. อุปสรรคในการสร้างสรรค์ Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

ตอบ    Innovation หรือ นวัตกรรม หมายถึง การสร้างสรรค์โดยใช้ความคิด ความรู้ที่มีและเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน ผลิตแล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นการสร้างเพื่อพัฒนาสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น

          Learning Organization หมายถึง องค์กรแห่งการเรียนรู้

          HR หมายถึง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงานนั้นเป็นการสร้างองค์กรให้มีความเข้มแข็ง มีการพัฒนาที่รวดเร็วเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดนั้น เช่น ในหน่วยงานราชการไม่มีการจัดการฝึกอบรมข้าราชการที่บรรจุใหม่ เพราะระบบราชการนั้นคิดว่าเขาบรรจุเข้ามาแล้วก็มาเรียนรู้วัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันต่อมาเอาเอง ทำให้ข้าราชการบรรจุใหม่ได้รับความเฉื่อยชา ซึ่งเป็นโรคติดต่อกันในระบบราชการเป็นอย่างมาก การพัฒนาระบบราชการใหม่ก็ต้องสร้างข้าราชการพันธุ์ใหม่ที่จะมาเป็นตัวขับเคลื่อนระบบราชการให้มีการดำเนินงานที่ต้องสร้างประโยชน์ให้เกิดกับสังคม เมื่อสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้ข้าราชการพันธุ์ใหม่ทราบถึงเป้าหมายขององค์กร ทราบยุทธศาสตร์ แนวทางการดำเนินงานที่แท้จริง ก็จะช่วยให้องค์กรเกิดการก้าวกระโดดที่รวดเร็วและสร้างคุณค่ามากขึ้น

          ในระบบราชการมีการดำเนินงานที่เป็นระเบียบแบบแผนและไม่มีการสร้างแนวทางการดำเนินงานที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่มีการเปิดประเด็นให้ข้าราชการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อนำมาใช้ในทำงาน มีลำดับสายการบังคับบัญชาที่ยืดยาว ข้าราชการมีความเฉื่อยชาในการทำงาน เพราะรู้อยู่แล้วว่าเมื่อไม่ได้ทำผิดวินัยก็ไม่มีสิทธิถูกไล่ออกจากราชการ การพัฒนาศักยภาพของข้าราชการเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาหน่วยงานก็เป็นไปได้ยาก ดังนั้นเมื่อสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงเป็นไปได้ยาก เพราะข้าราชการไม่มีความต้องการในการนำความรู้ไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กร การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เกิดขึ้นนั้นต้องมีการแก้ไข ปรับสภาพการทำงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้ข้าราชการมีความกระตือรือร้น สนใจในการงานที่ทำอยู่ ในระยะแรกควรนำรางวัลมาเป็นสิ่งจูงใจ เช่น หน่วยงานในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรต้องจัดการฝึกอบรม PMQA  หรือ COP เพื่อนำความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง การจัดอบรมการเสนอหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเป็นการลดปัญหาในการแก้ไขหนังสือให้น้อยลงงานจะดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว การบริหารงานสารบรรณของแต่ละหน่วยงานต้องจัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบพร้อมต่อการค้นหาและง่ายต่อการนำมาใช้ การฝึกพัฒนาด้านภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานเพื่อการติดต่อสื่อสารเพราะบางหน่วยงานต้องมีการติดต่อสื่อสารกับองค์กรในต่างประเทศเพื่อสร้างความมั่นใจในการทำงาน เมื่อข้าราชการทราบว่าการจัดการฝึกอบรมนั้นมีประโยชน์และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง การฝึกอบรมนั้นจึงไม่ศูนย์เปล่า

        เมื่อระบบราชการได้สร้างสรรค์บุคลากรที่มีคุณภาพเหมาะแก่การพัฒนาแล้วนั้น การสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆก็จะเกิดขึ้น เพื่อนำพาองค์กรไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม เมื่อทราบวัตถุประสงค์ขององค์กร การดำเนินงานในเรื่องอื่นเพื่อพัฒนาองค์กรก็จะเป็นไปได้ง่าย เพราะการสร้างนวัตกรรมต้องใช้ความรู้และความต้องการที่จะได้รับสิ่งที่ดีกว่าเดิมมาเป็นเป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่

2. ดูเทป Innovation แล้วได้อะไรบ้าง

ตอบ    Innovation นวัตกรรม หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่มนุษย์สร้างโดยใช้ความรู้ ปัญญาและความสามารถ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นแล้วนำมาปฏิบัติได้จริงและมีผู้บริโภคมาเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้บริโภค เช่น การนำประเทศจีนและอินเดียมาเปรียบเทียบกันในด้านการสร้างสรรค์สิ่งมีคุณค่าแก่ประเทศแล้วนำพาประเทศไปสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ โดยจีนมีการพัฒนานวัตกรรมในทุกพื้นที่ของประเทศทำให้ประเทศมีการพัฒนาที่ดีขึ้น ส่วนอินเดียมีการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมเพียงบางพื้นที่ของประเทศทำให้อินเดียมาการเติบโตของประเทศที่ช้ากว่าจีน ดังนั้น อินเดียจึงต้องสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม

          นวัตกรรมทำให้เราทราบการเปลี่ยนแปลงของประเทศต่างๆ นวัตกรรมทำให้มีการพัฒนาโลกให้ไปสู่ยุคที่มีความเพียบพร้อม นวัตกรรมจะเกิดผลได้ต้องมีการวิจัย ซึ่งการวิจัยจะทำให้ทราบผลดี ผลเสียของแนวคิดนั้นๆ ส่วนใหญ่การพัฒนาจะเกี่ยวข้องกับการศึกษา การพัฒนาสังคม การเสริมสร้างวัฒนธรรม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในสิ่งต่างๆ ผู้ที่ริเริ่มการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติ  ก็ต้องทราบถึงวิธีการ หลักการ ดังนั้น บุคลากรขององค์กรจะมีคุณภาพนำพานวัตกรรมใหม่มาใช้ได้นั้นก็ต้องมีการพัฒนาด้วยเช่นเดียวกัน การพัฒนาบุคลากรอาจเป็นการเข้ารับการฝึกอบรม การให้ปฏิบัติงานจริง ทำให้การนำนวัตกรรมมาปฏิบัติเกิดประสิทธิผลมากที่สุดส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่มีคุณค่าและมีความพึงพอใจในผลผลิตนั้นๆ

นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

ข้อ ๑ ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑
    
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การเสริมสร้างให้บุคลากรขององค์การมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ (Learning) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในการทำงานได้ และสามารถที่จะรับผิดชอบงานที่สูงขึ้นได้ในอนาคต
     สรุป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรทั้งในระยะสั้น และระยะยาวเพื่อเพิ่มพูนความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และปรับทัศนคติ (Attitude) ของบุคลากร เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายในองค์กร
     - การเตรียมบุคลากรให้เหมาะกับงาน
     - การวางแผนอาชีพ
     - การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร
     - การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีภายในองค์การ
     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายนอกองค์กร
     - เศรษฐกิจ ภายใน และภายนอกประเทศ
     - สังคม  วัฒนธรรม  การเมือง
     - เทคโนโลยี
     - สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยา

ข้อ ๒ คนที่จะอยู่รอดในอนาคตต้องมีภาวะเป็นแบบใด
    
ปัจจุบัน สถาบันการศึกษา ต่างผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมมากมาย ส่งผลให้มีการแข่งขันสูง เพื่อความอยู่รอดในสังคม จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเอง เพื่อความเป็นผู้นำ และการมีบุคลิกลักษณะของการเป็นผู้นำ จะทำให้ผู้อื่นหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความศรัทธาเชื่อถือและให้ความไว้วางใจ ส่งผลต่อความอยู่รอดในอนาคต
     บุคลิกลักษณะของมนุษย์ ๔ ประเภท คือ
     ๑. สติปัญญา (Intelligence) คือ ความสามารถในการที่จะศึกษาและเข้าใจได้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เคยผ่านมา อันนี้เป็นบุคลิกลักษณะที่ผู้นำควรมีไว้อย่างมากทีเดียว เพราะนอกจากจะทำให้เกิดคุณลักษณะอย่างอื่น ๆ แก่ตนเองแล้ว ยังสามารถใช้สติปัญญานี้วินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบแหลมและทันท่วงทีอีกด้วย
     ๒. อุปนิสัย (Character) คือ แบบลักษณะของบุคคลซึ่งแสดงให้เห็นทางอาการกริยาซึ่งคุณสมบัติอันเป็นนิสัยประจำตัวของมนุษย์เรานั่นเอง อุปนิสัยส่วนหนึ่งได้จากธรรมชาติคือได้จากการสืบสายโลหิตมาเพียง ๕ - ๘ เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น นอกจากนั้นอบรมแก้ไขกันได้
     ๓. อารมณ์ (Temperament) คือ กรอบของความรู้สึกนึกคิดและความต้องการตามธรรมชาติอารมณ์นี้จึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจจากประสาททั้ง ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส โดยที่ประสาททั้ง ๕ นี้จะส่งอาการต่าง ๆ ที่รับมาไปยังอารมณ์ ต่อจากนั้นอารมณ์ก็จะส่งอาการไปบังคับ หรือควบคุมจิตใจให้ทำอะไรตามความประสงค์ ฉะนั้นอารมณ์จึงมีความสำคัญต่อการเป็นผู้นำมาก เพราะเกี่ยวกับการบังคับตนเอง เมื่อเราสามารถบังคับตัวเองได้แล้ว จึงสามารถบังคับหรือควบคุมผู้อื่นหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้
     ๔. ร่างกาย (Physic) คือ ลักษณะการสร้าง หรือรูปร่างที่สร้างขึ้นของมนุษย์ เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว เป็นต้น ร่างกาย มีความสัมพันธ์กับอารมณ์มาก เพราะมันมีความรู้สึกได้ง่าย และย่อมถูกอารมณ์บังคับได้ด้วย ฉะนั้นร่างกายจึงต้องดีพร้อม และมีสุขภาพสมบูรณ์จึงจะนับว่าเป็นผู้นำที่ดีได้ ยิ่งกว่านั้นภาวะของร่างกายที่ดีย่อมแสดงออกซึ่งบุคลิกลักษณะของการเป็นผู้นำให้เด่นชัดเจนขึ้นมาอีก บุคลิกลักษณะของมนุษย์ ๔ ประการ ที่ได้แยกออกมาเป็นบุคลิกลักษณะใหญ่ ๆ โดยทั่ว ๆ ไป ในการที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้น ควรจะต้องมีพร้อมทั้ง ๔ ประการ คือ มีสติปัญญาดี อุปนิสัยดี มีอารมณ์หรือกรอบของความรู้สึกนึกคิดดี ตลอดจนมีร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์ดี ซึ่งมนุษย์เราสามารถสร้างบุคลิกลักษณะเหล่านี้ได้เองเป็นส่วนมาก
     บุคลิกสักษณะ ๒๐ ประการ ของการเป็นผู้นำ
     ๑. ความรู้ (Knowledge)
     ๒. ความกล้าหาญ (Courage)
     ๓. ความเด็ดขาด (Decisiveness)
     ๔. ความไม่เห็นแก่ตัว (Unselfishness)
     ๕. ความสงบเสงี่ยม (Humility)
     ๖. ความยุติธรรม (Justice)
     ๗. ความแนบเนียบ (Tact)
     ๘. ท่าทาง (Bearing)
     ๙. ดุลยพินิจ (Judgement)
     ๑๐. การสังคมดี (Socialability)
     LEADERSHIP
     ๑๑. L - Loyalty (ความจงรักภักดี)
     ๑๒. E - Enthusiasm (ความกระตือรือร้น)
     ๑๓. A - Alertness (ความตื่นตัว)
     ๑๔. D - Dependability (ความไว้วางใจได้)
     ๑๕. E - Endurance (ความอดทน)
     ๑๖. R - Responsibility & Accountability (หน้าที่และความรับผิดชอบ)
     ๑๗. S - Self - Control (การบังคับตัวเอง)
     ๑๘. H - Humanity (ความเห็นอกเห็นใจ)
     ๑๙. I - Initiative (ความริเริ่ม)                                   
     ๒๐. P - Personality (ความมีอำนาจในตัว)

ข้อ ๓ วิธีที่จะพัฒนาให้เขาเกิดความรู้ความสามารถ
    
"จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนางานต้องเตรียมคน จะพัฒนาคนต้องพัฒนาที่จิตใจ" ...คนจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ต้องพัฒนาจิตใจไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ...การพัฒนาจิตใจคือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแสดงออกหรือตัดสินใจเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ร่วมสมัย และเหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้นซึ่งสามารถทำได้ตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
     ๑. พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ และทำใจให้เป็นสุขท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง
     ๒. หมั่นสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใกล้ชิดและผู้อื่นเสมอ เพื่อกระชับมิตรและส่งเสริมให้มุมมองกว้างไกล
     ๓. มองหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความอดทน
     ๔. สร้างความชื่นบานและส่งเสริมกำลังใจให้ตนเองแต่เช้า ด้วยการคิดและพูดแต่สิ่งดี ๆ กับตนเองและคนใกล้ชิด
     ๕. ใฝ่หาความรู้และริเริ่มหาช่องทางใหม่ ๆ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงาน
     ๖. สร้างความมั่นใจให้ตนเอง ด้วยการมองหาส่วนดีของตนเองและพยายามปรับปรุงให้ส่วนที่เป็นข้อบกพร่องให้ดีขึ้น

นางสมจิตร ส่องสว่าง เลขที่ 38 รหัส 50038010038

เรียน  อาจารย์ยม  นาคสุข   และท่านผู้อ่านทุกท่าน

              ดิฉันต้องกราบขอโทษอาจารย์ที่ส่งการบ้านช้า  เนื่องจากมีงานด่วนที่ต้องดำเนินการ

              จากการเรียนและฟังจากอาจารย์ยม  นาคสุข  สอน  2  หัวข้อ

              1.  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่  21

              2.  เรื่องการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพย์กรมนุษย์

              ดิฉันมีความเห็นและเข้าใจว่า  องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีการพัฒนาคนให้เป็นคนเก่ง  คนดี  ก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่

              ดังนั้น  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่องค์กรควรทำโดยเฉพาะการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาความรู้เพิ่มเติมใหม่ ๆ  ตลอดจนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้  ในปัจจุบันสำคัญมาก  เพราะการเรียนรู้ทำให้คนเก่ง  การพัฒนาคนเก่งและรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กร  ควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งมีรูปแบบดำเนินการ  5  ขั้นตอน

              1.  การประเมินทางด้านความรู้  และทักษะของบุคลากรในหน่วยงานแต่ละด้าน

              2.  การวิเคราะห์  การเก็บรวบรวมข้อมูลและกำหนดแผนล่วงหน้าว่าองค์กรจะได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น

              3.  มีการกำหนดวางแผนการพัฒนาคนเก่งโดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาแต่ละส่วน

              4.  มีการดำเนินการตามแผนที่ตั้งให้

              5.  มีการติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ

                   วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

              คนเก่ง  (Talent)  ซึ่งปัจจุบัน  ก.พ. เรียกว่าข้าราชการผู้มีประสิทธิภาพสูง  โดยมีการวางแผนพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะสูง  เพื่อนำความรู้ไปผลักด้นให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ

                   โดยสรุปแล้วหน่วยงานหรือองค์กรจะต้องรักษาคนเก่ง  คนดี  ไว้กับหน่วยงานนาน ๆ  แต่โดยธรรมชาติส่วนใหญ่แล้วคนเก่ง  คนดี  ไม่คอยสนใจระบบราชการ  เพราะผลตอบแทนไม่คุ้มค่า  ที่สำคัญที่สุด  คือ  คนเก่ง  คนดี  ไม่อยากรับราชการ  เพราะราชการมีกฎระเบียบ  ขั้นตอน  และที่สำคัญยึดหลักความอาวุโสมากกว่าความรู้ความสามารถ

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

การเล่าเรียนทุนมนุษย์ผ่านพ้นไปแต่ก็ยังคงเหลือไว้เพียงความทรงจำอันดีจากคำพร่ำสอนอย่างจริงจังและจริงใจจากคณาจารย์ที่มาสอนแนะกลยุทธ์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และจะทำอย่างไรให้เราอยู่รอดในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ ขณะ (และพร้อมที่จะนำไปปฏิบัติด้วยตัวของตัวเอง)

เจริรญพรท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม  นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน

วันเวลาช่างหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านไปรวดเร็วนักสำหรับผู้ที่เห็นคุณค่าของเวลา ในระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมกับการที่เราต้องปรับตัวให้เข้ากับช่วงห้วงแห่งเวลาเหล่านั้น นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ดั่งเช่นในเวลาที่เราเรียนทุนมนุษย์กับท่าน ศ.ดร.จีระเองก็ตามหรืออาจารย์ท่านอื่น ๆที่มาสอนทั้งหมด เราต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ พร้อมที่จะรับคำสั่งสอนอย่างใจจดใจจ่อกับการฟังและกับการจับประเด็นในคำสอนที่ท่านได้เปล่งออกมาแต่ละคำ เพราะเล่ากันว่าวิชานี้ยากและเข้าใจยาก แต่ที่ไหนได้เรื่องราวทั้งหมดกลับเป็นเรื่องรอบกายเรา และก็ตัวเราทั้งนั้นเลย มีบ้างที่เป็นเรื่องระบบ แต่ก็ไม่พ้นเรื่องของคนระบบจัดการบริหารเรื่องคนให้เป็นระเบียบเป็นระบบในการปฏิบัติงานในแต่ละองค์กรเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่องค์กรตั้งไว้ แต่ก็น่าจะเข้าใจได้นะว่า ชื่อก็บอกแล้วว่า ทุนมนุษย์หรือ การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ ชื่อวิชาอาจทำให้คนวิตกอาจทำให้คนเรากลัว จนลืมนึกไปว่า มนุษย์ คือเราและคนรอบข้างตัวเราทั้งสิ้น การที่จะเข้าใจในทุนมนุษย์ อาตมาคิดว่า อันดับแรกเราต้องดูจากตัวเราก่อน พิจารณาจากเรา เข้าใจในตัวของเราก่อนว่า สิ่งที่เราพึงประสงค์ สิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่เราอยากกระเสือกกระสนหานะมั้นคืออะไร อย่างไร ? ถ้าเราเข้าใจถ่องแท้ว่าเราต้องการอะไร เรารักสุข เกลียดทุกข์อย่างไร คนอื่น ๆ หรือสิ่งมีชีวิตทั้งมวลบนโลกนี้ ล้วนรักสุขและเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

                                                    ขอเจริญพร

หมายเหตุ*** วันคืนล่วงไป ๆ เราท่านทั้งหลาย(มัว)ทำอะไรอยู่ ??

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท