สมองเรียนรู้อย่างไร (๑)


เล่น คือ การสร้างรากฐานของการพัฒนาเด็กที่มีคุณภาพ

มีโอกาสได้มาอบรมตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรครูประจำศูนย์เสาะหาและพัฒนาเด็กหัวแหลมในท้องถิ่น เมื่อปลายเดือนมกราคมนี้  ฟังการบรรยายเกี่ยวกับการเรียนรู้ของสมองจาก ศ.นพ.ประเสริฐ บุญเกิด เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กจึงสรุปมาฝากไว้

        พัฒนาการของสมองเด็ก   คือการสร้างวงจรไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน หรือหน่วยความจำตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ๑๐ ขวบในเด็กหญิง และ ๑๒ ขวบในเด็กชาย
        วงจรไฟฟ้าหน่วยความจำประกอบด้วย
                  ๑. การเพิ่มขนาดของเซลล์ประสาทสมอง  แต่ไม่เพิ่มจำนวนเซลล์
                  ๒. การสร้างฉนวนหุ้มเส้นประสาท
                  ๓. การสร้างจุดเชื่อมโยงเส้นประสาทสมอง

                  Input                                 Process                             Output
         การเรียนรู้ของเด็ก........วงจรไฟฟ้า / หน่วยความจำ........ปฏิกิริยาตอบสนอง

Input  คือ ข้อมูลที่ผ่านช่อง และทางเดินเส้นประสาทสู่สมอง ทางอายตนะทั้ง ๕
            (ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ)
                       กาย     :   ผิว /ผิวหนังสัมผัส   ปาก  ใบหน้า  มือ  เท้า  แขน  ขา  ลำตัว

           เล่นคือเรียน   เรียนคือเล่น     เล่นคือการสร้างวงจรไฟฟ้า/หน่วยความจำ
           เล่นมากมีหน่วยความจำมาก มีประสบการณ์มาก
           เล่น คือ วงจรมหัศจรรย์สำหรับการเรียนรู้ของเด็ก
           เล่น สร้างทั้งความสมบูรณ์ทางร่างกายและจิตใจ/ปัญญา
                        เล่น คือ การสร้างรากฐานของการพัฒนาเด็กที่มีคุณภาพ
                        คุณภาพ : ร่างกายแข็งแรง  จิตใจเข้มแข็ง  เฉลียวฉลาด อดทน
                                           และมีน้ำใจ

                        ขณะที่เด็กเล่น :-  
                            -สิ่งที่เกิดขึ้น ที่แขน ขา ลำตัว  คือ พลังกล้ามเนื้อ ความคล่องแคล่ว
                              และแม่นยำในการทำงาน
                            - สิ่งที่เกิดขึ้นในสมอง  คือ การสร้างวงจรความจำ  วงจรการเรียนรู้
                            - การสร้างวงจรความจำในเด็ก คือ
                                                การสร้างฉนวนหุ้มเส้นใยประสาท
                                                การสร้าง synnapses :  จุดเชื่อมรอยต่อเซลล์ประสาท
                                                การสร้างเซลล์สมองที่ทำงาน

                         วงจรความจำในเด็กมี  ๓  ระดับ คือ
                               ๑. วงจรพื้นฐาน      เป็นสิ่ง/เรื่องเบื้องต้นที่ถูกต้อง
                               ๒. วงจรพัฒนา       การทำบ่อยๆ สม่ำเสมอ
                               ๓. วงจรอัจฉริยะ     เป็นความรู้ความชำนาญ ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่ทำ

หมายเลขบันทึก: 166244เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2008 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมได้มีโอกาสไปรับความรู้ เรื่องสมองกับการจัดการเรียนจาก ดร. พรพิไร เลิศวิชา เมื่อคราวสัมมนาโรงเรียนในฝัน เมื่อต้้นเดือนกรกฎาคม51ที่ผ่านมา ต้องขอบคุณที่ช่วยเติมเติมความรู้ให้ และผมสนใจใคร่จะขอเรียนเชิญคุณครูมาเป็นวิทยากร ให้คุณครูที่สะเมิง เชียงใหม่เพื่ออานิสงส์แก่เด็กดอยนะครับ แล้วจะติดต่อกลับไปอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง

สวัสดีค่ะคุณครูagk

  • ต้องขอโทษด้วยนะคะ วันก่อนที่โทรไปหา กำลังประชุมอยู่พอดี ไม่กล้าจะพูดดัง ได้แต่ฟังอย่างเดียว
  • อยากจะบอกว่าไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมองอะไรเลยค่ะ
    เพียงแต่สนใจใคร่รู้  อ่านๆ มาบ้าง  อบรมมาบ้างและก็กลัวลืมจึงขีดๆ เขียนๆ ไว้ที่ G2K นี้  ต้องการข้อมูลเมื่อไหร่ก็มาเปิดเอา  ดีกว่าเก็บเป็นเอกสารค้นหาอ่านใหม่ก็ลำบากเพราะมักจะเก็บจนหายทุกที
  • เอาไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไปเรื่อยๆ ดีกว่านะคะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท