นิติกาญจน์


บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ
บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศมีอยู่ 2  ประเภท คือ รัฐและองค์การระหว่างประเทศ1.  รัฐ  รัฐคือคณะบุคลที่รวมกันอยู่เป็นปึกแผ่นถาวรในอาณาเขตที่แน่นอนมีการปกครองอย่างเป็นระเบียบ  มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง  และเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร1.1  ลักษณะของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นรัฐอธิปไตยและเอกราช  กฎหมายระหว่างประเทศยืนยันรัฐทุกรัฐ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็กย่อมมีอำนาจอธิปไตย   อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุด รัฐอธิปไตยจึงเป็นหน่วยที่มีอำนาจสูงสุด เมื่อรัฐอธิปไตยเป็นหน่วยที่มีอำนาจสูงสุด  ก็ย่อมมีเสรีภาพในการติดต่อกับรัฐอธิปไตยตามกฎหมายระหว่างประเทศ  การติดต่อรัฐอธิปไตยอื่นโดยไม่ต้องผ่านหน่วยที่อยู่เหนือกว่า  ก็เป็นเครื่องแสดงถึงเอกราชไม่ขึ้นกับรัฐอื่น1.2  องค์ประกอบของรัฐ  รัฐจะประกอบด้วยประชากร  ดินแดน  รัฐบาล  และอำนาจอธิปไตย  หากขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไปก็ไม่มีสภาพเป็นรัฐ  เมื่อไม่มีสภาพเป็นรัฐก็ไม่มีสิทธิที่จะดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ-  ประชากร  คือ บุคคลทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในรัฐ ซึ่งประกอบด้วยคนในชาติ และคนต่างด้าว  ในประเทศที่มีประชากรหลายเชื้อชาตินั้น เป็นการแยกประเภททางการเมือง  แต่ในแง่กฎหมายระหว่างประเทศ บุคคลเหล่านี้มีสัญชาติเดียวกัน และโดยสายสัมพันธ์ของสัญชาตินี้ ทำให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐของตนเวลาไปอยู่ในต่างประเทศ-  ดินแดน  เป็นองค์ประกอบของรัฐที่สำคัญที่สุดองค์ประกอบหนึ่งเป็นบริเวณที่รัฐสามารถใช้อำนาจอธิปไตยอย่างเต็มที่  ดินแดนประกอบด้วย  ดินแดนทางบก  น่านน้ำภายใน และทะเลอาณาเขต  รัฐควรมีดินแดนที่แน่นอน  เขตแดนที่แน่นอนนี้ทำให้รู้ว่ารัฐสามารถใช้อำนาจอธิปไตยไปถึงจุดใด-  รัฐบาล  คือ องค์การที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารประเทศ  ถ้าหากมีแต่ประชากรและดินแดน  โดยไม่มีรัฐบาล ก็ไม่เป็นรัฐ  รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจของรัฐและเป็นตัวแทนของรัฐในการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ต่างๆ ของรัฐ  รัฐบาลตามกฎหมายระหว่างประเทศหมายถึง หน่วยอำนาจสาธารณะทุกประเภทรวมกัน  กล่าวคือ  องค์การบริหาร  องค์การนิติบัญญัติ และองค์การตุลาการ รวมกันเป็นรัฐบาล-  อำนาจอธิปไตย  คือ ความมีอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร ไม่ว่าจะเป็นกิจการภายในหรือภายนอกประเทศ1.3  การใช้อำนาจของรัฐ  รัฐที่อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ  ย่อมมีอำนาจอธิปไตยและสามารถใช้อำนาจเหนือดินแดนของตน ใช้อำนาจนอกดินแดนของตนและใช้อำนาจเหนือคนชาติของตน-  การใช้อำนาจรัฐเหนือดินแดนของตน  กฎหมายระหว่างประเทศได้ยืนยันให้รัฐเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตนแต่เพียงผู้เดียว  และสามารถใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่  ดินแดนของรัฐถือเป็นเขตสงวนของรัฐที่จะใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงผู้เดียว  รัฐอื่นเข้ามาแทรกแซงไม่ได้-  การใช้อำนาจนอกดินแดนของตน  รัฐอาจใช้อำนาจของรัฐนอกดินแดนของตนในเรื่องเฉพาะเป็นกรณีพิเศษหรือเป็นข้อยกเว้น  ตามเขตภูมิศาสตร์ที่กำหนดไว้ให้  รัฐอาจใช้อำนาจรัฐนอกดินแดนของตนเป็นกรณีทั่วไปตามตัวบุคคลด้วย1.4  การรับรองรัฐ  คือ การรับรองรัฐที่เกิดขึ้นมาใหม่  และจะต้องมีประเทศต่างๆ ให้การรับรองว่าเป็นรัฐที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศ  การที่จะเกิดขึ้นมาเป็นรัฐได้นั้นต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการดังได้กล่าวมาแล้ว  คือต้องมีพลเมืองมากพอสมควร มีอาณาเขตที่กำหนดไว้แน่นอน มีการปกครองที่เป็นระเบียบและต้องมีเอกราชและอธิปไตย  ดังนั้นเมื่อรัฐใหม่เกิดขึ้นมาสังคมระหว่างประเทศจะต้องรับรองรัฐใหม่นั้น และมีทฤษฎีว่าด้วยการรับรองรัฐซึ่งมีอยู่ 2 ทฤษฎีด้วยกัน คือ -  ทฤษฎีเงื่อนไข  ทฤษฎีนี้อธิบายว่า รัฐกำเนิดขึ้นมาโดยการรวมตัวขององค์ประกอบทั้ง 4 ประการดังที่กล่าวมา  แต่การที่รัฐนั้นจะเข้ามาสู่ความเป็นรัฐซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมโลกได้อย่างสมบูรณ์นั้น  รัฐอื่นๆ จะต้องให้การรับรองรัฐนั้นเสียก่อน  ดังนั้นการรับรองโดยรัฐอื่นจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของความเป็นรัฐที่สมบูรณ์-  ทฤษฎียืนยันหรือประกาศ  ทฤษฎีนี้มาจากนักนิติศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งได้เสนอทฤษฎีนี้ขึ้นมาเพื่อโต้แย้งทฤษฎีเงื่อนไข  โดยเสนอแนวคิดว่าเมื่อรัฐรวมตัวด้วยองค์ประกอบ 4 ประการแล้วความเป็นรัฐก็สมบูรณ์  ฉะนั้นรัฐอื่นจะให้การรับรองหรือไม่ก็ตาม  รัฐนั้นก็มีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง  การรับรองโดยรัฐอื่นจึงถือได้ว่าเป็นการยืนยันหรือประกาศในสิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้ว  ประเภทของการรับรองก็มีทั้งการรับรองแบบชั่วคราวหรือเรียกอีกอย่างว่ารับรองโดยพฤตินัย  และการรับรองถาวรหรือการรับรองโดยนิตินัยประโยชน์ของการรับรองรัฐ  ทำให้รัฐนั้นมีสถานภาพที่มั่งคง และมีประโยชน์ในการเอื้ออำนวยต่อการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตอีกด้วย1.5  การรับรองรัฐบาล  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามปกติหรือตามวิถีทางของกฎหมายภายในของรัฐใด  ไม่จำเป็นต้องมีการรับรองรัฐบาลชุดใหม่แต่อย่างใด  เว้นแต่กรณีที่รัฐบาลใหม่มิได้ขึ้นมาปกครองประเทศตามวิถีทางของกฎหมาย  กล่าวคือ เป็นกรณีที่มีคณะบุคคลขึ้นครองอำนาจโดยวิธีการที่ผิดแปลกไปจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้  ก็อาจจะต้องมีการรับรองรัฐบาลใหม่นี้อีกการตัดสินใจในการให้การรับรองรัฐบาลใหม่นี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของรัฐที่จะให้การรับรอง  ซึ่งการรับรองรัฐบาลนี้มีผลในลักษณะของการประกาศให้นานาชาติทราบถึงสถานภาพของรัฐบาลที่ได้รับการรับรอง  โดยมีหลักทั่วไปในการรับรองรัฐบาลใหม่เพิ่งเกิดขึ้นของอาเยนติน่ากล่าวว่าจะต้องประกอบด้วยหลักการพื้นฐาน 3 ประการ คือ  -  ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน-  สามารถควบคุมประเทศได้ทั้งหมด-  พร้อมที่จะปฏิบัติพันธกรณีระหว่างประเทศได้นอกจากนั้นยังมีทฤษฎีการรับรองรัฐบาลซึ่งเป็นแนวคิดหรือลัทธิอยู่ 2 แนวด้วยกัน  ซึ่งแนวความคิดหรือลัทธิเหล่านี้เป็นหลักการที่มีการยึดถือเป็นนโยบายต่างประเทศของแต่ละรัฐ1.5.1 ลัทธิที่ว่าด้วยความถูกต้องตามกฎหมายภายใน  (Tobar)  โดยวางหลักไว้ว่าการให้การรับรองรัฐบาลใหม่นั้น รัฐบาลใหม่จะต้องถูกต้องตามกฎหมายภายใน (กฎหมายรัฐธรรมนูญ)   จากหลักดังกล่าวแปลงความได้ว่ารัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติเป็นรัฐบาลที่รัฐอื่นไม่ควรให้การรับรองนั้นเอง1.5.2  สิทธิว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาล  (Estrada)  โดยวางหลักไว้ว่าการให้การรับรองรัฐบาลโดยการพิจารณาถึงเสถียรภาพหรือประสิทธิภาพของรัฐบาลนั้นว่ามีอำนาจอันแท้จริงในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และสามารถรักษาพันธกรณีระหว่างประเทศได้หรือไม่  โดยมิต้องไปพิจารณาถึงความถูกต้องตามกฎหมายภายในของรัฐบาลนั้นเพราะทุกรัฐย่อมมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง 2.  องค์การระหว่างประเทศ  องค์การระหว่างประเทศเป็นบุคคลภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศเช่นเดียวกับรัฐ  องค์การระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นที่จะต้องมีการเจรจาหลายฝ่ายอยู่เป็นประจำ  ประเทศที่มีปัญหาหรือผลประโยชน์ในเรื่องเดียวกันที่จะร่วมมือกันก็ร่วมกันตั้งองค์การระหว่างประเทศขึ้น  องค์การระหว่างประเทศ จึงเป็นสมาคมของรัฐสมาชิกหรือหน่วยงานกลางที่ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาเพื่อทำหน้าที่ประจำ และมีรัฐเป็นสมาชิก2.1  สภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ  เกิดขึ้นโดยความตกลงระหว่างรัฐเพื่อก่อตั้งเป็นสมาคมของรัฐอย่างถาวร ประกอบด้วยองค์กรย่อยต่างๆ ที่จะดำเนินภารกิจขององค์กรระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์แยกต่างหากจากบรรดารัฐสมาชิก  และมีสิทธิหน้าที่และความสามารถใช้สิทธิปฏิบัติหน้าที่ได้ในทางระหว่างประเทศ2.2  ความสามารถกระทำขององค์กรระหว่างประเทศตามกฎหมายระหว่างประเทศ  ความสามารถขององค์การระหว่างประเทศก็อาจขยายขอบเขตออกไปได้  อันเป็นผลมาจากความจำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์การระหว่างประเทศลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิผล  หรือเรียกกันว่า อำนาจโดยปริยาย  2.3  ความรับผิดขององค์การระหว่างประเทศตามกฎหมายระหว่างประเทศ  ภารกิจขององค์การระหว่างประเทศที่ได้รับมอบหมายจากรัฐสมาชิก  บางกรณีอาจมีการฝ่าฝืนพันธกิจตามกฎหมายระหว่างประเทศ  องค์การระหว่างประเทศในฐานะนิติบุคคลระหว่างประเทศ  จึงต้องรับผิดในผลการกระทำดังกล่าวโดยถือเป็นความผิดขององค์การระหว่างประเทศ3.  ปัจเจกชนและบรรษัทข้ามชาติ-  สถานะของปัจเจกชนตามกฎหมายระหว่างประเทศ  ปัจเจกชนสามารถมีสิทธิในทางสารบัญญัติในทางกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง  สิทธิมนุษยชน สิทธิภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมที่จะได้รับการเคารพตามกฎหมายระหว่างประเทศ และมีสิทธิในทางวิธีสบัญญัติ เมื่อถูกละเมิดสามารถมีสิทธิฟ้องรัฐได้-  สถานะของบรรษัทข้ามชาติตามกฎหมายระหว่างประเทศ  กิจการของบรรษัทข้ามชาติมิได้จำกัดอยู่ในรัฐเดียว  บรรษัทข้ามชาติมีอำนาจมากทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง และดำเนินธุรกิจไม่เฉพาะแต่กับเอกชน  แต่ดำเนินธุรกิจกับรัฐ และหน่วยงานของรัฐด้วย  นอกจากนี้การยุติข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการระหว่างรัฐกับบรรษัทข้ามชาติยังเป็นที่ยอมรับในทางกฎหมายระหว่างประเทศอีกด้วย .   
หมายเลขบันทึก: 165380เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2008 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท