ต้อนรับทีมงานชมรมผู้บริหารโรงเรียนจากสุรินทร์


กศน.ฉะเชิงเทรามีโอกาสต้อนรับทีมงานชมรมผู้บริหาร โรงเรียนขนาดเล็กจากจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 50 คน

          วันนี้ชาว กศน.ฉะเชิงเทรา นำโดย ผอ.สุรพงษ์ จำจด ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดฉะเชิงเทรา หัวหน้ากลุ่มอำนวยการและทีมงาน หัวหน้ากลุ่มการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และตัวแทนกลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนาคุณภาพ  มีโอกาสต้อนรับทีมงานชมรมผู้บริหาร โรงเรียนขนาดเล็กจากจังหวัดสุรินทร์ จำนวน  50  คน  ตั้งแต่เช้าตรู่  เลี้ยงข้าวต้ม จิบกาแฟ ภายใต้บรรยากาศยามเช้าที่สดชื่นแบบเป็นกันเอง  ในการต้อนรับครั้งนี้  ผอ.สุรพงษ์ ได้ฝากแนวคิดให้กับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กว่า  การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้น  ควรเน้นการสร้างให้เด็กได้มีจินตนาการ  มากกว่าเน้นการให้ความรู้  เพราะการที่เด็กมีจินตนาการจะช่วยให้สามารถกระตุ้นการอยากเรียนรู้ของเด็กได้อย่างดี  ในการเริ่มสร้างจินตนาการของเด็กอย่างง่ายๆ ก็คือการนำ "ตารางลูกคิด" มาสอนให้เด็กได้เรียนและมีความฝึกคิด ทั้งนี้ในการสร้างจินตนาการที่ดีที่สุดก็คือการสอนให้เด็กได้ "ปฏิบัติ" จริง

           หลังจากนั้น  ทีมงานจากจังหวัดสุรินทร์ก็ได้เดินทางไปดูงานที่โรงเรียนวัดดอนทองต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #กศน.แปดริ้ว
หมายเลขบันทึก: 165192เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2008 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลาประมาณ 05.30 น. มีโอกาสได้ต้อนรับคณะผู้ดูงาน จากโรงเรียนในระบบ ของจังหวัดสุรินทร์ที่เดินทางมาดูงาน( โครงการโรงเรียนขนาดเล็ก ) โรงเรียนดอนทอง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ใกล้ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดฉะเชิงเทรา พวกเราชาว กศน.แปดริ้วได้เตรียม กาแฟ  ข้าวต้ม และห้องอาบน้ำ เพื่อบริการแขกของเราด้วยความยินดียิ่ง

      ถ้าหากคนทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เกิดจนจบมหาวิทยาลัย เรียนแต่วิชา รู้แต่หนังสือ ถูกล้อมกรอบด้วยตารางสอนและห้องเรียน เอาการสอบและคะแนนสอบเป็นสิ่งพิพากษาความสำเร็จ   การพัฒนาคนจึงไม่เอื้อให้มีคุณสมบัติมองกว้าง คิดไกล ใฝ่รู้  มุ่งทำงาน ชาญชีวิต

     กระบวนการเรียนการสอนหากยังเป็นพฤติกรรมจำเจ และพฤติกรรมถ่ายทอด สัดส่วนการฝึกปฏิบัติ การฝึกคิด และการอบรมบ่มนิสัย ก็ยังมีน้อยกว่าการท่องบ่นเนื้อหา ผู้เรียนเคยชินต่อการทำตาม เชื่อฟัง นั่งนิ่ง จึงขาดความคล่องในการคิดทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้รับการปลูกฝังความภาคภูมิใจในศิลปะวัฒนธรรมของชาติ หากเราหันมาเน้นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาความคิด วิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็น และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่ช่างสังเกต ช่างสงสัย และใฝ่หาคำตอบมากขึ้น นั่นก็คือการสอนคน ไม่ใช่การสอนหนังสือ

     จินตนาการและการสร้างสรรค์คือการหลอมรวมจากหัวใจของการเรียนรู้................... 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท