อีกากับเหยือกน้ำ


ไม่ยอมแพ้

สอนคุณธรรมอย่างไร

ให้มีความพอเพียง

บทที่ 5/1

ความมานะพยายาม                                                                       

จุดประสงค์ :   เพื่อรู้ รัก และฝึกจนเคยชิน

นิทานคติ  เรื่อง : อีกากับเหยือกน้ำ         

ในวันที่อากาศดีวันหนึ่ง กลางฤดูร้อน อีกาที่ตำดำสนิทตัวหนึ่ง มันหิวกระหายน้ำมาก มันมองหาแหล่งน้ำที่พอจะลงไปกินน้ำได้ ตอนนี้น้ำในแม่น้ำแห้งผาก ตามสนามหญ้าของบ้านคนก็ไม่มีแอ่งน้ำ หรือน้ำในอ่างน้ำของสัตว์เลี้ยงเลย มันบินวนหาไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านหลังหนึ่ง มันมองเห็นเหยือกน้ำวางอยู่ที่ชานบ้านหลังหนึ่ง ในนั้นมีน้ำอยู่พอควรที่ก้นเหยือกน้ำ ด้วยความหิวน้ำ มันจึงบินไปเกาะที่ลูกกรงของชานบ้าน มันมองดูเพื่อให้แน่ใจว่ามีน้ำในเหยือกแน่ๆ เมื่อมันมั่นใจจึงค่อยๆ กระโดดเข้าไปใกล้ๆ

แต่โชคร้ายที่เหยือกนั้นเป็นเหยือกคอแคบ อีกาค่อยๆ ยื่นหัวเข้าไปทางปากเหยือกเพื่อกินน้ำ มันคิดแต่เพียงว่ามันต้องกินน้ำให้ได้ แต่โชคร้ายที่หัวของมันไม่สามารถผ่านปากขวดไปได้ ปากของมันไม่สามารถเอื้อมไปถึงน้ำที่ก้นเหยือกได้ มันพยายามยืดคอซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อกินน้ำให้ได้ แต่ก็ไม่มีหวัง ในใจของอีกาเพียงคิดแต่ว่า

ต้องหาทางให้ได้ๆๆๆๆๆๆ ข้าไม่ยอมแพ้ง่ายๆ อย่างนี้หรอก

อีกาพยายามแทรกหัวลงไป นานเท่านานแต่แล้วก็ยังไม่ได้ มันค่อยๆ มองไปรอบๆ เพื่อดูว่าจะใช้อะไรเพื่อเอาน้ำออกมาได้ แต่มันก็มองไม่เห็นสักอย่าง อีกาจึงบินขึ้นไปเกาะที่ลูกกรงของชานบ้านและมองไปรอบๆ ช่างน่าสิ้นหวัง ไม่มีอะไรที่จะทำให้มันได้กินน้ำเลย อีการู้สึกว่ามันต้องมีหนทาง

ดังนั้นมันจึงบินไปบนฟ้า มองไปทั่วๆ เพื่อหาทางกินน้ำให้ได้ ทันใดนั้นมันก็คิดได้ แต่หนทางช่างแสนยากและลำบาก แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ ดังนั้นมันจึงตกลงใจจะทำ พลันมันก็บินไปทางตะวันตกยังริมแม่น้ำที่แห้งผากนั้น

เมื่อตะวันใกล้ตก อีกาก็ได้กินน้ำที่มันต้องการ หลังจากความเหนื่อยยากที่มันต้องบินไปกลับระหว่างแม่น้ำกับบ้านหลังนั้นหลายสิบเที่ยว เพื่อคาบก้อนกรวดเล็กๆ มาหย่อนลงไปในเหยือกจนเต็ม และทำให้น้ำล้นออกมาที่ปากเหยือก            

ช่วยกันขยายความเพื่อสร้างความเข้าใจ           

๑) ให้ช่วยกันหาคติพจน์และสุภาษิตส่งเสริมความมานะพยายาม           

๒) ให้ช่วยกันหาคำสอนของศาสนาต่างๆ ที่กล่าวถึงความมานะพยายาม           

ในทั้งสองกรณีให้มีอาสาสมัครรวบรวมบันทึกไว้ เพื่อทำเอกสารแจกให้เก็บไว้ โดยลงวันที่ไว้ด้วย 

ฝึกคุณธรรม            

๑) ฝึกรู้รอบ : เรื่องนี้เหมาะสมสำหรับสอนเรื่องความมานะพยายามหรือไม่ อย่างไร           

๒) ฝึกแข็งขัน : เราจะแสดงความมานะพยายามอย่างเหมาะสมได้อย่างไร  มีความมุ่งมั่นที่จะทำแค่ไหน           

๓) ฝึกพอเพียง : การแสดงความมานะพยายามอย่างไร จึงเรียกว่าทำได้อย่าง พอเพียง                                   

- อย่างไรเรียกว่าขาด                                   

- อย่างไรเรียกว่าเกิน           

๔) ฝึกความยุติธรรม : ความมานะพยายามที่ดำเนินไปอย่างมีไม่มีความยุติธรรมเป็นอย่างไร ให้ช่วยกันยกตัวอย่าง 

กิจกรรมสันทนาการ

๑.     ให้อาสาสมัครหาเหยือกปากแคบมาใบหนึ่ง น้ำครึ่งแก้ว และก้อนกรวดเล็กๆ จำนวนหนึ่ง จากนั้นเทน้ำลงในเหยือก แล้วทดลองอย่างที่อีกาทำ ค่อยๆ หย่อนกรวดลงในเหยือกแล้วดูว่าน้ำจะท้นขึ้นมาที่ปากเหยือกหรือไม่

๒.     ให้หาขนมมาจำนวนหนึ่ง แล้วใส่ลงในขวดปากแคบๆ ใบหนึ่ง ให้อาสาสมัครทดลองหาทางเอาขนมออกจากขวดนั้นให้ได้ ให้ทดลองได้คนละสองรอบ 

เอนก สุวรรณบัณฑิต   ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการคุณธรรมและจริยธรรมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เอกสารคุณธรรมและจริยธรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ปรับจากหนังสือ Discovering the Real Me, Universal Peace Federation Edition

คำสำคัญ (Tags): #คุณธรรม#พยายาม
หมายเลขบันทึก: 165112เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2008 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ไม่มีดีเลยไอ้อีกา

 

ถึงเก่าแล้วแต่ก็ยังเหมือนเดิม

สนุกเเต่ไม่ค่อยมีเนื้อหาเท่าไหรนะ

ดี

ชื่อรัย

อายุ

ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท