เพื่อนช่วยเพื่อนที่บางไทร ตอน 3 : ทุนทางสังคม


วัตถุตึกรามบ้านช่องยิ่งสร้างสูงเท่าไหร่ เหมือนต้องแลกกับน้ำใจคนที่ต่ำลง

            สังคมชนบทในอดีต  มีทุนหนึ่งที่มีคุณค่ามหาศาล  เทียบเป็นมูลค่าเงินทองไม่ได้เลย นั้นคือความเอื้ออาทร   ความที่อยากให้เพื่อนพ้นทุกข์  มีความสุขเมื่อช่วยเหลือคนอื่นยามเจ็บไข้  นี่เป็นความแตกต่างที่สังคมคนเมืองอาจหายากหรือหาไม่ได้เลย 

            แต่ชนบทในอดีตการปฏิบัติต่อผู้อื่นในลักษณะนี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนทำกันมาจนเป็นเรื่องธรรมชาติ  โดยไม่มีใครบังคับ เป็นความดีที่สืบถอดกันมาโดยไม่มีใครให้ทำหรือแสแสร้ง   แต่ในปัจจุบันก็เริ่มสูญหายไปพร้อมกับความเจริญทางวัตถุ  วัตถุตึกรามบ้านช่องยิ่งสร้างสูงเท่าไหร่  เหมือนกับต้องแลกกับน้ำใจคนที่ต่ำลง 

<div style="text-align: center">นี่คือสิ่งที่น่าเสียดายและต้องเร่งรีบกระตุ้นให้กลับมาก่อนที่จะไม่มีให้เห็น        และคนรุ่นหลังอาจจะไม่รู้ว่าเรื่องดี ๆ อย่างนี้ในอดีตมันเคยมี   ชุมชนบ้านบางไทรยังมีและเรียนรู้รื้อฟื้นมันกลับมา  เป็นเรื่องที่น่าทึ่งจริง ๆ และขอยกนิ้วให้ทีมงานสาธารณสุข  โดยหมอกำไรและเพื่อน ๆ   ที่ขับเคลื่อนโครงการดี ๆ อย่างนี้อยู่</div><div style="text-align: center"></div><div style="text-align: center">ซึ่งใจและประทับใจกับภาพที่เห็นผู้ป่วยสูงอายุ พูดแสดงความประทับใจในโครงการทั้งน้ำตา</div><div style="text-align: center"></div><div style="text-align: center">เจ้าหน้าที่ต่างพื้นที่ที่มาร่วมศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ต้องการนำไปขยายผล และหลายคนก็แสดงความรู้สึก</div><div style="text-align: center"></div><div style="text-align: center"></div><div style="text-align: center">ช่วงผมเด็ก ๆ ผมจำได้ไม่ลืมว่าเมื่อมีคนป่วยในหมู่บ้านเมื่อก่อนนั้น  ทุกคนช่วยเหลือกันเต็มที่    ครั้งหนึ่งเคยเห็น   เขายอมเสียสละเฉียงตู(พังประตูเพื่อเอาบานประตูบ้าน)  ไปทำเป็นเปลเพื่อหามเพือนบ้านที่เจ็บป่วยไปหาหมอ  และเดินตามหลังกันไปเป็นแถวเพื่อสับเปลี่ยนช่วยกันหาม  ผ่านทุ่งนาที่มีแต่โคลนตมอย่างทุลักทุเล   ผ่านป่าผ่านทางน้ำ  แต่สิ่งเหล่านั้นก็หาได้เป็นอุปสรรคต่อความรักเพื่อนได้ไม่  นี้คือทุนทางสังคมที่เข็มแข็งที่ปัจจุบันที่ทุนเหล่านี้เหลือน้อยลง  แต่ก็ไม่ถึงกับสูญพันธุ์ไปเลยทีเดียว  ควรจะอนุรักษ์และรื้อฟื้นกันขึ้นมาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นภูมิคุ้มกันของชุมชน</div>

หมายเลขบันทึก: 164670เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2008 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับอ.ชาญวิทย์
  • ตามมาขอบคุณ และตั้งใจมาแวะเยี่ยมครับ
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ความจริงแล้วในแต่ละชุมชนจะมีทุนทางสังคมอยู่แล้ว เพียงแต่นักพัฒนาทั่วไปจะค้นหาพบหรือไม่ต่างหาก
  • ผมว่า ณ.ปัจจุบันนี้ การทำงานด้านพัฒนาการเกษตร หากไม่ลงไปร่วมเรียนรู้กับชุมชนเป้าหมายแล้ว และร่วมกับหน่วยงานภาคี  คงจะยากต่อความสำเร็จ เพราะว่าต่างคน ต่างทำนั่นเอง
  • ขอบคุณ ที่นำประสบการณ์ดีๆมาแบ่งปันครับ

สวัสดีครับ  อาจารย์เขียวมรกต

  • ครับในสังคมชนบทยังมีทุนอีกมากมาย  ที่จะต้องมีคนช่วยจัดการให้เข้าระบบ  คน ๆ นั้นคือคุณอำนวยครับ 
  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท