การเขียนบทความวิจัย ตอนที่ 3 เมื่อบทความถูกปฏิเสธ


ผิดเป็นครูครับ

เมื่อส่งบทความวิจัยไปตีพิมพ์ มีโอกาสเป็นไปได้ที่บทความของเราจะถูกปฏิเสธ เมื่อวันนั้นมาถึง เราควรจะทำอย่างไร

1. ห้ามใช้อารมณ์

2. บรรณาธิการมักจะอธิบายอย่างละเอียดถึงเหตุผลที่ปฏิเสธ เราควรอ่านอย่างถี่ถ้วน

3. กรรมการอ่านที่เป็นมืออาชีพมักจะให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ และนำไปสู่การปรับปรุงบทความรวมไปถึงงานวิจัยให้เป็นงานที่ดีขึ้น

4. กรรมการปากจัด ตำหนิแหลก ให้อโหสิกรรม อย่าไปถือโทษ ให้สะกัดแต่ประเด็นที่เราเห็นว่าเป็นประโยชน์มาใช้ปรับปรุงบทความและงานวิจัยในคราวต่อๆ ไป

5. เป็นไปได้ว่า บทความของเราไม่ตรงกับนโยบายของวารสาร

6. ถ้าคิดว่าบทความดีอยู่แล้วและงานวิจัยเป็นงานใหม่จริงๆ ให้ส่งไปวารสารอื่นทันที หากช้า อาจโดนผู้วิจัยท่านอื่นตัดหน้าได้

7. ถ้าต้องตอบโต้กับวารสาร อย่าตอบสนองในทันที ให้ใช้เวลาคิดให้ดีก่อน และให้ถือความสุภาพเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

8. ถ้างานวิจัยดีอยู่แล้ว ก็อาจต้องปรับปรุงเรื่องการเขียน

9. ถ้าเขียนดี แต่งานวิจัยมีข้อบกพร่องจริงๆ ก็ต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าต้องปรับปรุงอะไร อย่างไรบ้าง

10. ผิดเป็นครู อย่าท้อ อย่ายอมแพ้ จงสู้ต่อไป เพื่อพัฒนาวงการวิชาการ เพื่อสังคมและประเทศชาติ

หมายเลขบันทึก: 164275เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2008 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ดีจังเลยครับ
  • ปกติเขาจะพิมพ์ให้ครับ
  • มีเหมือนกันที่ไม่ได้ลง
  • แล้วไม่มีเหตุผลอธิบายครับ
  • วันรุ่นเซ็งเลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท