ทะเบียนราษฎร


                       ทะเบียนราษฎรของไทยนั้น จะเริ่มเมื่อใด และมีวิธีปฏิบัติอย่างไรนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏให้แน่ชัด แต่อาจกล่าวได้ว่า จุดเริ่มของงานทะเบียนราษฎรนั้นน่าจะมาจากการจดทะเบียนชายฉกรรจ์ เพื่อไว้ใช้ในราชการสงคราม ซึ่งเรียกว่า "การจดบัญชีพลเมืองหรือสารบัญชี"[1]

การเกณฑ์ชายฉกรรจ์เพื่อเข้ารับราชการทหารนั้น  มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย หรือก่อนตั้งสุโขทัยก็ว่าได้  จนสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ยังมีการจดบัญชีพลเมืองเหมือนกัน แต่เรียกว่าการสักข้อมือ หลังมือ หรือการสักเลข ซึ่งนอกจากจะใช้เพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์พลเมืองมาเป็นทหารแล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการใช้เก็บภาษีอากรได้ด้วย

 


[1] จากฐานข้อมูลออนไลน์ของงานวิชาการและระบบทะเบียนราษฎร ฝ่ายระบบการทะเบียนราษฎร ส่วนการทะเบียนราษฎร สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย,  http://www.dopa.go.th/card/p_book.htm .
หมายเลขบันทึก: 164074เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2008 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ในปีร.ศ.๑๑๘ (ค.ศ. ๑๙๐๐) เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ได้มีการทำ สัญญาว่าด้วยการจดบาญชีคนในบังคับอังกฤษ ในกรุงสยาม รศ. ๑๑๘[1] โดยสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างรัฐบาลของพระเจ้ากรุงสยาม กับรัฐบาลขอลสมเด็จพระนางเจ้าราชินี กรุงเกรตบริเต็นแลไอร์แลนด์ แลเอ็มเปร็สอินเดีย ซึ่งสัญญาฉบับนี้มีสาระสำคัญ ๕ ข้อ คือ

 

๑. คนที่จะได้รับการจดบาญชีคนในบังคับอังกฤษ ต้องมีลักษณะดังนี้

 

(๑) เป็นคนในบังคับอังกฤษตั้งแต่เกิด หรือคนซึ่งแปลงชาติเป็นคนในบังคับอังกฤษ เว้นแต่คนที่เป็นเชื้อสายชาวทวีปเอเชีย

 

(๒) บรรดาลูก หลานผู้ที่เกิดในกรุงสยาม จากคนที่สมควรจดบาญชีได้ในจำพวกที่หนึ่ง อันเป็นผู้ซึ่งจะเป็นคนในบังคับอังกฤษได้ตามกฎหมายอังกฤษ

 

แต่ไม่รวมถึง เหลน หรือ ลูกซึ่งไม่ถูกต้องตามกฎหมายของคนจำพวกที่หนึ่ง (เหลน และลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ถือเป็นคนในบังคับอังกฤษ)

 

(๓) บรรดาคนเชื้อสายชาวอินเดียที่เกิดในอาณเขตรของพระราชินี หรือ เกิดอังกฤษ หรือเกิดภายในเขตรแดนของเจ้าหรือประเทศใดๆในอินเดียซึ่งขึ้นอยู่ หรือมีสัญญาเข้ากับพระราชินีอังกฤษ หรือเป็นคนที่ได้แปลงชาติภายในกรุงอังกฤษ

 

แต่ไม่รวมถึงคนชาวเมืองพม่าฝ่ายเหนือ หรือชาวเมืองเงี้ยวของอังกฤษผู้ซึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในกรุงสยาม ก่อนวันที่ ๑ มกราคม รศ.๑๐๔ (ค.ศ.๑๘๘๖)

 

(๔) บรรดาลูกที่เกิดในกรุงสยามของคนที่สมควรจะจดบาญชีได้ในจำพวกที่สาม

 

แต่ไม่รวมถึงหลานของคนจำพวกที่สาม

 

(๕) ภริยา และหญิงม่ายของคนที่สมควรจดบาญชีได้ทั้งสามจำพวก

 

๒.บาญชีที่จดมาได้แล้วจะต้องเปิดให้ผู้แทนรัฐบาลสยาม ตรวจดูในเวลาที่บอกให้ทราบล่วงหน้าตามสมควร

 

๓. เมื่อมีคดีใดๆเกิดขึ้นกับผู้ที่ถือหนังสือสำคัญว่าการจดบาญชีอังกฤษนั้นถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ก็ดี หรือในข้อที่หนังสือสำคัญนั้นใช้ได้หรือไม่ก็ดี เจ้าพนักงานฝ่ายอังกฤษกับสยามจะต้องพร้อมกันพิจารณาไต่สวน และตัดสินไปตามข้อความที่ว่าไว้ในหนังสือสัญญานี้ ในคำพยานซึ่งผู้ถือหนังสือสำคัญจะต้องนำสืบ ตามธรรมเนียมที่เคยทำมาแล้ว

 

๔. ถ้ามีคดีความอันเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามีโทษค้างอยู่ในเวลาที่กำลังพิจารณาไต่สวนกันเช่นว่ามานี้ จะต้องปรึกษาให้ตกลงพร้อมกันว่าคดีความนั้นควรจะพิจารณาในศาลใดด้วย

 

๕.ถ้าคนผู้ซึ่งต้องพิจารณาไต่สวนนั้นเป็นผู้ที่ชำระได้ความว่า อยู่ในจำพวกที่จดบาญชีได้ดังกำนหดลงไว้ในข้อ ๑. แล้ว และถ้าเป็นคนที่ยังไม่ได้จดไว้ในบาญชีก็จดลงต่อไปว่าเป็นคนในบังคับอังกฤษ แลรับหนังสือสำคัญของการจดบาญชีนั้นที่สถานกงสุลอังกฤษ แต่ถ้าชำระได้ความเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นคนในบังคับสยาม และถ้าเป็นผู้ที่ได้จดบาญชีไว้แล้วจะต้องลบชื่อนั้นออกเสีย

 


[1] ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๔ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ เล่ม ๑๗ หน้า ๑๒๒ ,จากฐานข้อมูลออนไลน์ของราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/013/122.PDF .

ในปี  พ.ศ.2452   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นว่าสมควรที่จะให้คิดจัดทำบัญชีคนในพระราชอาณาเขตเพื่อทราบความแน่นอนว่ามีคนอยู่เท่าใด  และเพื่อประโยชน์ที่จะบำรุงความสุข และรักษาการแผ่นดินให้เหมือนกับที่เป็นอยู่ในประเทศทั้งปวง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตรา  พระราชบัญญัติสำหรับทำบัญชีคนในพระราชอาณาจักร ร.ศ.128 ขึ้น  โดยกำหนดหลักการที่จะต้องดำเนินการสำคัญตามกฏหมายฉบับนี้เป็น ประการ ด้วยกัน คือ (1)  ให้จัดทำบัญชีสำมะโนครัวขึ้น (2) ให้จัดทำบัญชีคนเกิดและคนตาย และ(3) ให้จัดทำบัญชีคนเข้าออก

        ในปี พ.ศ.2457  

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นว่า พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่  ร.ศ.116    สมควรที่จะแก้ไขให้ตรงกับวิธีการปกครองที่เป็นอยู่ทุกวันนี้   จีงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้แก้ไข โดยกำหนดว่า  กรณีที่แห่งใดยังใช้ได้ให้คงไว้ แห่งใดที่เก่าเกินกว่าวิธีปกครองทุกวันนี้ ก็แก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์   และได้รวบรวมตราเป็น พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช  2457  ขึ้น  โดยได้กล่าวถึงการจัดทำทะเบียนสำมะโนครัวซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และ อำเภอ ไว้ดังนี้

 

 ".........เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่จะจัดทำบัญชีสำมะโนครัวในหมู่บ้านของตนและคอยแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอ  กำนันต้องรักษาบัญชีสำมะโนครัว  และทะเบียนบัญชีของรัฐบาลในตำบลนั้น  และคอยแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องกับบัญชีของผู้ใหญ่บ้าน   และหน้าที่ของกรมการอำเภอในการทะเบียนบัญชี นั่นคือทำบัญชีสำมะโนครัวและทะเบียนทุก ๆ อย่างบรรดาที่ต้องการใช้ในราชการ..........."

 

ในปี พ.ศ.2458  

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นว่า ตามที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติการทำบัญชีคนในพระราชอาณาจักรขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2452แล้ว และบัดนี้การปกครองท้องที่ก็ได้จัดเป็นหลักฐานมั่นคงแล้ว  จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจดทะเบียนคนเกิด  คนตายตามหัวเมือง  พุทธศักราช 2459 โดยให้ใช้ กฏนี้ในหัวเมืองทุกมณฑล นอกจากมณฑลกรุงเทพ   ซึ่งให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่1เมษายน  2459 เป็นต้นไป พร้อมนี้ได้ออกระเบียบว่าด้วยการแจ้งความ และจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ในหัวเมือง

มาอ่านแล้ว

รอดูการวิเคราะห์ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท