ประกาศกรมประมง
เรื่อง การรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่า คุ้มครอง ตามมาตรา 61
แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
-----------------------
ด้วยได้มีกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 120 ตอนที่ 74ก วันที่ 1 สิงหาคม 2546 มีเนื้อหาสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (กำหนดสัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง)
2. กำหนดให้สัตว์ป่าตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
3. กฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่มาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 บัญญัติให้ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้นหรือซากของ
สัตว์ป่าดังกล่าว ต้องมาแจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 90 วัน
เนื่องจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 มีสัตว์ป่าบางชนิดถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพิ่มเติมจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) และฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 จำนวน 147 ชนิด
โดยที่มาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 บัญญัติให้
ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้นหรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ต้องมาแจ้ง
การครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 90 วัน
กรมประมง จึงขอแจ้งให้ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้นหรือ
ซากของสัตว์ป่าคุ้มครองดังกล่าว ในส่วนของสัตว์น้ำ จำนวน 25 ชนิด ได้แก่ สัตว์ป่าจำพวกปลา 10 ชนิด สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 ชนิด ตามบัญชีท้ายประกาศประมง ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2546 ดังน
1. ให้ผู้มีสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้น ซึ่งมีอยู่ในความครอบครองก่อนกฎกระทรวงใช้บังคับ ไปแจ้งชนิดและจำนวนสัตว์ป่าคุ้มครองที่กำหนดเพิ่มเติมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2546 หากไม่ประสงค์จะเลี้ยงดูต่อไปให้จำหน่ายให้แก่ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ หรือผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์ (เฉพาะชนิดที่กฎกระทรวงกำหนดให้เพาะพันธุ์ได้) ให้เสร็จสิ้นภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือมอบให้กรมประมง
2. ให้ผู้ครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้น ซึ่งมีอยู่ก่อนกฎกระทรวงใช้บังคับไปแจ้งชนิดและจำนวนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ สำหรับผู้แจ้งครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อค้าให้ดำเนินการจำหน่ายให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี
ขั้นตอนการแจ้ง
1. ยื่นแบบแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง (สป.1) ตามแบบท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
1.1 เอกสารหลักฐานประกอบการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง
1.1.1 กรณีผู้ครอบครองเป็นบุคคลธรรมดา
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ครอบครอง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว อย่างใดอย่างหนึ่ง
1.1.2 กรณีผู้ครอบครองเป็นนิติบุคคล
- สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท (กรณีบริษัทจำกัด) หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) แล้วแต่กรณี
- หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัทจำกัดหรือ บริษัทมหาชนจำกัด ที่จดทะเบียนไว้ - หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงรายการ
จดทะเบียน ตลอดทั้งชื่อกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
2. สถานที่รับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง
2.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ผู้มีสัตว์ป่าคุ้มครองในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นแบบแจ้งการครอบครอง สป. 1 ณ ส่วนอนุญาตและจัดการด้านการประมง สำนักบริหารจัดการด้านการประมง กรมประมง เกษตรกลาง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หรือหากประสงค์จะส่งแบบแจ้งการครอบครอง (สป. 1) ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้จ่าหน้าซองถึง ผู้อำนวยการส่วนอนุญาตและจัดการประมง สำนักบริหารจัดการ
ด้านการประมง กรมประมง เกษตรกลาง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 พร้อมทั้งสอดซองติดแสตมป์
จ่าหน้าถึงตนเอง
2.2 ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น นอกเขตกรุงเทพมหานครให้ผู้มีสัตว์ป่าคุ้มครองในท้องที่อื่นนอกเขตกรุงเทพมหานครยื่นแบบแจ้งการครอบครอง (สป. 1) ณ สำนักงานประมงจังหวัดแห่งท้องที่
อนึ่ง หากพ้นกำหนดเวลา 90 วัน ในการรับแจ้งการครอบครองนี้แล้ว ผู้ใดยังมีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองโดยยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่ได้แจ้งการครอบครองตามกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ผู้นั้นก็จะมีความผิดฐานมีไว้ครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษจำคุก 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อหรือแจ้งข้อมูลได้ที่
ส่วนอนุญาตและจัดการประมง สำนักบริหารจัดการด้านการประมง กรมประมง เกษตรกลาง แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2562 0600-15 ต่อ 2101 และ 2103 หมายเลขโทรสาร 0 2561 4689 หรือสำนักงานประมงจังหวัด แห่งท้องที่ ในวันและเวลาราชการ จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
สิทธิ บุณยรัตผลิน
(นายสิทธิ บุณยรัตผลิน)
อธิบดีกรมประมบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้น ในส่วนของสัตว์น้ำ
จำนวน 25 ชนิด ที่ต้องแจ้งครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง
ตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535ตั้งแต่บัดนี้ – 29 ธันวาคม 2546
เรื่อง การรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่า คุ้มครอง ตามมาตรา 61
แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
-----------------------
ด้วยได้มีกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 120 ตอนที่ 74ก วันที่ 1 สิงหาคม 2546 มีเนื้อหาสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (กำหนดสัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง)
2. กำหนดให้สัตว์ป่าตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
3. กฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่มาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 บัญญัติให้ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้นหรือซากของ
สัตว์ป่าดังกล่าว ต้องมาแจ้งการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 90 วัน
เนื่องจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 มีสัตว์ป่าบางชนิดถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพิ่มเติมจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) และฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 จำนวน 147 ชนิด
โดยที่มาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 บัญญัติให้
ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้นหรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ต้องมาแจ้ง
การครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 90 วัน
กรมประมง จึงขอแจ้งให้ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้นหรือ
ซากของสัตว์ป่าคุ้มครองดังกล่าว ในส่วนของสัตว์น้ำ จำนวน 25 ชนิด ได้แก่ สัตว์ป่าจำพวกปลา 10 ชนิด สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 ชนิด ตามบัญชีท้ายประกาศประมง ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2546 ดังน
1. ให้ผู้มีสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้น ซึ่งมีอยู่ในความครอบครองก่อนกฎกระทรวงใช้บังคับ ไปแจ้งชนิดและจำนวนสัตว์ป่าคุ้มครองที่กำหนดเพิ่มเติมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2546 หากไม่ประสงค์จะเลี้ยงดูต่อไปให้จำหน่ายให้แก่ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ หรือผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์ (เฉพาะชนิดที่กฎกระทรวงกำหนดให้เพาะพันธุ์ได้) ให้เสร็จสิ้นภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือมอบให้กรมประมง
2. ให้ผู้ครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้น ซึ่งมีอยู่ก่อนกฎกระทรวงใช้บังคับไปแจ้งชนิดและจำนวนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ สำหรับผู้แจ้งครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อค้าให้ดำเนินการจำหน่ายให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี
ขั้นตอนการแจ้ง
1. ยื่นแบบแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง (สป.1) ตามแบบท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
1.1 เอกสารหลักฐานประกอบการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง
1.1.1 กรณีผู้ครอบครองเป็นบุคคลธรรมดา
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ครอบครอง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว อย่างใดอย่างหนึ่ง
1.1.2 กรณีผู้ครอบครองเป็นนิติบุคคล
- สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท (กรณีบริษัทจำกัด) หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) แล้วแต่กรณี
- หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัทจำกัดหรือ บริษัทมหาชนจำกัด ที่จดทะเบียนไว้ - หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงรายการ
จดทะเบียน ตลอดทั้งชื่อกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
2. สถานที่รับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง
2.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ผู้มีสัตว์ป่าคุ้มครองในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นแบบแจ้งการครอบครอง สป. 1 ณ ส่วนอนุญาตและจัดการด้านการประมง สำนักบริหารจัดการด้านการประมง กรมประมง เกษตรกลาง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หรือหากประสงค์จะส่งแบบแจ้งการครอบครอง (สป. 1) ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้จ่าหน้าซองถึง ผู้อำนวยการส่วนอนุญาตและจัดการประมง สำนักบริหารจัดการ
ด้านการประมง กรมประมง เกษตรกลาง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 พร้อมทั้งสอดซองติดแสตมป์
จ่าหน้าถึงตนเอง
2.2 ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น นอกเขตกรุงเทพมหานครให้ผู้มีสัตว์ป่าคุ้มครองในท้องที่อื่นนอกเขตกรุงเทพมหานครยื่นแบบแจ้งการครอบครอง (สป. 1) ณ สำนักงานประมงจังหวัดแห่งท้องที่
อนึ่ง หากพ้นกำหนดเวลา 90 วัน ในการรับแจ้งการครอบครองนี้แล้ว ผู้ใดยังมีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองโดยยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่ได้แจ้งการครอบครองตามกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ผู้นั้นก็จะมีความผิดฐานมีไว้ครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษจำคุก 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อหรือแจ้งข้อมูลได้ที่
ส่วนอนุญาตและจัดการประมง สำนักบริหารจัดการด้านการประมง กรมประมง เกษตรกลาง แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2562 0600-15 ต่อ 2101 และ 2103 หมายเลขโทรสาร 0 2561 4689 หรือสำนักงานประมงจังหวัด แห่งท้องที่ ในวันและเวลาราชการ จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
สิทธิ บุณยรัตผลิน
(นายสิทธิ บุณยรัตผลิน)
อธิบดีกรมประมบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้น ในส่วนของสัตว์น้ำ
จำนวน 25 ชนิด ที่ต้องแจ้งครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง
ตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535ตั้งแต่บัดนี้ – 29 ธันวาคม 2546
ลำดับที่ |
ลำดับที่ในกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 |
รายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองที่กำหนดเพิ่มเติม |
สัตว์น้ำจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
||
1 |
158 |
โลมากระโดด (Stenella
longirostris) |
2 |
159 |
โลมาแถบ (Stenella
coeruleoalba) |
3 |
160 |
โลมาธรรมดา (Delphinus
delphis) |
4 |
162 |
โลมาฟราเซอร์ (Lagenodelphis
hosei) |
5 |
163 |
โลมาฟันห่าง (Steno
bredanensis) |
6 |
164 |
โลมาลายจุด (Stenella
attenuate) |
7 |
168 |
วาฬคูเวียร์ (Ziphius
cavirostris) |
8 |
171 |
วาฬเพชฌฆาต (Orcinus orca) |
9 |
172 |
วาฬเพชฌฆาตดำ (Pseudorca
crassidens) |
10 |
173 |
วาฬเพชฌฆาตเล็ก (Feresa
attenuate) |
11 |
174 |
วาฬฟันสองซี่ (Mesoplodon
ginkgodens) |
12 |
175 |
วาฬฟิน (Balaenoptera
physaius) |
13 |
176 |
วาฬหัวแตงโม (Peponocephala
electra) |
14 |
177 |
วาฬหัวทุย (Physeter
macrocepalus) |
15 |
179 |
วาฬหัวทุยเล็ก (Kogia
breviceps) |
สัตว์น้ำจำพวกปลา |
||
1 |
1 |
ปลาจาดถ้ำ (Poropuntius
speleops) |
2 |
2 |
ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) |
3 |
3 |
ปลาพลวงถ้ำ (Neolissochilus
subterraneus) |
4 |
4 |
ปลาผีเสื้อถ้ำ (Cryptotora
thamicola) |
5 |
5 |
ปลาค้อถ้ำ (Nemacheilus
troglocataractus) |
6 |
6 |
ปลาค้อตาบอด (Schistura
oedipus) |
7 |
7 |
ปลาค้อจารุธานินธร์ (Schistura
jaruthanini) |
8 |
8 |
ปลาค้อถ้ำพระวังแดง (Schistura
spiesi) |
9 |
9 |
ปลาค้อถ้ำพระไทรงาม (Schistura
deansmarti) |
10 |
10 |
ปลาชะโอนถ้ำ (Pterocryptis
buccata) |
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย อภิชาติ สังข์ทอง ใน กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมง G.702
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก