อนุทินส่วนตัว ๖ ก.พ. ๕๑


หลักสูตร วท.ด. สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว. (www.swu.ac.th/bsri)
         ผมได้รับการทาบทามจาก รศ. ดร. วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี ผอ. สถาบัน ช่วยให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงหลักสูตร     ผมตรองดูแล้ว คิดว่า ผมไปช่วยตั้งคำถามได้   แต่ให้คำแนะนำได้น้อยเพราะไม่มีความรู้ด้านนี้โดยตรง    และไม่มีความรู้ด้านข้อกำหนดกฎเกณฑ์ด้านบัณฑิตศึกษา 
คำถาม
     o พฤติกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน แตกต่างจากพฤติกรรมศาสตร์เมื่อ ๑๐ ปีที่แล้วอย่างไรบ้าง
     o พฤติกรรมศาสตร์มีธรรมชาติเป็นสหสาขาวิชา    มีสาขาใดที่เกี่ยวข้องที่มีการเปลี่ยนแปลงของศาสตร์อย่างใหญ่หลวงระดับเปลี่ยนกระบวนทัศน์     และดึงให้พฤติกรรมศาสตร์ ต้องเปลี่ยนในระดับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไปด้วย
     o พัฒนาการของ life science โดยเฉพาะ neuroscience มีผลให้ต้องปรับปรุงพฤติกรรมศาสตร์อย่างไรบ้าง
     o โยงกับสภาพสังคมไทย โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และลีลาชีวิต (lifestyle) ของผู้คน    โจทย์วิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์ ควรเปลี่ยนไปจาก ๑๐ ปีที่แล้วอย่างไรบ้าง    และต้องการพื้นความรู้ด้านใดบ้างรองรับเพื่อให้ทำวิจัยดังกล่าวได้ดี
     o ทีมจัดการหลักสูตรควรร่วมมือกับสถาบัน/หน่วยงานที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน (เช่น สถาบันรามจิตติ, มูลนิธิสยามกัมมาจล, ฯลฯ), และด้านคุณธรรม (เช่นศูนย์คุณธรรม) อย่างไร  
         ผมจึงทำการบ้านส่ง ดร. วิลาสลักษณ์ ทาง บล็อก เสียเลย    เพราะเดาว่านัดยากเพราะความไม่มีเวลาของผม    แต่ถ้าทางสถาบันต้องการให้ไปคุย ก็ยินดีครับ    โปรดลองกำหนดวัน    โดยในเดือนมีนาคมทั้งเดือนผมไม่ว่าง

ผศ. นพ. วรรษา เปาอินทร์
รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์  มธ. 
         มาปรึกษาในฐานะผู้ประสานงานของเครือข่ายสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย  เรื่อง KM ในโรงเรียนแพทย์
         KM Network ของโรงเรียนแพทย์ มีสมาชิก 13/17 รรพ. (รรพ. ใหม่คือ ม. นราธิวาสฯ, มทส., มวล., และ มบ.)
         อ. หมอวรรษา เล่าว่าสรุปได้ว่า KM ใน รรพ. ๑๓ แห่งจำแนกได้เป็น ๓ กลุ่ม
     • เริ่มที่พยาบาล และแฝงอยู่ใน HA : ศิริราช, มข. (ที่ศิริราชใช้ KM ใน R2R ด้วย)
     • เริ่มที่สายสนับสนุน : มธ., ภาควิชาพยาธิ มอ.
     • เริ่มจากอาจารย์ : มศว.  
         มธ. ใช้ KM ในเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน (ไม่ใช่พยาบาล เพราะพยาบาลไม่ได้อยู่ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์)  มี CoP กว่า ๑๐  เช่น CoP พัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้    CoP healthy workplace,   CoP แก้ปัญหาการซ่อมบำรุง
         มีการดูงาน KM ระหว่าง รรพ. เช่น มธ. ไปดูงาน มน., มข. และ มวล.     มวล. จะไปดูงาน ศิริราช และ มธ.    
         คุยกันเรื่องวิธีขับเคลื่อนให้ รรพ. ต่างๆ ใช้ KM เป็น     คือใช้ในการพัฒนางาน พัฒนาคน และพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรเรียนรู้   

         ผมแนะนำว่าต้องไม่ลงแรงในระดับ consortium มากเกินไป   แต่ละ รรพ. ควรลงแรงขับเคลื่อน KM ของตนเอง     โดยเรียนรู้ยุทธศาสตร์การประยุกต์ใช้ KM จากกันและกันระหว่าง รรพ. 
         ผมแนะนำวิธีดูงานโดยใช้ Peer Assist เป็นเครื่องมือ จะมีพลังมากกว่าการดูงานธรรมดา
         ผมชื่นใจที่ได้รับทราบการขับเคลื่อนการใช้ KM ในกลุ่มสถาบันโรงเรียนแพทย์

         อ. หมอวรรษาเป็นกรรมการ TMI (Thai Medical Informatics) ด้วย    เวลานี้กิจการของสมาคม TMI โยงกับ Asia – Pacific Medical Informatics ด้วย     ผมเคยเป็นประธาน TMI อยู่หลายปี สมัยที่ TMI เป็นชมรม 

Weekly Meeting ของ สคส.
         มีการเตรียมทำงานในชีวิตใหม่ ที่ต้องทำมาหากินเลี้ยงตัวเองของ สคส. 
คุยกันเรื่องอัตราค่าบริการของ สคส.    ที่ไม่ใช่อัตราราชการ    เพราะอัตราราชการเป็นอัตราที่ให้แก่คนที่มีเงินเดือนอยู่แล้ว    แต่คน สคส. ไม่มีเงินเดือนจากแหล่งใดๆ  

สถาบันคลังสมองของชาติ
        www.knit.or.th   http://gotoknow.org/post/tag/สถาบันคลังสมองของชาติ   
แยกไปบันทึกต่างหาก

หมายเลขบันทึก: 163857เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2008 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท