"ชัด ชัด กับ CERD: สิทธิในสุขภาพและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของคนทุกคน (ไม่เฉพาะราษฎรหรือคนสัญชาติ)"


เมื่อไหร่ที่มีความไม่เท่าเทียมกันหรือการแบ่งแยกโดยใช้ประเด็นของ “ราษฎร (Citizens)” หรือ “สัญชาติ (Nationality)” ก็โดนค่ะ ไม่ว่าจะมุมไหน เหลี่ยมไหน ก็โดน ในกติกาฉบับนี้

ทุกๆ ท่านค่ะ.. ยิ่งอ่านยิ่งค้นก็ยิ่งมีความปีติเป็นอย่างยิ่งค่ะ.. อีกหนึ่งค้นค้นพบประกอบหลักฐานที่ชัดเจนโดยแทบจะไม่ต้องตีความใดๆ ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ค.ศ. 1965 (The International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination, 1965) หรือที่เราเรียกกันอย่างติดปากว่า “CERD” นั่นแหละค่ะ 

ที่สำคัญ.. กติกาฉบับนี้เป็นหนึ่งในกติการะหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีตั้งแต่เมื่อ ปี พ.ศ. 2546 และในกติกาฉบับนี้ก็ปรากฏถ้อยความที่ชัดเจนกว่ากติกาอื่นๆ ในแง่ของข้อผูกพันที่ไม่ให้รัฐภาคี แบ่งแยกการคุ้มครอง การจัดหาสวัสดิการ และอื่นๆ โดยใช้เหตุใดๆ ก็ตาม โดยเฉพะเหตุของ ความเป็นราษฎร และ ความเป็นคนสัญชาติ”  

วันนี้ข้าพเจ้าขอภูมิใจนำเสนอ  ข้อ 1 วรรค 3” ของกติกาฉบับนี้ค่ะ อยากจะเขียนให้มันดังๆ ว่า.. ไอ้ข้อ 1 วรรค 3 มันว่าดังนี้ค่ะ 

“Nothing in this Convention may be interpreted as affecting in any way the legal provisions of States Parties concerning nationality, citizenship or naturalization, provided that such provisions do not discriminate against any particular nationality. 

ชัดๆ คือ เค้าห้ามไม่ให้รัฐภาคีตีความข้อบัญญัติในกติกาฉบับนี้ ไปเป็นข้อกฎหมายใดๆ ภายในประเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ สัญชาติ ความเป็นราษฎร และการแปลงสัญชาติ แล้วมีลักษณะเป็นการแบ่งแยกโดยให้เหตุ สัญชาติ ในข้อกฎหมายนั้นๆ 

เห็นไหมค่ะ.. ชัดๆ อีกที ในกติกาฉบับนี้ใช้คำว่า “Citizens”, “Non-citizens” และก็ “Nationality” ค่ะ  

เมื่อไหร่ที่มีความไม่เท่าเทียมกันหรือการแบ่งแยกโดยใช้ประเด็นของ ราษฎร (Citizens)” หรือ สัญชาติ (Nationality)” ก็โดนค่ะ ไม่ว่าจะมุมไหน เหลี่ยมไหน ก็โดน ในกติกาฉบับนี้ 

นอกจากนี้ ใน ข้อที่ 36 ของ General Recommendation no.30 ของกติกาฉบับนี้ ที่ว่าด้วยเรื่อง การแบ่งแยกโดยใช้เหตุความไม่เป็นราษฎรของรัฐ ยังพูดถึงหน้าที่ของรัฐภาคีที่จะต้องเคารพในสิทธิของ “Non-citizens” ในเรื่องสิทธิในสุขภาพ และต้องไม่จำกัดการเข้าถึงการบริการทางด้านสาธารณะสุขของคนกลุ่มนี้ด้วย 

“Ensure that States parties respect the right of non-citizens to an adequate standard of physical and mental health by, inter alia, refraining from denying or limiting their access to preventive, curative and palliative health services. 

เอ..ได้ข่าวว่าประเทศไทยไม่ได้ตั้งข้อสงวนในข้อนี้ไว้นะคะ 

(ดีใจค่ะ ดีใจ)

หมายเลขบันทึก: 163630เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2008 02:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยอย่างยิ่งคะ ไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติ ในเรื่องที่เกี่ยวกับHuman Rights โดยทั่วไปก็คือสิทธิของมนุษย์ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน ไม่ควรเลือกปฏิบัติใดๆไม่ว่ากับคนในชาติและหรือคนชาติอื่นควรมีความเท่าเทียมกัน..ดังนั้นถ้ารัฐภาคีไม่ปฏิบัติตามก็ถูกประณามไป..

แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาคือว่า..(ความเห็นนะคะ)

 มาตรฐานคนในชาติในเรื่องนี้นั้น ยังไม่เท่าเทียมกันอย่างชัดเจน การเลือกปฏิบัติระหว่างคนในชาติยังมี เช่นคนรวยคนจน ข้าราชการกับชาวบ้าน มาตรฐานการรักษาพยาบาลระหว่างโรงพยาบาลต่างจังหวัดกับกทม หรือในกทม ด้วยกันเอง หรือยาไม่ได้มาตรฐานบางโรงพยาบาล เป็นต้น คือยังหามาตรฐานใดๆไม่ได้"คือสรุปง่ายๆว่า"มาตรฐานที่จะประกันสุขภาพซึ่งน่าจะหมายรวมถึงคุณภาพการรักษาพยายาลต่างๆด้วยนั้น ยังไม่แน่ใจว่าได้มาตรฐานหรือไม่ เท่าเทียมกันหรือไม่..รักษาแล้วอาจ..ตาย..ทุกโรค"หรือเปล่า..ยังไม่แน่ใจนะคะ

ดังนั้น จึงมองว่าในเรื่องความเท่าเทียมกัน หรือไม่ควรเลือกปฏิบัติกับชนชาติอื่นนั้น ก็อาจเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาหลังจาก เมื่อสามารถพัฒนามาตรฐานในเรื่องหลักประกันตรงนี้ให้ได้ ในระดับที่ได้มาตรฐานและเท่าเทียมกันเสียก่อนสำหรับคนชาติ เพราะหากในประเทศยังไม่สามารถปฏิบัติให้เท่าเทียมกันและหรือได้มาตรฐานในฐานที่เป็น"สิทธิขั้นพื้นฐาน(Human Rights)ของปวงชนชาวไทย"คือ(แม้ไม่ได้100%ก็ตามแต่ไม่ควรมีความแตกต่างที่มากเกินไป)ที่พูดตรงนี้เนื่องจาก ตัวอย่างเช่น ถ้าคนต่างจังหวัดที่พอมีเงินหน่อยก็คือต้องเข้ามารักษาตัวในกรุงเทพกัน เพราะเครื่องมือหรืออุปกรณ์บางอย่างไม่มีในโรงพยาบาลต่างจัวหวัด เป็นต้นคือรักษาตามมีตามเกิด..สำหรับคนจน..น่าสงสารมาก.คือ.เครื่องมือสำคัญๆบางอย่างต้องไปตรวจได้ที่โรงพยาบาลเอกชนเท่านั้นและต้องเข้าคิว..กรณีนี้หมายถึงพอมีเงินนะคะ ถ้าไม่มีก็อาจรอความตายอย่างเดียว เป็นต้น

ก็ทำให้มองต่อไปว่าเมื่อคนในชาติมีการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกัน(ซึ่งน่าจะหมายรวมถึงมาตรฐานต่างๆด้วย) ซึ่งมาตรฐานในเรื่องนี้ยังไม่แน่ใจว่าได้มาตรฐานหรือไม่ อย่างไร เท่าเทียมกันหรือไม่..?????

" แล้วถ้าใช้หลักปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ..คือต้องไม่เลือกปฏิบัติกับคนชาติอื่น" จึงคิดว่าหลักนี้จะใช้ได้น่าจะต้องหมายความว่าการปฏิบัติกับคนในชาติก็ต้องได้มาตรฐานก่อนหรือไม่ จึงสมควรจะนำการปฏิบัตินี้ไปปฏิบัติกันชนชาติอื่น ตามหลักปฏิบัติ"เยี่ยงคนชาติ" มิฉะนั้น จะเป็นการเอาคนชาติอื่นมาตายร่วมกันกับเราหรือเปล่า...

ดังนั้น ในความเห็นจึงคิดว่าอันดับแรก เรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของคนในชาติต้องเอามาพูดก่อนว่ามีจริงหรือไม่ เมื่อมีจริงแล้ว..ก็ควรนำไปปฏิบัติกับคนชาติอื่น ตามหลักปฏิบัติ"เยี่ยงคนชาติ" อันนี้ความเห็นนะคะ  อาจไม่ถูกต้องก็ได้คะ

คำว่า "international convention" ควรต้องแปลว่า "อนุสัญญาระหว่างประเทศ" จ๊ะ เป็นศัพท์บัญญัติของกระทรวงการต่างประเทศ เราอาจจะแปลเป็นอย่างอื่นได้ แต่ถ้าคนทั้งสังคมเขาเข้าใจแล้ว ก็อย่าไปสร้างคำอื่น และโดยเฉพาะคำนั้นไม่ได้สร้างความเข้าใจผิดอะไร

คำว่า "กติกา" แปลมาจาก "covenant"

ค่อยๆ ค้นคว้า และถ่ายทอดความรู้สู่สังคม ดีแล้ว สังคมและเรา จะเรียนรู้ไปพร้อมกัน

สวัสดีค่ะ คุณหมูอ้วน (เอ.. ใช่หรือเปล่า..ขออภัย หากสะกดเป็นไทยผิดพลาด)

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นต่อความคิดเห็นของคุณดังต่อไปนี้นะคะ

หลักประกันสุขภาพ-ถ้านึกภาพให้ง่ายที่สุด-น่าจะนึกได้ว่า การที่สังคมไทยเรามีระบบการให้บริการด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่สุด ไปจนถึงขั้นจำเป็น--เพราะการมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ป้องกันก่อนเจ็บไข้ ป่วยแล้วได้รับการรักษา นั้นต้อง( + ควร + น่าจะ )เป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดของการดำรงชีวิตจริงไหมคะ

มีหลายกรณี ทั้งคนจำนวนไม่น้อย (ทั้งไทยและคนไม่ไทย) ไม่กล้าไปหาหมอที่รพ. เพราะจนค่ะ เลือกที่จะเจ็บป่วยและอาจจะต้องหายไปจากโลกนี้ เพราะจนแล้วเจียม, หรือเมื่อไปหาหมอ แต่ไม่มีเงินจ่าย เพราะค่าใช้จ่ายนั้น ค่าหมอค่ายาก็ไม่น้อย แล้วต้องมีค่ารถค่าข้าวน้ำระหว่างเดินทางอีก --อ่านได้จากบลอคกรณีศึกษาที่เชื่อมโยงกับงานของเตือนนะคะ

คำถามถึงคนอีกคน อีกคน และอีกคน....ที่ "อยู่ในสังคมเดียวกัน" ก็คือ .."คนบางคน" ควรถูกปล่อยให้เขาเข้าไม่ถึงหลักประกันสุขภาพต่อไป เพียงเพราะเขาไม่ใช่คนไทย รวมถึงเพียงเพราะระบบบ้านเรายังไม่ดีพอ ไม่ได้มาตรฐานพอ--หรือเปล่า... รวมถึง การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพมันควรเป็นเรื่องของ "ปวงชนชาวไทย" จริงหรือ

คิดและถกเถียงกันเพื่อข้ามให้พ้น "สัญชาติ"และความเป็นพรมแดน นะคะ ว่าเราจะคิด จะมอง จะปฏิบัติต่อคนเจ็บป่วยคนอื่นๆ (ที่เจ็บป่วยและตายเหมือนๆ กับ คนไทย) อย่างไร ..

ส่วนวิธีการนั้นก็เป็นอีกประเด็นนะคะ ..คนไทยก่อนหน้านี้ต้องจ่ายสามสิบบาท ถึงแม้ตอนนี้จะไม่จ่ายแล้ว.. แต่ระบบการร่วมจ่าย ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ..

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท