จดหมายข่าว โครงการจัดระดับความเหมาะสมสื่อ PROJRCT ME E-NEWS (3)


การจัดระดับความเหมาะสมสื่อภาพยนตร์ว่า ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรจะกำหนดให้เป็นกฎหมาย น่าจะจัดเป็นเครื่องมือให้ผู้ปกครอง หรือ ผู้ผลิตตระหนักถึงมากกว่า แต่ในเมื่อบัญญัติ ออกมาเป็นกฎหมายแล้วนั้นก็ไม่ควรให้สิทธิเพียงกลุ่มคนกลุ่มเดียว

Film Friendly Visit: ผู้กำกับน้องใหม่ฝีมือเก๋า จาก ค่ายหัวฟิล์มท้ายฟิล์


29 มกราคม 2551 วันนี้น้องอี๋ได้กลับมาเยี่ยมบ้านเก่า เพื่อพาชาว ME ประกอบไปด้วย อ.อิทธิพล พี่เหยียน และน้องแนท มาบุกถึงWorkpoint Village เพื่อพบกับ Executive Vice President ( Production ) บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ( มหาชน ) ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายผลิตและรั้งตำแหน่ง Managing Director บริษัท หัวฟิล์ม ท้ายฟิล์ม จำกัด คุณพาณิชย์ สดสี หรือ “ พี่โอ๋” ที่คนใน Workpoint เรียกกันจนติดปาก จริงๆพี่โอ๋มีเลขา ฯ ชื่อ น้องโอ๊ะด้วย ( โอ๊ะโอ๋ )

พี่โอ๋ พี่ชายหน้าอ่อน รูปร่างเล็ก ที่มี ตำแหน่งยาวมาก แต่มีความเป็นตัวตนและผลงานที่ชัดเจนมากกว่าชื่อตำแหน่ง ได้เปิดโอกาสให้ทีมงาน ME เข้าพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ โดยเฉพาะภาพยนตร์ วันนี้บรรยากาศการพูดคุยด้วยความเป็นกันเอง พี่โอ๋ออกตัวก่อนว่า จากที่อ่าน พรบ.ภาพยนตร์และวิดิทัศน์ แล้วไม่เข้าใจในเนื้อหาเท่าที่ควรเลย ให้ อ.อิทธิพลอธิบายให้ฟังอีกครั้ง หลังจากนั้นก็เข้าใจภาพรวมของโครงการ ME ของเราตรงกัน โดยมุ่งเน้นไปพุดคุยประเด็นใน มาตรา 26 โดยอ.อิทธิพลเท้าความว่าจากที่เคยทำมาในทีวีนั้น ได้นำ Criteria มาจากต่างประเทศ โดยใช้เรื่อง Sex, Language, Violence ทำจับสิ่งที่ไม่เหมาะสมในเนื้อหาของรายการ แล้วนำมาทำเป็นสูตรที่ใช้ในปัจจุบันในโทรทัศน์บ้านเรา ดังนั้นจึงจะนำแนวทางนี้มาเสนอในการวิจัยโครงการนี้ด้วย

พี่โอ๋ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมสื่อภาพยนตร์ว่า ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรจะกำหนดให้เป็นกฎหมาย น่าจะจัดเป็นเครื่องมือให้ผู้ปกครอง หรือ ผู้ผลิตตระหนักถึงมากกว่า แต่ในเมื่อบัญญัติ ออกมาเป็นกฎหมายแล้วนั้นก็ไม่ควรให้สิทธิเพียงกลุ่มคนกลุ่มเดียวมาตัดสินระดับความเหมาะสมของเนื้อหาภาพยนตร์ โดย ยกเรื่องห้ามฉายในราชอาณาจักร นั้น ว่าเป็นเหมือนดาบอาญาสิทธิที่สามารถชี้เป็นชี้ตายให้ผู้ผลิตมากเกินไป และในปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้ก็ยังไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง ธุรกิจจะดำเนินการยากขึ้น อาจจะทำให้ ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว “เป็นหมัน” ประกอบกับปัจจุบันปัญหาเทปผี ซีดีเถื่อนก็ระบาดไปมากส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับวงการภาพยนตร์ พี่โอ๋มองว่า กม. นำมาปฏิบัติได้กับคนที่ดำเนินถูกต้องตามกฎหมายแต่ว่าคนที่อยู่นอกกฎหมายยังคงไม่สามารถควบคุมได้จริง

วงการภาพยนตร์บ้านเราสมัยก่อนก็มีฉากโป๊ เปลือย รุนแรง ฉุนผุ้หญิง สังคมก็ยอบรับกันได้และคนในสังคมก็ไม่ได้สร้างปัญหามากอย่างในปัจจุบัน จึงมองว่าการที่เราให้คำแนะนำควบคู่ไปด้วยจึงจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมและใช้ได้จริง ดังนั้นการให้การศึกษากับผู้ปกครองและเด็กจึงเป็นเรื่องสำคัญ การให้การศึกษานี้ไม่ได้เฉพาะแค่ว่าสิ่งใดเหมาะสมกับวับไหน แต่ควรแนะนำด้วยว่าหน้าที่ของภาพยนตร์ คืออะไร ความบันเทิงคืออะไรด้วย
นอกจากนั้น ควรมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างจริงจังควบคู่ไปด้วยไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเงิน ช่องทางจัดจำหน่าย หรือ แม้แต่ภาษี และก็การทำงานรวมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน

นอกจากเรื่องภาพยนตร์แล้ว ชาว Me ได้โอกาสก็เลยชวนพี่โอ๋ คุย ถึงเรื่องแนวโน้มของรายการโทรทัศน์เกี่ยวสตรีและครอบครัวในอนาคตอีกด้วย พี่โอ๋บอกว่า การทำรายการโทรทัศน์ต้องทำตามโจทย์ว่า รายการไหนทำเพื่อธุรกิจ หรือ รายการไหนทำเพื่อส่งเสริมอะไร? แล้วค่อยคิดรูปแบบรายการเหมาะสมกับความต้องการนั้น และ ปัจจุบัน Workpoint เองก็ผลิตรายการทั้งศิลปวัฒนธรรม และกำลังจะเพิ่มรายการครอบครัวมากอีก 2 รายการ คือ หลานปู่ กู้อีจู้และ อัจฉริยะยกบ้าน แต่ต้องยอมรับความเหตุผลทางธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดแนวโน้มของรายการโทรทัศน์ เนื่องจาก Workpoint เป็นบริษัทใหญ่มีรายการหลายรายการ จึงสามารถสร้งรายการที่สามารถหาเงินได้พอที่จะเลี้ยงพนักงานสี่ห้าร้อยคน แต่ในทางกลับกันบริษัท รายเล็กๆที่ไม่สามารถมีรายได้เพียงพอแต่มีความต้องการที่จะผลิตรายการท่าสร้างสรรค์ก็จะประกอบธุรกิจลำบากในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้

 

เรื่อง โดย Lady genius: 1Feb 2008


หมายเลขบันทึก: 163332เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2008 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท