การสร้างสันติในชีวิตจริง


สร้างสันติด้วยมือเรา : การสร้างสันติในชีวิตจริง

เขียนโดย สร้างสันติด้วยมือเรา 

  

ในชีวิตประจำวัน คนเราย่อมพบเจอกับสถานการณ์มากมาย บางครั้งทำให้เกิดอารมณ์-ความรู้สึกในทางลบ และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงโดยเฉพาะความโกรธ  ในการสื่อสารด้วยรักและสันติ (NVC) อธิบายถึงความโกรธว่า พอความโกรธขึ้นมา แทนที่จะไปกดทับหรือระเบิดมันออกไป  ให้เราทำเหมือนเห็นไฟสัญญาณกระพริบเตือนบนหน้าปัดรถ คือ มองลงไปว่ามันต้องซ่อมอะไรบ้าง พอเราโกรธเราก็ต้องลงไปมองว่า ความต้องการอะไรของเราที่ไม่ได้รับการตอบสนองบ้าง  พอเราเห็นความต้องการตัวนั้น เราก็สามารถหาทางเติมเต็มได้

ใน การสื่อสารฯ มีผู้เขียนหนังสือแนะนำ ๑๐ ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงความโกรธเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับชัยชนะ โดยใช้หลักการสื่อสารด้วยรักและสันติ* ได้แก่

๑)     คิดว่าความโกรธเป็นดั่งสัญญาณเตือน

๒)      ดูให้ชัดว่าเกิดอะไรขึ้น

๓)     รับผิดชอบต่อความรู้สึกของตัวเราเอง

๔)      รู้เท่าทันความคิดและกระจ่างชัดกับความต้องการ 

๕)      ค้นหาความต้องการ

๖)     หาสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้คำว่า "ไม่"

๗)     คิดหาคำร้องขอที่ชัดเจน

๘)     ให้ชื่อความรู้สึกและความต้องการของอีกฝ่าย

๙)     ใครจะพูดก่อน

๑๐)      เริ่มต้นการสนทนา  รวมทั้งได้แนะนำ "สิบประการที่เราสามารถทำได้เพื่อให้เกิดสันติในตัวเอง  สันติระหว่างเรากับผู้อื่น และสันติภายในองค์กร" 

 ซึ่งทั้งหมดนี้เราสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยรักและสันติ ได้จาก http://www.cnvc.org/

สิบประการที่เราสามารถทำเพื่อให้เกิดสันติภายในตัวเอง สันติระหว่างเรากับผู้อื่น และถึงสันติภายในองค์กร

๑)           ในแต่ละวัน ขอให้จัดเวลาสำหรับนั่งไตร่ตรองเงียบๆ ตามลำพังว่า เราอยากจะรู้สึกอย่างไรกับตัวเอง และอยากจะมีความสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างไร

๒)           ขอให้ระลึกอยู่เสมอว่า มนุษย์ทุกคนมีความต้องการแบบเดียวกัน

๓)           ขอให้พิจารณาดูว่า เราใส่ใจกับการที่ "คนอื่นได้ตามที่ต้องการ" เท่ากับ "ตัวเราเองได้ตามที่เราต้องการ" หรือไม่

๔)           เมื่อขอให้ใครทำอะไร คิดดูก่อนว่า เรากำลังจะร้องขอหรือออกคำสั่ง

๕)           แทนที่จะพูดว่า เราไม่ต้องการให้เขาทำอะไร ขอให้พูดว่า เราต้องการให้เขาทำอะไร

๖)           แทนที่จะพูดว่า เราต้องการให้เขาเป็นอย่างไร ขอให้พูดว่า เราอยากให้เขาทำอะไร ซึ่งเราหวังว่าจะช่วยให้เขาเป็นแบบที่เราอยากให้เป็น

๗)           ก่อนที่จะตอบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของใคร ขอให้พยายามที่จะรับรู้ความรู้สึกและความต้องการของเขา

๘)           แทนที่จะพูดว่า "ไม่" ขอให้พูดว่า เราต้องการอะไร จึงทำให้เราพูดว่า "ตกลง" ไม่ได้

๙)           ถ้าเรากำลังอารมณ์เสีย ลองคิดดูสิว่า เราไม่ได้อะไรตามที่เราต้องการ และเราจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้เป็นไปตามที่เราต้องการ  แทนที่จะคิดว่า เราหรือคนอื่นทำอะไรผิด

๑๐)      แทนที่จะชมเชยเขาที่ทำอะไรบางอย่างซึ่งเราพอใจ ขอให้แสดงความขอบคุณ โดยบอกกับเขาว่า  สิ่งที่เขาทำนั้น ทำให้เราได้อะไรตามที่เราต้องการ

(ที่มา : บทความเรื่อง "10 things we can do  to contribute to internal, interpersonal, and organizational peace" จาก http://www.cnvc.org/)

หมายเลขบันทึก: 163307เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2008 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท