เกี่ยวกับ Islamic Education (๑๒)


มีอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากเกี่ยวกับการอ่านที่บางทีเรามองข้ามไปนั่นคือในซูเราะฮฺอัลอาลักที่มีคำสั่ง"อิกเราะ" หรือ "จงอ่าน" ๒ ที่ด้วยกันใน ๕ อายะฮฺสั้นๆที่ประทานลงมาครั้งแรก แน่นอนที่ว่า การอ่านที่สำคัญที่สุดคือ การอ่านทางนำ หรืออัลฮูดา และการอ่านต่อมาคือการอ่าน อัลอายาต หรือสัญญาณต่างๆของอัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา)

แต่มีการอ่านอีกแบบหนึ่งซึ่งสำคัญมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะสำหรับนักเรียน-นักศึกษานั่นคือ การอ่านก่อนจะเข้าเรียนในห้องเรียน หรือก่อนเข้าฟังบรรยายและการอ่านหลังจากเรียนหรือฟังบรรยายเสร็จแล้ว

การอ่านทั้งสองส่วนดังกล่าวควรที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในสนามของการจัดการเรียนการสอน และนั่นคือแนวทางหนึ่งของIslamic Education ตามนัยของอายะฮฺในซูเราะฮฺอัลอาลักดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

นี่คือวิถีแห่งIslamic Education การอ่านควรเป็นจุดเริ่มแรกของการเรียนหรือศึกษา โดยเฉพาะในระดับที่นักเรียน-นักศึกษาสามารถอ่านหนังสือออกแล้ว อย่างที่มัน "อิกเราะ" ได้ถูกประทานลงมาแรกสุด นักเรียน-นักศึกษาไม่ควรเข้าไปในชั้นเรียนหรือห้องบรรยายด้วยสมองที่ว่างเปล่า เขาควรที่จะได้อ่านในสิ่งที่เขาจะเข้าไปเรียนหรือฟังบรรยายมาล่วงหน้า เข้าควรจะได้รู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น เพื่อว่าเขาจะรู้ว่า เขารู้หรือเข้าใจสิ่งนั้นหรือไม่ มากน้อยแค่ใหน และมีสิ่งใดบ้างจากการอ่านของเขาที่พบว่ามันไม่กระจ่างหรือไม่เข้าใจ การอ่านมาล่วงหน้าจะทำให้นักเรียน-นักศึกษาตอบสนองการสอนของครูอาจารย์ได้อย่างเหมาะสมและมันจะช่วยให้การเรียนในส่วนของนักเรียน-นักศึษาและการสอนในส่วนของอาจารย์ขับเคลื่อนไปอย่างเหมาะสมและดีกว่าการที่นักเรียน-นักศึกษาเข้าห้องเรียนหรือห้องบรรยายด้วยสมองที่ว่างเปล่า

และการอ่านหลังเรียนหรือหลังฟังการบรรยายนอกเหนือจากจะเป็นการทบทวนแล้วมันยังเป็นการเพิ่มเติมเนื้อหาความรู้ให้กว้างขวางและลึกกว่าเดิม และเราจะพบในการอ่านครั้งที่สองนี้ในซูเราะฮฺอัลอาลักได้กล่าวถึงสิ่งที่น่าสนใจคือ

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานี
[96.1] จงอ่าน ด้วยพระนามแห่งพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงบังเกิด 
[96.2] ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด 
[96.3] จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงใจบุญยิ่ง 
[96.4] ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา 
[96.5] ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้ 

นั่นคืออัลลอฮฺกล่าวถึง ๒ เรื่อง คือ ปากกา และการสอนในสิ่งที่มนุษย์ไม่รู้มาก่อน

ปากกานั่นคือให้มนุษย์บันทึกในสิ่งที่เขาอ่านหรือค้นคว้าหรือค้นพบ เพื่อว่าคนอื่นๆจะได้อ่านหรือศึกษาต่อยอดจากสิ่งที่เขาบันทึกเอาไว้แล้ว

และ ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้     นั่นก็ด้วยการอ่านที่ทรงกล่าวว่า "จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงใจบุญยิ่ง"

หมายเลขบันทึก: 163277เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2008 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อัสลามมูอาลัยก่ม  อาจารย์อาลัม

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา  ผมได้ไปร่วมงาน "โยซ"  (ผมไม่แน่ใจว่าภาษาที่เต็มๆ เขาเรียกว่าอะไร) แถวๆ ชุมชนลำสนุ่น  อ.คลองสอง จ. ปทุมธานี

เป็นครั้งแรกครับ  และยังไม่รู้เรื่อง   แต่รู้สึกดีกับงานมากครับ

จึงอยากเรียนถามท่านว่ารู้เรื่องนี้ไม่ครับ   ถามเป็นความรู้ครับ  เกี่ยวกับความเป็นมา   เป้าหมายหรือหลักปฏิบัติที่สำคัญ  และอื่นๆ ที่ท่านทราบ

เท่าที่ถามคร่าว  ทราบว่าจัดปีละหน   แล้วแต่ว่าเขาจะนัดหมายเจอกันที่ไหน    แต่ปีนี้คนมากันเยอะมาก  และมากันไม่เฉพาะแต่คนไทย  ต่างประเทศก็มากกันน่าดู

แต่ถ้าหากว่าไม่ทราบก็ไม่เป็นไรครับ 

ขอบคุณครับ

อัสสลามูอาลัยกุม

 

อ้าว..เขียนไปเยอะ...ได้มาแค่นั้นเอง..แปลกเหมือนกัน

เอาใหม่ๆ...
..........................

Iqra....ในซูเราะที่อ้างถึง

คิดว่าน่าจะหมายถึง จงกล่าว (recite) มากกว่า จงอ่าน (read) มั้ย?
เพราะถ้าให้คิดเป็น จงอ่าน (read)...มักจะนึกถึงการอ่านอะไรซักอย่างผ่านตัวหนังสือ ซึ่งเราก็ทราบดีว่า นบีเรา (ซล.) อ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้

Sunshine แค่สงสัยเฉยๆ และส่วนตัว ถ้าอ่านความหมายของท่อนนี้ จะชอบคำว่า recite มากกว่าคำว่า read หน่ะค่ะ

Recite, in the name of your Lord...

อะไรประมาณนั้น...

อย่างอัลกุรอ่าน...ก็คือสิ่งที่เรากล่าวออกเสียงไป แต่ตัวคัมภีร์เราจะเรียกว่ามุสฮัฟป่าว? (เขียนอาหรับไม่เป็น คงออกเสียงไม่ผิดนะคะ)

...
SS

  • วะอาลัยกุมุสสลามครับอาจารย์  Thawat P
  • พอทราบครับว่าทางกลุ่มดะวะฮฺตับลิฆไปชุมนุมใหญ่ที่ปทุมธานี
  • ดีใจครับที่อาจารย์Thawat ชอบ เท่าที่ทราบดะวะฮฺตับลิฆเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย โดยเมาลานาท่านหนึ่ง (ผมจำชื่อท่านไม่ได้) วัตถุประสงค์สำคัญคือการเชิญชวน หรือ ดะวะฮฺ มวลมนุษย์สู่แนวทางของอัลลอฮฺ เชิญชวนให้อิบาดะฮฺ(เคารพภักดี)ต่ออัลลอฮฺ โดยเฉพาะมุสลิมีน (มุสลิมชาย) ให้ไปร่วมละหมาดญามาอะฮฺที่มัสยิด มีการบายาน (บรรยาย) สั้นๆหลังละหมาด การซิกิรหรือร่ำลึกถึงอัลลอฮฺ การฝึกออกไปดะวะฮฺหรือเชิญชวนซึ่งเขาจะมีฝึกเป็นขั้นๆไป เช่น ๓ วัน ๗ วัน ๑ เดือน ๓ เดือน เป็นต้น
  • สมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มญะมาอะฮฺตับลิฆมีหลากหลายครับ ตั้งแต่นักวิชาการ ระดับศาสตราจารย์ ดอกเตอร์จนถึงชาวบ้านธรรมดา และมีเกือบทุกสาขาอาชีพครับและเกือบทุกประเทศตะวันออก ตะวันตก
  • ที่ยะลาใกล้บ้านผมก็มีศูนย์หรือมัรกัสดะวะฮฺที่ทุกวันศุกร์จะมีสมาชิกมาร่วมละหมาดจำนวนมากครับ
  • เท่าที่ผมทราบก็แค่นี้ครับ
  • วัลลอฮฺฮูอะอฺลัม
  • วะอาลัยกุมุสสลามครับคุณsunshine
  • เท่าที่มีอัลกุรอานฉบับแปลภาษาอังกฤษ ไทย และมลายูอยู่ในมือนะครับมีการแปลคำว่า "อิกเราะ"  ในหลายสำนวนด้วยกันเช่น ใน Translation of the meaning of THE NOBLE QUR'AN ฉบับแปลโดย Dr.Muhammad Taqi-ud-Din Al-Hilali & Dr.Muhammad Muhsin Khan  ใช้คำว่า "read" : "Read In the Name of your Lord Who has created (all that exists)."
  • ส่วน Abdullah Yusuf Ali ใช้คำว่า "Proclaim" :

    proclaim! (or read!) In the name of Thy Lord and Cherisher, who created- อีกคำหนึ่งก็ "Rehearse"

  • วัลลอฮฺฮูอะอฺลัม 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท