เพลงอีแซวพื้นบ้าน ระดับบรมครู "สุจินต์ ศรีประจันต์" เวทีงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์


จะมีผู้ที่กำลังฝึกหัดเพลงสักกี่คนที่ได้เข้ามาดูนักเพลงตัวจริงที่เป็นต้นตำรับ และจดจำรูปแบบของการแสดง ที่เป็นแบบฉบับของเพลงอีแซว แล้วนำเอาไปปรับปรุงผลงานที่ท่านได้ฝึกหัดนักแสดงเอาไว้ ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของเพลงอีแซวสุพรรณฯ โดยสมบูรณ์มากที่สุด

 

เพลงอีแซวพื้นบ้าน

ระดับบรมครู

สุจินต์  ศรีประจันต์

บนเวทีศิลปวัฒนธรรมงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์

คืนวันที่  1  กุมภาพันธ์  2551 

           งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์และงานกาชาดจังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2551 จนถึงวันที่  1 กุมภาพันธ์  2551 รวม 15 วัน 15 คืน มีบริเวณงานที่กว้างใหญ่มาก จัดว่าเป็นงานที่มีความสำคัญที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรี  ที่บริเวณลานหน้าองค์อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จะมีเวทีขนาดใหญ่ เป็นเวทีการแสดงศิลปวัฒนธรรม โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้ประสานงาน จัดให้มีกิจกรรมการแสดงตลอดงาน และทุกคืนผมจะไปนั่งชมการแสดงของทุกกิจกรรม เพื่อให้กำลังใจนักแสดงจากที่ต่าง ๆ

           Dsc09103

           ในแต่ละคืนจะมีการแสดงประเภทต่าง ๆ ขึ้นไปนำเสนอผลงานบนเวทีแห่งนี้ โดยจะเริ่มแสดงช่วงแรก ตั้งแต่เวลา 19.00-20.00 น. และในช่วงที่ 2 เวลา 21.15-24.00 น. แต่ในคืนที่ไม่มีการแสดงประกอบแสงเสียง ยุทธหัตถีเทิดพระเกียรติ การแสดงก็จะมีติดต่อ กันไปตั้งแต่เวลา 19.00-24.00 น. แต่ที่น่าสังเกตคือ การแสดงจะเลิกก่อนเวลา 24.00 น. บางคืนเวลาประมาณ 22.15 น. จบการแสดงเสียแล้ว ยกเว้นคืนวันที่ 20 มกราคม 2551 เท่านั้นที่มีการแสดงไปจนถึงเวลา 24.15 น. (มีผู้ชมเดินเข้ามานั่งยืนชมจนจบการแสดง)

           Dsc09196

           สำหรับในคืนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นการแสดงของวงเพลงอีแซวระดับบรมครู คณะสุจินต์  ศรีประจันต์ ซึ่งพี่สุจินต์ ได้โทรศัพท์ติดต่อผมไว้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2551 ให้ผมไปร่วมแสดงบนเวทีกลางด้วย (ส่วนเด็ก ๆ ในวงติดสอบหลายคน) เนื่องจากพี่เขาจะร้องกลอนสด อาลัยสมเด็จพระพี่นางเธอ ผมจึงได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมบนเวทีในคืนนี้ ร่วมกับเพื่อนๆ และน้อง ๆ นักแสดงเก่า ๆ รุ่นบรมครูอีกหลายท่าน เป็นคนเพลงที่เคยวนเวียนไปแสดงมาด้วยกันตามงานวัดต่าง ๆ อยู่เสมอและมีความคุ้นเคยกันมานาน

           ผมเป็นนักแสดงเพลงพื้นบ้านที่ไม่ชอบท่องบทเพลง (ความจำไม่ค่อยดี) ในการแสดงทุกงานผมจะร้องกลอนสดทั้งหมด เพื่อให้การถ่ายทอดบทเพลงของผมเป็นการร้องเพียงครั้งเดียวในงานนั้น ๆ ทุกครั้งทุกงานหรืออาจจะมีเนื้อจำมาบ้างก็เพียงส่วนน้อย (เป็นอย่างนี้มาตลอดชีวิตการแสดง) ทั้งนี้เพราะผมมีความมั่นใจว่า การร้องสดช่วยให้ท่านผู้ชมได้รับสารที่ใหม่สดจริง ๆ แต่สำหรับนักแสดงทั่วไป รวมทั้งเด็ก ๆ ของผมยังต้องท่องจำบทร้อง จำเนื้อเพลงไปแสดง มีด้นสดบ้างในบางส่วนเท่านั้น

           Dsc09438

           คืนนี้เพลงอีแซวเริ่มแสดงตั้งแต่เวลา 19.00 น.มีผู้ชมมานั่งให้กำลังใจมากพอสมควร (ไม่เต็มเก้าอี้ที่จัดเอาไว้ แต่ก็มากกว่าทุก ๆ คืนที่ผ่านมา) พี่จินต์ร้องไหว้ครู ร้องอาลัยสมเด็จพระพี่นางเธอร่วมกับผมคนละ 3-4 ลง ในตอนลงสุดท้ายพี่จินต์ส่งคำลงเอาไว้ดีมาก ท่านบอกว่า ทุกถ้อยสำนวนที่นำมาร้องอาจจะไม่เหมาะสม ไม่สมควรบ้าง กราบขออภัย แต่ท่านร้องด้วยหัวใจที่จงรักภัคดีต่อพระองค์ ต่อจากนั้นเป็นเพลงเดิน (ไม่เห็นตัวกัน) จนกระทั่งนักเพลงไปพบหน้ากัน ฝ่ายชายร้องเพลงชม ผมร้องต่อคำลงกับพี่จินต์และนักแสดงชายอีก 2 คน แล้วก็เป็นการร้องแก้กันระหว่างชาย-หญิง (ตับคนแก่) และต่อด้วยเพลงฉ่อย (รูปแบบโบราณ) พี่จินต์กล่าวอำลาท่านผู้ชมเมื่อเวลา 21.30 น. และก็มาถึงเวลาของการออกสลาก รางวัลในคืนสุดท้ายของงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์และงานกาชาดจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อเวลา 22.00 น. 

              Dsc09447

           ผมไม่ทราบว่า จะมีผู้ที่กำลังฝึกหัดเพลงสักกี่คนที่ได้เข้ามาดูของจริงที่เป็นต้นตำรับ โดยผ่านการฝึกหัดเพลงพื้นบ้านมาจากครูเพลง (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) ตัวจริง ทุกคน และจดจำรูปแบบของการร้อง การแสดง การพูด การเดินเรื่องและลีลาท่าทางที่เป็นแบบฉบับของเพลงอีแซว แล้วนำเอาไปปรับปรุงผลงานที่ท่านได้ฝึกหัดนักแสดงเอาไว้ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของเพลงอีแซวสุพรรณฯโดยสมบูรณ์มากที่สุด  

            Dsc09449

           ส่วนว่าจะมีการประยุกต์ออกไปอย่างไรก็ดูตามความเหมาะสม ตามจุดขายของแต่ละวง เพื่อหาจุดยืนที่เป็นจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของวงให้ชัดเจนต่อไป

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ชำเลือง  มณีวงษ์  ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม </p>                         การแสดงเพลงพื้นบ้าน  (ปี พ.ศ.2525,2547,2549) <p> </p>

หมายเลขบันทึก: 162852เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2008 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ที่มีเพลงดี ๆ ให้ชมและฟัง

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอบคุณ พรรณา ผิวเผือก

  • ขอบคุณในกำลังใจ ที่มอบให้คนทำงานล้าสมัยอย่างนี้
  • คนทำงานเพลงพื้นบ้านในรูปแบบของการสืบสานอย่างยึดมั่นและถาวรจริง ๆ มีน้อยมาก (เกือบที่จะไม่มีแล้ว)
  • คงมีแต่การทำงานเพลงพื้นบ้านแบบระยะสั้น ไม่แข็งแรงพอที่จะรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเอาไว้ได้อย่างยั่งยืน
  • ผมจึงนำเอาต้นแบบที่เป็นเสาหลักอย่างแท้จริง มาเสนอในบทความนี้ 
  • เสียดายที่ไม่ได้ไปดู..เพราะภรรยาเข้าค่ายลูกเสือ...ต้องเลี้ยงลูก

อาจารย์ พิสูจน์

  • เสียใจด้วยที่ไม่ได้ส่งข่าวพวกเราให้ทราบก่อนการแสดงทั้งนี้เพราะทราบกระชั้นมาก พี่จินต์ยังบ่นถึงพวกเราเช่นกัน
  • คนดูมากเพราะเป็นช่วงเวลาหัวค่ำ ถึงจะพลาดงานนั้นก็ยังจะได้ชมบรมครูแสดงบนเวทีใหญ่ที่โรงละครแห่งชาติอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ ครับ

สวัสดีครับ อ.ชำเรือง จำผมได้ป่าวครับ ถ้าจำไม่ได้ลองถามพ่อสุจินต์ซิครับ

ขอให้อ.มีสุขภาพแข็งแรงน่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท