โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

เมื่อความเงียบ คือ คำตอบ ตอนที่ 2


เราพยายามจะแนะนำให้คนไข้สื่อสารกับแม่ และให้ผู้ป่วยแสวงหาการให้อภัยจากคนอื่น จริงๆแล้ว คนที่ไม่ให้อภัยผู้ป่วย ก็คือตัวผู้ป่วยเอง

เรื่องสืบเนื่องจาก เมื่อความเงียบ คือ คำตอบ ตอนที่ 1 รู้สึกหัวข้อนี้เป็นที่สนใจพอสมควรครับประเมินทางอ้อมจากจำนวนผู้อ่านใน 1 สัปดาห์มากกว่า topic อื่นๆที่ผมเคยเขียน

สาเหตุอาจจะเพราะ "ทำไมความเงียบจึงตอบคำถามได้" หรือว่า "ผู้ป่วยเงียบเป็นประเด็นที่พบแล้วจัดการได้ยาก"

บทสนทนาหลังจากสัมภาษณ์ผู้ป่วย

หลังจากที่เราได้พูดคุยกับผู้ป่วยแล้วก็กลับมาวิเคราะห์ประเด็นร่วมกัน โดยมีผู้ร่วมฟังเป็นพยาบาลเจ้าของไข้ นักกายภาพ นักสังคมสงเคราะห์ เลขากัลยาณมิตร (คุณแนท) ผมและนักจิตวิทยา

ตัวดำเนินเรื่องหลักคือ บทสนทนาของผม กับนักจิตวิทยา (คุณปรีชา)

คุณปรีชา "ช่วงแรกหมอคุยกับคนไข้ ผมสังเกตเห็นหมอเปลี่ยนประเด็นไปเรื่อยๆ พอเจอคนไข้เงียบเพราะอะไรครับ?"

ผม "ยอมรับตามตรงว่าช่วงแรก ผมเหมือนขับรถหลงทาง ถอยเข้าถอยออก เหมือนหาทางเข้าไม่เจอ"

คุณปรีชา " แต่หมอก็ทำได้ดีมาก"

ผม " พี่ช่วยวิจารณ์ว่ามีตรงไหมอีกที่ต้องปรับ หรือใช้วิธีที่เหมาะกว่า"

คุณปรีชา " ตอนคนไข้เงียบนานๆ คุณหมอทำได้ดี คือ เงียบและถามความรู้สึก+ตีประเด็นได้แตก และช่วงท้ายที่หมอให้กำลังใจคนไข้ว่า การร้องไห้เป้นการแสดงความรู้สึกจากข้างใน ไม่ใช่ความอ่อนแอ"

"แต่มีประเด็นครับที่น่าเรียนรู้ ช่วงแรก ที่คนไข้ร้องไห้ มีการส่ง tissue จริงๆการร้องไห้เป็นการที่คนไข้เข้าถึงความรู้สึกภายใน นั้นหมายถึงเราเข้าถึง แต่พอเราส่ง tissue ทำให้คนไข้หันเหความสนใจมาที่ tissue"

" อีกประเด็น คือ ตอนที่เราพยายามจะแนะนำให้คนไข้สื่อสารกับแม่ และให้ผู้ป่วยแสวงหาการให้อภัยจากคนอืน จริงๆแล้ว คนที่ไม่ให้อภัยผู้ป่วย ก็คือตัวผู้ป่วยเอง ดังนั้นถ้าเป็นผม ผมจะให้ผู้ป่วยสะท้อนความรู้สึกว่าผิดอย่างไรจนชัดเจน แล้วจะถามเขาว่า จะให้อภัยตัวเองได้ไหม"

พยาบาลอาสาสมัคร "อย่างนี้เราจะช่วยให้คุณแม่ให้อภัยเขาไม่ได้หรือ"

คุณปรีชา "ได้ครับ แต่ถ้าหากแม่ให้อภัยแล้วแต่คนไข้ไม่ให้อภัยตนเอง คนไข้ก็จะยังสงบไม่ได้"

ผม " เป็นประเด็นที่ดีมากครับ และผมก็เห็นด้วยจริงๆ ว่ามีหลายจุดที่ต้องปรับ ผู้ป่วยรายนี้มี คุณแม่ที่พร้อมจะให้อภัย แต่ผู้ป่วยยังมีประเด็นที่เข้าถึงไม่ครบ คือเรื่องภรรยาและลูกที่อาจเป็นประเด็น แต่เราคงจะช่วยเขาในประเด็นนี้ก่อน"

คุณยุ้ย (เลขาโครงการใน PCU )  "ดีใจมากที่ทีมเราเข้มแข็งขึ้น มีการวิเคราะห์ประเด็น ช่วยกันเป็นทีม คุณหมอ/นักจิต จัดการเปิดประเด็นยากๆ คุณแนทประสานทั้งทีม ยุ้ยประสานชุมชน ทำให้ช่วยเหลือต่อเนื่อง อีกทั้งพยาบาลอาสาสมัครกัลยาณมิตรประสานพยาบาลเจ้าของไข้ให้ดูแล"

เราจบการสนทนาด้วยการตั้งเป้าว่า จะช่วยให้ผู้ป่วยพบการให้อภัยตนเองและสื่อสารกับครอบครัวได้ดีขึ้น "ประเด็นเรื่องปวดเลยเป็นประเด็นรองลงไป"

case นี้หากมีความก้าวหน้าผมจะนำมา update ครับ

หมายเลขบันทึก: 162770เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2008 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

   ตามมาอ่านอีกคะ ชอบใจ การทำงานร่วมกันที่นี่ มากคะ

  การพูดคุยของคุณหมอ ดีมากแล้วคะ ให้เกียรติ และเป็นเพื่อน เป็นธรรมชาติ

   การร้องไห้ ก็ดีคะ แต่เราไม่ร้องกับเขาก็ดีคะ ไม่ใช่เราไม่รู้สึก แต่เราแสดงตนเป็นเพื่อนเขา และอยากฟัง อยากรับรู้ และนำพาบางอย่าง

 

   การเล่าเรื่อง แม้บางครั้งเจ็บปวด แต่ก็เป็นการทบทวน และทำให้ผู้ป่วย คิด  ฉุก คิด โดยไม่ตั้งใจ และนำไปสู่การคลี่คลาย

    การให้อภัยตัวเอง ของผู้ป่วย เป็นเรื่อง ยาก ง่าย  หรือ ไม่ทราบระดับ

เพราะ ทุกคนต่างพื้นเพ   เป็นเรื่องที่สำคัญ แต่เป็นเรื่องที่ เขาต้องทำด้วยตัวเอง ซึ่งจะเกิดเมื่อไหร่ ไม่รู้

    แต่ชอบใจ การที่ คุณหมอ คุยเรื่องที่เขาภูมิใจ ถ้าเรารู้ประวัติ หรือคนรอบข้างดีๆ กับเขา หรือญาติ คุยดีๆ ชื่นชมเขา นานๆไปเขาก็อาจจะค่อยๆให้อภัยตัวเอง ได้อย่างธรรมชาติ

    ขอบคุณบันทึก ของคุณหมอมากคะ 

การให้คนไข้ feedback โดยตรงนี้ เยี่ยมครับ แสดงถึง สัมพันธภาพ

ขอบคุณครับ 

 

สวัสดีครับ

P

คุณ ดอกแก้ว อาการดีขึ้นหรือยังครับ เห็นว่าไม่สบาย เป็นกำลังใจให้นะครับ

อาจารย์เต็มครับ

P  คนที่ feedback ผมนั้นเป็นนักจิตวิทยาครับ

 

 

ขอบคุณหมอโรจน์  บันทึกนี้ของหมอ ทำให้พี่เข้าใจมากขึ้นค่ะว่า ทำไมเมื่อเราช่วยคนไข้ในบางปัญหาไปแล้ว คนไข้จึงยังเศร้าซึม

P
ผู้ป่วย ถ้าไม่มีหมอที่มีใจเมตตาช่วย จะยิ่งแย่ไปอีกนะคะ ขอบคุณๆหมอทุกคนค่ะ

 

ดีใจที่อาจารย์หมอเจ๊   P   ที่ได้ประโยชน์จากบันทึกของผมครับ ผมแวะไปอ่านบันทึกที่อาจารย์เขียนเกี่ยวกับ silverline ผสมผสานกับการทำงานเป็นทีม+บริหารจัดการเชิงระบบ น่าสนใจครับ ผมไม่ได้ comment ไว้เพราะยังอ่อนประสบการณ์ด้านนั้น ยังตามอ่านครับ

สวัสดีครับ

 

P คุณ Sasinanda แพทย์มีหน้าที่ดูแล สุขภาวะ นั้นหมายความว่ามิใช่แค่อาการทางกาย แต่ความทุกทางใจ หากเราช่วยได้ก็ยินดีครับ
ปัจจุบันแพทย์ต้องปรับตัวมากขึ้น เพราะโลกเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเป็นไปในแนววัตถุนิยม นั้นหมายความว่า เน้นเรื่องจับต้องได้-มีหลักฐานการแพทย์-เรื่องจิตใจถูกผูกกับวัตถุ (เช่นปวดหัวต้องมีโรค/หาโรคเจอ ทั้งที่รู้ว่าสาเหตุส่วนใหญู่เกิดจาก stress มักโยงกับภาวะทางใจ)
ผมหวังว่า การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดจะค่อยๆปรับไปในทางที่ดี มององค์รวม ส้รางความสัมพันธ์ที่ดีต่อแพทย์ผู้ป่วยมากขึ้น
ขอบคุณสำหรับบันทึกที่น่าอ่าน จะติดตามตอนที่ 3 นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท