ทำตามแล้วดัดแปลง...ก่อนจะสร้างสรรค์


ความจริงผมไม่ได้สอนอะไรหรอกครับเพียงแต่ให้นักเรียนแต่งนิทานที่เขารู้จักมาแล้ว เช่นนิทานอีสป ไม่ว่าจะเป็น กระต่ายกับเต่า ราชสีห์กับหนู ฯลฯ แต่ให้แต่งต่อใน ภาค 2 ตามจินตนาการหรือความคิดของนักเรียนด้วยความเชื่อที่ว่าก่อนจะให้นักเรียนได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่นั้นควรจะต้องเริ่มจากสิ่งที่มีอยู่เดิมก่อนแล้วค่อยต่อเติมเพิ่มพูน เหมือนการขึ้นบันไดนั่นเองครับ

บ่อยครั้งทีเดียวที่ผมพบปัญหาของการสอนที่ขาดการต่อช่วงของชั้นเรียนต่างๆ โดยเฉพาะชั้นต้นๆ จากชั้น ป.1 ส่งมาถึง ป.2 จน ป.3,4.... ที่ส่งผลให้การฝึกทักษะการอ่าน การเขียนของนักเรียนขาดช่วงไปอย่างน่าเสียดาย... ทำให้นักเรียนอ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องด้วยเหตุที่ว่าครูผู้สอนไม่ได้สานต่อสาระและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรในขั้นตอนการทำหลักสูตรที่ต่างคนต่างทำ รวมไปถึงการฝึกทักษะของนักเรียนจากพื้นฐานเดิมเมื่อรับนักเรียนที่เลื่อนชั้นขึ้นมา...

               แม้แต่คุณครูระดับมัธยมศึกษาก็พบปัญหาเช่นกัน นักเรียนชั้น ม.3 ไม่อาจเขียนเรียงความหรือแต่งนิทานสั้นๆ ได้ ผมรับรู้ปัญหานี้และได้เสนอให้คุณครูหลายท่าน ทั้งในระดับประถมและมัธยมฯ ใช้วิธีการที่ผมเรียกว่า "ไต่บันไดการเขียน" ที่เริ่มจากง่ายไปหายากซึ่งก็เป็นวิธีการทั่วไปได้แก่การเขียนคำในที่มีความหมายต่อตัวนักเรียน เริ่มจาก

  • เขียนเป็นคำ
  • เป็นประโยค
  • เป็นหลายประโยค จนถึง
  • เป็นเรื่องเป็นราว

และได้เคยเสนอแนะวิธี "ไต่บันไดการเขียน" อีกแบบโดยการสอนให้นักเรียนแต่ง "นิทานภาค 2" ซึ่งคุณครูหลายท่านรับไว้ว่าจะนำไปใช้ แต่ผมก็ไม่ได้ติดตามผล จนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสทดลองด้วยตัวเอง... ความจริงผมไม่ได้สอนอะไรหรอกครับเพียงแต่ให้นักเรียนแต่งนิทานที่เขารู้จักมาแล้ว เช่นนิทานอีสป ไม่ว่าจะเป็นกระต่ายกับเต่า ราชสีห์กับหนู ฯลฯ แต่ให้แต่งต่อใน ภาค 2 ตามจินตนาการหรือความคิดของนักเรียน โดยให้ลำดับเหตุการณ์ใน 4 ช่อง ด้วยความเชื่อที่ว่าก่อนจะให้นักเรียนได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่นั้นควรจะต้องเริ่มจากสิ่งที่มีอยู่เดิมก่อนแล้วค่อยต่อเติมเพิ่มพูน เป็นการทำตามแบบแล้วค่อยดัดแปลงให้แตกต่างจากแบบแล้วทำเองโดยไม่ดูแบบได้สิ่งแปลกใหม่ที่สร้างสรรค์ ซึ่งเปรียบเหมือนการขึ้นบันไดนั่นเองครับ

นิทานอิสปในภาค 2 อาจจะเริ่มจากง่ายๆ จนถึงระดับที่ยากขึ้น โดย

  • ให้ปรับเปลี่ยนตัวละคร
  • เปลี่ยนฉากหรือสถานที่
  • เปลี่ยนโครงเรื่อง อาจจะตอนต้น ตอนกลาง ตอนจบ ฯลฯ
  • พัฒนาไปสู่การแต่งเรื่องที่แปลกใหม่ไม่เหมือนเดิม (สร้างสรรค์)

ได้ผลครับ...นักเรียนนักเรียนชั้น ป.4 ซึ่งมีทักษะการเขียนน้อย สามารถทำงานได้ เขียนนิทานกระต่ายกับเต่า ภาค 2 ได้หลากหลาย มีแนวคิดเป็นของตัวเอง หลายคนแต่งเรื่องให้ กระต่ายกับเต่าเลิกแข่งขันกันแล้วด้วยน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ บางคนให้เต่าเป็นฝ่ายนอนหลับบ้าง หรือบางคนถือโอกาสแก้แค้นให้กระต่ายชนะบ้าง ฯลฯ คิดว่าน่าพอใจเพราะเป็นระยะเริ่มต้น หากฝึกต่อไปก็คงจะสร้างสรรค์เองได้ ส่วนการเขียนคำที่ผิดในบางคำคุณครูก็คงต้องค่อยๆ แก้ไขไป อย่าใจร้อนดุว่าให้ศิลปินของเราเสียอารมณ์ และผมเชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นานในการฝึกให้เกิดทักษะในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้ตั้งแต่ชั้น ป.4 จนถึงระดับมัธยมฯ เลยทีเดียว...

หมายเลขบันทึก: 162767เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2008 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ดิฉันไม่ได้เป็นครู  เคยเป็นแต่นักเรียน  ตอนเด็กไม่ชอบวิชาเรียงความเลยไม่ชอบวิชาวาดเขียนด้วย   แต่อ่านวิธีสอนให้คิดของอาจารย์แล้วดีจังค่ะ

น้อง ๆ ก็เก่งด้วย

ขอบคุณครับ...อีกหน่อยน้องเพียวเพียวโตแล้วให้ทดลองทำดูนะครับ จะคอยอ่านผลงานของน้องเพียวเพียวครับ...

ตอนนี้น้องเพียวเพียววาดเส้นตรงเส้นโค้งเป้นแล้วค่ะ  แต่ละเส้นต่อเนื่องเกี่ยวกันหาจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่เจอ  และรู้จักนิทานกระต่ากับเต่าแล้วด้วย  กว่าจะอยู่ป.3  ไม่รู้ว่าเต่าจะแพ้ซะก่อนหรื่อเปล่า    ไว้น้องเพียวเพี่ยวเขียน ภาค 2 เป็นเมื่อไรจะเมล์ไปอาจารย์อ่านนะคะ    ขอบคุณค่ะ
ตอนนี้น้องเพียวเพียววาดเส้นตรงเส้นโค้งเป็นแล้วค่ะ  แต่ละเส้นต่อเนื่องเกี่ยวกัน  หาจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่เจอ  และรู้จักนิทานกระต่ายกับเต่าแล้วด้วย  กว่าจะอยู่ป.3  ไม่รู้ว่าเต่าจะแพ้ซะก่อนหรื่อเปล่า    ไว้น้องเพียวเพี่ยวเขียน ภาค 2 เป็นเมื่อไรจะเมล์ไปให้อาจารย์อ่านนะคะ    ขอบคุณค่ะ

สัวสดีค่ะ

- แกะรอยเข้ามาเติมเต็มการ์ตูนค่ะ

-ความคิดและการปฏิบัติข้อนี้สำคัญมากค่ะ " ส่วนการเขียนคำที่ผิดในบางคำคุณครูก็คงต้องค่อยๆ แก้ไขไป อย่าใจร้อนดุว่าให้ศิลปินของเราเสียอารมณ์  "

- เมื่อถูกตำหนิตั้งแต่เริ่มต้น...กำลังใจเสียค่ะ.....เลือกชมข้อดีให้ได้สักข้อ..ในงาน ๑ ชิ้น  ของเขา...รับรองคราวนี้เขาอยู่กับเราค่ะ

ใช่เลยครับ...คุณครูพรรณาครับ อันนี้แม่ไม้เลยครับ... ขอบคุณมากครับ

อยากทราบขั้นตอนการจัดทำหลักสูตร ปี 51 และ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวหลักสูตรใหม่ในสาระภาษาต่างประเทศ ขอความกรุณาช่วยแนะนำหน่อยนะคะ

คุณ Nop ครับทุก สพท.จะดำเนินการอบรมครูผู้สอนเรื่องหลักสูตร 51 เร็วๆ นี้ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ชอบมากค่ะ แนวทางนี้ เยี่ยมไปเลยค่ะ  นักเรียนต้องเก่ง เขียนได้  จินตนาการได้นะคะ..นำไปสู่การเล่าเรื่องได้ด้วย
  • ครูอ้อยจะขอนำไปสอน เขียนภาษาอังกฤษง่ายๆบ้างนะคะ

แล้วจะกลับมาเล่าสู่กันอ่านนะคะ

  • ภาพมันมึดไปหน่อยค่ะอาจารย์  อาจารย์ได้ใช้โปรแกรม ACD See Pro หรือเปล่าคะ  ใส่แสง ใส่สี resize ภาพก่อน แล้วจะแจ๋วเลยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครูอ้อยมากนะครับที่กรุณาให้คำแนะนำ

แวะมาเยี่ยมค่ะ ดีมากเลยค่ะ เพราะกำลังทำโครงการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในโรงเรียนโดยการใช้นิทานอยู่พอดีเลยค่ะ ก็เลยแวะมาเติมเต็มความรู้ดีๆเพื่อนำไปใช้ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ ครูลี่ ยินดีครับที่ไอเดียนี้มีประโยชน์แก่นักเรียนของเราครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ขอบคุณมากนะคะ  ที่ไปเป็นกำลังใจให้ครูอ้อย ในการเรียน

ครูอ้อย พยายามค่ะ  รักษาสุขภาพนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท