สถานการณ์คุณภาพชายฝั่งและน้ำทะเลพ.ศ. 2541-2542


สถานการณ์คุณภาพชายฝั่งและน้ำทะเลพ.ศ. 2541-2542

สถานการณ์คุณภาพชายฝั่งและน้ำทะเลพ.ศ. 2541 Web-Stat hit counters


สถานการณ์คุณภาพนํ้าทะเลชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีแนวโน้มค่อนข้างเสื่อมลง โดยมีสาเหตุมาจากการเพิ่มจํานวนประชากร การขยายตัวของแหล่งชุมชน การท่องเที่ยว การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีการระบายของเสียลงสู่แหล่งนํ้าทะเล โดยไม่ผ่านกระบวนการบําบัดที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น หาดบางแสน หาดพัทยา จังหวัดชลบุรี หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต และหลายพื้นที่ยังไม่มีการก่อสร้างระบบบําบัดนํ้าเสีย ได้แก่ อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี อ่าวชลบุรี จังหวัดชลบุรี หาดบ้านปากปารา บ้านทุ่งริ้น จังหวัดสตูล ซึ่งส่งผลทําให้คุณภาพนํ้าเสื่อมโทรมลง

ในปี พ.ศ. 2541 กรมควบคุมมลพิษ ได้ดําเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพนํ้าทะเลชายฝั่งต่อเนื่อง จํานวน 2 ครั้ง ในช่วงฤดูแล้งและช่วงฤดูฝน รวม 436 สถานี ที่ระยะ 100 เมตรและระยะ 500 เมตรจากชายฝั่งครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด โดยตรวจวัดดัชนีคุณภาพนํ้า จํานวน 27 พารามิเตอร์ ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กําหนดมาตรฐานคุณภาพนํ้าทะเลชายฝั่ง เช่น อุณหภูมิ ความเป็นกรดและด่าง ความเค็ม ความโปร่งใส ออกซิเจนละลาย แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม ปริมาณสารอาหาร โลหะหนักชนิดต่าง ๆ และพารามิเตอร์อื่น ๆ

บริเวณอ่าวไทย
คุณภาพนํ้าทะเลชายฝั่งของอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดระยองถึงจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่อยู่.ในเกณฑ์ดีตามมาตรฐานคุณภาพนํ้าในการใช้ประโยชน์ประเภทต่าง ๆ ยกเว้นในบางพื้นที่มีคุณภาพน้ำค่อนข้างเสื่อมโทรม ได้แก่ พื้นที่อ่าวไทยตอนบนและพื้นที่ข้างเคียง จังหวัดจันทบุรี แหลมศอก จังหวัดตราด บริเวณปากแม่นํ้าตาปี-พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณปากแม่นํ้าปัตตานี จังหวัดปัตตานี ซึ่งตรวจพบการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด สูงกว่าเกณฑ์ค่ามาตรฐานคุณภาพนํ้าทะเล ประเภทที่ 4 (เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าชายฝั่ง) ที่กําหนดไว้ให้มีค่าไม่เกิน 1,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร (หน่วย) บริเวณที่เสื่อมโทรมมากที่สุด คืออ่าวชลบุรี จังหวัดชลบุรี และแหลมศอก จังหวัดตราด ซึ่งตรวจพบการปริมาณปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่ม โคลิฟอร์มในช่วงฤดูฝน มีค่าสูงถึง 160,000 หน่วย นอกจากนี้ยังพบว่าอุณหภูมินํ้าทะเลชายฝั่งในฝั่งอ่าวไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมา 1-3 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เอลนีโน. (El Nino) ที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีผลทำให้นํ้าทะเลอุ่นกว่าปกติ

ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน
ชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดระนอง ถึง จังหวัดสตูล มีกิจกรรมหลัก ๆ คือ การท่องเที่ยวการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าชายฝั่ง แหล่งชุมชนและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพนํ้าชายฝั่ง ทะเลฝั่งอันดามันตั้งแต่จังหวัดระนองถึงจังหวัดตรัง พบว่ามีคุณภาพนํ้าโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดีตามเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพนํ้าทะเลชายฝั่งเพื่อการว่ายนํ้า การเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าชายฝั่งและเพื่อการอนุรักษ์แหล่งปะการังยกเว้น คุณภาพนํ้าทะเลชายฝั่งของจังหวัดสตูล พบว่าคุณภาพนํ้าโดยทั่วไปค่อนข้างเสื่อมโทรม โดยตรวจพบปริมาณการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดเฉลี่ยสูงถึง 4,650 หน่วย นอกจากนี้จากการเปรียบเทียบกับข้อมูลคุณภาพนํ้าในอดีตที่ผ่านมา พบว่าดัชนีคุณภาพนํ้าทะเลชายฝั่งโดยเฉพาะอุณหภูมินํ้าทะเลฝั่งอันดามันมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าอดีตประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับฝั่งทะเลอ่าวไทย

ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย พ.ศ. 2541.กรมควบคุมมลพิษ.

สถานการณ์คุณภาพชายฝั่งและน้ำทะเล พ.ศ. 2542 Web-Stat hit counters

คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง

ปัญหามลพิษทางน้ำและความเสื่อมโทรมของแหล่งทรัพยากรทางน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศในปัจจุบันยังคงมีปัญหาอยู่บ้างในบางพื้นที่แต่สถานการณ์ก็ไม่รุนแรงถึงขั้นวิกฤต ถึงแม้จะมีสาเหตุมาจากการระบายของเสียจากแหล่งชุมชน กสิกรรม เกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กิจกรรมการท่องเที่ยว และจากการพัฒนาแหล่งอุตสาหกรรมที่มีการระบายของเสียลง สู่แหล่งน้ำทะเลโดยไม่ผ่านกระบวนการบำบัดที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในบางแห่ง รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุ มลพิษทางทะเลก็ตาม แต่จากผลการติดตามสำรวจคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศไทย โดยกรมควบคุม มลพิษที่ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งใน พ.ศ. 2542 จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 218 สถานีใน 23 จังหวัดติดชายฝั่งทะเล ทั้งในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนที่ระยะ 100 และระยะ 500 เมตรจากชายฝั่ง พบว่าคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน มีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มา มีเพียงบางพื้นที่บางแห่งเท่านั้นที่จะต้องให้ความสนใจและเพิ่มการติดตามตรวจสอบให้มากขึ้น อาทิ บริเวณพื้นที่แหลมศอก จังหวัดตราด บริเวณอ่าวไทยตอนใน โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปากแม่น้ำบางปะกง ปากคลองบ้านแหลม – ปากคลองบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี หาดบ้านปากปารา บ้านทุ้งริ้น จังหวัดสตูล และหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ที่มีคุณภาพน้ำทะเลไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง โดยเฉพาะการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม มากกว่า 1,000 หน่วย (เอ็ม.พี.เอ็น ต่อ 100 มิลลิลิตร) ปริมาณออกซิเจนละลายที่มีค่าน้อยกว่า 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณสารอาหารสูงเกินมาตรฐานในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวที่อาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีหรือที่รู้จักกันในชื่อว่าปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬได้

การป้องกันและการแก้ไขปัญหาน้ำเสียจากแหล่งชุมชน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กิจกรรมจากการทำประมง (แพปลา) การเพาะเลี้ยงสุกร น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและกิจกรรมอื่นๆ นั้น การดำเนินงานที่ผ่านมาจนถึงในปัจจุบันได้มีการดำเนินการเพื่อกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิด เช่น ร่างมาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร ร่างมาตรฐานน้ำทิ้งจากแพปลา ร่างมาตรฐานน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงกุ้ง สำหรับใช้เป็นมาตรการในการกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องบำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐานก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำ การจัดให้มีระบบ รวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียจากกิจกรรมชุมชน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กิจกรรมจากการทำประมง (แพปลา) การเพาะเลี้ยงสุกร และโรงงานอุตสาหกรรม จัดเป็นมาตรการหนึ่งในการแก้ปัญหา แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องกำหนดมาตรการต่างๆ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพเพื่อให้คุณภาพน้ำเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งก่อนที่จะระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ


การคาดการณ์และแนวโน้มคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งในสหัสวรรษหน้า

เมื่อการจัดการปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ชุมชนริมฝั่งทะเลและพื้นที่ชุมชนเขตเมืองต่างๆ เป็นไปอย่างเป็นระบบและเหมาะสมมากกว่าในปัจจุบันแล้ว ในอนาคตแนวโน้มของคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศทั้งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนใน และอีกหลายพื้นที่ของภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน จะมีคุณภาพน้ำทะเลที่ดีขึ้นและคาดว่าใน พ.ศ. 2549 คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั้งหมดทั่วประเทศจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง


ที่มา : รา ยงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย พ.ศ. 2542.กรมควบคุมมลพิษ.


คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16227เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท