ใจซื้อใจ ... ลปรร. 4 จว. นำร่อง "ระบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ปี 2550" (3) วิเคราะห์บทเรียนของญี่ปุ่น


ยุคนี้ เรียกได้ว่า เป็น Transition period เป็นช่วงการเปลี่ยน

 

ก่อนที่ อ.จิราพร จะได้เล่าถึงเรื่อง … ระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย อาจารย์ได้วิเคราะห์ภาพของญี่ปุ่นให้ฟังเล็กน้อยค่ะว่า

  • ของญี่ปุ่นเขามี Aging population ดำเนินไปก่อนบ้านเรา 30 ปี
  • ในเรื่องของ Health system หรือ Welfare system ที่เขาเล่าให้ฟัง ที่น่าสนใจก็คือ คุณ Holie บอกว่า สิ่งที่เขาได้เดินมาแล้ว เขาก็คงไม่มาเล่าแต่ในเรื่องที่ดีดีเท่านั้น เขาอยากให้เราได้เรียนว่า เขาทำแล้วมีปัญหาอะไรบ้าง
  • อันหนึ่งที่เป็นบทเรียน คือ ... เขาทำตั้งแต่เป็น Free of service in eder care และในที่สุดรัฐบาลก็รับไม่ไหว และก็ผ่องถ่ายให้เป็นรัฐบาลท้องถิ่นรับไป และในขณะเดียวกันก็กลับมาเป็นเรื่องของ Co-payment
  • เขาบอกว่า เรื่องของ LTC system (Long term care system) ถึงแม้เราบอกว่า ญี่ปุ่นพยายามจะให้การไปนอนใน Institutional care ที่เป็น รพ. น้อยลง เพื่อที่จะได้ลดค่าใช้จ่าย ... แต่ขณะนี้ถ้าคิดตามข้อมูลที่ญี่ปุ่นนำเสนอให้เราจะเห็นชัดเจนว่า ค่าใช้จ่าย LTC ไม่ได้ถูกเสมอไป
  • LTC พอเราคิดว่า ไม่ได้อยู่ใน รพ. แต่ไปอยู่ใน Nursing home แต่ค่าใช้จ่ายก็ยังสูงอยู่ ที่ญีปุ่นเขากำลังมองก็คือ จะลด course ตรงนี้ได้อย่างไร เพราะว่าดูแล้วค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้ลดลง
  • แล้วก็อีกอันที่พูดถึง คือ ในเรื่องของบริการที่เป็นลักษณะที่เราเรียกว่า เป็น Home service ว่าเป็น Community base service ซึ่งญี่ปุ่นก็บอกว่า เขายินดี และดีใจที่มา ลปรร. ที่เรา
  • (... นี่ละค่ะ ที่นำมาเชื่อมโยงกับโครงการเสริมสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุ ของกรมอนามัย ซึ่งประสานหลายหน่วยงานในการทำในพื้นที่ 4 จังหวัด ก็คือ นนทบุรี ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และเชียงราย)
  • ... ญี่ปุ่นเขาบอกว่า เขาอาจจะมีบางลักษณะครอบครัวคล้ายๆ กับของเรา ลักษณะการเพิ่มของประชากรก็คล้ายของเรา แต่ระบบของเราก็คล้ายจะตามเขา
  • แต่เราเห็นแล้วว่าเขากำลังมีปัญหาเรื่อง budget เรื่อง cost ที่ control ไม่ได้ เราจะเดินตามทางเขาแบบนั้นเลยหรือเปล่า เพราะเวลานี้กล่าวได้เลยว่า ยุคของ 5-10 ปีที่ผ่านมานี้ รวมทั้งยุคนี้ เรียกได้ว่า เป็น Transition period เป็นช่วงการเปลี่ยน
  • เพราะว่าตอนนี้ถ้าถาม ทุกที่ ทุกหน่วยงานกำลังพูดกันเยอะในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุ และมีรูปแบบที่เป็นทั้ง Best practice มีทั้งรูปแบบที่เป็นโครงการ เป็น policy เป็นนโยบายของภาครัฐตรงนั้น

คงต้องมา "ร่วมด้วยช่วยกัน" พัฒนารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยกันแล้วละค่ะ

รวมเรื่อง ใจซื้อใจ ... ลปรร. 4 จว. นำร่อง "ระบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ปี 2550"

 

หมายเลขบันทึก: 162222เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2008 06:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ใช่ค่ะ  คุณหมอ  เรารับอะไรเข้ามา  ก็ต้องปรับให้เหมาะสม และใช้ได้อย่างดี  ไม่ให้เสียเวลา และงบประมาณไปเปล่าๆค่ะ
  • การเรียนการสอน  ก็เหมือนกันค่ะ  เรารับจากต่างประเทศมา  บางรูปแบบก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้กับเด็กไทย  เพราะธรรมชาติของเด็ก และบริบทแตกต่างกัน จะมาใช้หลักสูตร หรือรูปแบบของต่างประเทศไม่ได้หรอกค่ะ
  • ดังนั้น  เรารับเขามาต้องแปลง  ดุ้น  เป็นอะไรที่เหมาะสมกับเรา

ไม่ใช่เอามาใช้  ทั้งดุ้นค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณหมอ  ฝนจะตกค่ะ อย่าลืมร่มนะคะ

  • สวัสดีค่ะ ครูอ้อย
  • การจัดประชุมเมื่อวันก่อนที่คุณ Holie มานั้น ก็มาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันละค่ะ ก็เป็นแนวทางให้เราได้พัฒนาปรับปรุง เพื่อผู้สูงอายุของไทย
  • เมื่อเช้าโชคดีค่ะ ที่ทางนี้ (วิภาวดี) ฝนยังไม่ตก เพราะออกเช้า (ก่อน 8 โมง) ไป รร.หลุยส์ ทาว์เวิร์น (ประชุมต่อค่ะ)
  • แต่พอสายๆ วิทยากรบอกว่า ท่านต้องนั่งเรือลุยมาถึง รร. ละค่ะ (เราอยู่แต่ใน รร. เลยไม่เห็น อิอิ)
  • ขอบคุณค่ะ ครูอ้อย ... ทำให้นึกขึ้นได้ว่า ยังไม่ได้เอาร่มใส่รถเลย หลังจากที่เอารถไปทำสีมาค่ะ ... ต้องไปเอาร่มใส่รถดีกว่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท