ลดรายจ่ายวันละบาทสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช


ลดรายจ่ายวันละบาทสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช

เท่าที่มีโอกาสติดตามกลุ่มองค์กรการเงินที่มีการจัดสวัสดิการของจังหวัดนครศรีธรรมราช  ที่รับแนวคิดลดรายจ่ายวันละ 1 บาทมาจาก ดร.ครูชบ ยอดแก้ว  (เท่าที่ทราบและได้ติดตาม)มี 1) กลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท ตำบลกะหรอ ก่อตั้งเมื่อปี 2548 ซึ่งใช้ฐานของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลกะหรอ อ.นบพิตำ  และ2 ) กลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท ตำบลบางจาก อ.เมือง                

ล่าสุดได้ข่าวดีจากครูชบว่ากลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิตบ้านต้นเหรียง  ต.เสาเภา อ.สิชล ซึ่งในฐานะเพื่อนเก่าของครูชบได้สนใจและต้องการเปิดกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายฯ โดยครูชบก็ให้เกียรติมาเป็นผู้บรรยายแนวคิดให้สมาชิกฟังการบรรยายแนวคิดและการจัดการกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อสวัสดิการภาคประชาชน  ณ โรงเรียนบ้านต้นเหรียง ต.เสาเภา อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช  วันที่ 24 มกราคม 2551 

ผู้เข้าร่วม

ดร.ครูชบ ยอดแก้ว               สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา
คุณโมกขศักดิ์ ยอดแก้ว      
ประธานและตัวแทนสมาชิก กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์พัฒนาครบวงจรชีวิตบ้านต้นเหรียง
ตัวแทนสมาชิก กองทุนหมู่บ้านบ้านต้นเหรียง
ประธานกลุ่มฌาปนกิจ  
ผู้อำนวยการ ครู และนักเรียน โรงเรียนบ้านต้นเหรียง
รัชนี สุขศรีวรรณ โครงการวิจัยและพัฒนาองค์กรการเงินและระบบสวัสดิการชุมชน
พรรษกร นางนวล              

                 

ประธานกลุ่มสัจจะฯบ้านต้นเหรียง - กลุ่มสัจจะฯบ้านต้นเหรียงก่อตั้งมาตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2545 จากแนวคิดของพระสุบิน  ปี 2550 มีสมาชิก 223 คน จัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกในขั้นพื้นฐานเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่รู้สึกว่าเงินที่จัดสวัสดิการให้สมาชิกยังเป็นจำนวนน้อยเกินไป  ต้องการขยับขยายให้มีกองทุนสวัสดิการขนาดใหญ่ขึ้น

โมกขศักดิ์ ยอดแก้ว การจัดสวัสดิการตามแนวคิดของครูชบ ต้องอาศัย 7 ทุน และมีเป้าหมายต้องการพัฒนาคนให้มีสัจจะ ผนวกกับการน้อมนำกระแสพระราชดำรัสเรื่องคุณธรรม 4 ประการมาปฏิบัติ  ที่ผ่านมาในการก่อตั้งกลุ่มคนจะเกิดคำถามว่า สมาชิกจะได้อะไร  เป้าหมายของกลุ่มคือสังคมดี คนมีความสุข  ในการตั้งกลุ่มของสมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลามีวิธีการคือ 1 ตำบล/เทศบาล เท่ากับ 1 กองทุน ให้มีจำนวนสมาชิก 100 คนขึ้นไป และสมาชิกเลือกกรรมการจากกลุ่มในอัตรา  สมาชิก 50 คน เลือกกรรมการได้ 1 คน กรรมการมีหน้าที่รับเงินสัจจะจากสมาชิก รวมทั้งจัดเก็บเงินไว้ที่ธนาคาร  และเมื่อครบ 6 เดือน กรรมการมีหน้าที่จัดสรรเงินออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง 20% สำรองไว้เป็นกองทุนสำหรับจ่ายบำนาญอีก 15 ปีนับจากวันก่อตั้งกลุ่ม  ส่วนที่สอง 30% กองทุนเงินกู้เพื่อการศึกษาและประกอบอาชีพ ไม่มีดอกเบี้ย ส่วนที่สาม 50%  กองทุนสวัสดิการโดยกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายสวัสดิการให้แก่สมาชิกที่ตนรับผิดชอบ

ดร.ครูชบ ยอดแก้ว อาจมีคำถามว่าการตั้งกลุ่มทำไมต้องเป็น 1 บาท ไม่เป็นจำนวนอื่น   ตนคิดมาจากการที่เห็นการจัดพิธีศพตามประเพณีของภูมิลำเนาตนเองจะใส่เหรียญ 1 เหรียญไว้ในปากของศพทุกครั้ง  ไม่ระบุว่าต้องเป็นเหรียญอะไร ปฏิบัติเหมือนกันไม่ว่าเป็นคนจน คนรวย  และเมื่อเผาศพแล้วก็ไม่สามารถเอาเหรียญติดตัวไปได้สักคน  จึงเกิดความคิดว่าใช้การลดรายจ่ายวันละ 1 บาทสำหรับคนทุกคน  เกิดความเท่าเทียมในคุณค่าและได้รับการช่วยเหลือ-ให้ช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกเหมือนกัน                   <div style="text-align: center"></div>

</span></span><p>การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เข้าฟัง กับ ดร.ครูชบ ยอดแก้ว </p><table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0" class="MsoTableGrid" style="border-collapse: collapse; border: medium none"><tbody>

คำถามจากสมาชิก ครูชบตอบ 1. เศรษฐกิจพอเพียงกับการตั้งกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท มีความเกี่ยวโยงกันหรือไม่ อย่างไร เกี่ยวข้องกันเพราะการลดรายจ่ายถือเป็นขั้นต้นของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการฝึกตนเองให้รู้จักพอเพียง สร้างวินัยคน 2. ในสิทธิประโยชน์เรื่องเงินฝากและเงินกู้ การพิจารณาที่มาของเงินฝาก และเงินกู้เป็นอย่างไร เงินฝาก - เมื่อสมาชิกเป็นสมาชิกกลุ่มมากกว่า 180 วัน เสียชีวิตลง  จะพิจารณาเงินฝากของสมาชิกที่ได้ฝากไว้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ ต้องมีการฝากต่อเนื่องทุกเดือน กลุ่มจะจ่ายเงินสบทบให้ 50% ของเงินฝากที่มี  แต่ไม่เกิน 15,000 บาทเงินกู้ - เมื่อสมาชิกเป็นสมาชิกกลุ่มมากกว่า 180 วัน  เสียชีวิตลง  พิจารณาสถานะเงินกู้ที่สมาชิกยังค้างอยู่ ต้องกู้มาแล้วเป็นจำนวน 365 วันขึ้นไป  และมีการชำระอย่างต่อเนื่องทุกเดือน กลุ่มจะจ่ายหนี้ให้ไม่เกิน 30,000 บาท  โดยเป็นการทยอยชำระเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากับจำนวนน้อยที่สุดที่สมาชิกเคยชำระ 3. คนที่มาสมัครเป็นสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนชรามากกว่าเด็ก หรือวัยรุ่น จะรับคนชราเป็นสมาชิกทั้งหมดได้หรือไม่ ต้องรับเพราะแนวคิดลดรายจ่ายวันละ 1 บาทต้องรับสมาชิกทุกคนที่มีลมหายใจ  แต่ต้องมีวิธีจัดการให้สมัครเป็นสมาชิกทั้งครัวเรือน 4. การดำเนินงานของกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายฯ ต่างจากบริษัทประกันชีวิตหรือไม่ แตกต่าง กลุ่มสัจจะไม่แสวงหากำไร แต่บริษัทต้องบริหารให้เกิดกำไรเพราะต้องมีรายจ่ายค่าตอบแทนพนักงานสูง 5. สมาชิกที่ย้ายถิ่นฐานไปที่อื่น หลังจากเป็นสมาชิก ยังคงถือว่าเป็นสมาชิกหรือไม่ ยังคงเป็นสมาชิกแต่ต้องส่งสัจจะอย่างต่อเนื่อง 6. การบริหารงานของกลุ่มฯสามารถบริหารให้เป็นกองทุนที่มีผลตอบแทนได้หรือไม่ หากเป็นแนวคิดของกลุ่มสัจจะลดรายจ่ายฯ จะไม่นำเงินไปลงทุนเพื่อแสวงหากำไรเพิ่มเพราะจะทำให้กองทุนเกิดความเสี่ยง 7. ค่าตอบแทนของกรรมการเดือนละ 130 บาท มาจากที่ใด และจะพอจ่ายสวัสดิการสมาชิกหรือไม่ เป็นเงินกองทุนสัจจะลดรายจ่ายฯเท่านั้น ไม่เก็บจากสมาชิกเพิ่มอีก

</tbody></table>                                       กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ฯบ้านต้นเหรียงจะรับสมัครสมาชิกกองทุนสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาทบ้านต้นเหรียงในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551 ทางโครงการวิจัยและพัฒนาองค์กรการเงินและระบบสวัสดิการชุมชนจะติดตามการดำเนินงานต่อจากความตั้งใจของครูชบ                

หมายเลขบันทึก: 161715เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2008 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท