เด็กออทิสติก


แนวทางการให้ความช่วยเหลือเด็กออทิสติก

        Autistic Spectrum Disorders เป็นกลุ่มของความผิดปกติทางพัฒนาการต่างๆ ซึ่งได้แก่ Autistic Disorder (AD),  Pervasive Developmental Disorder not otherwise specified (PDD-NOS),  Asperger  syndrome, Rett  syndrome และ Childhood  disintegrative disorder

 

ความเป็นมา Dr. Leo Kanner จิตแพทย์ชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ได้รายงานกลุ่มเด็กที่มีพฤติกรรมต่างจากเด็กปกติทั่วไป ในปี ค..1943 โดยเรียกว่า infantile autism ต่อมาในปี ค..1980 ตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM III ( Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, third edition) ได้ใช้คำว่า PDD ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าเดิม จนกระทั่งปี ค..1994 DSM IV ได้รวมกลุ่มอาการอื่นๆ เช่น Asperger  syndrome หรือ PDD-NOS ไว้ในกลุ่มอาการ PDD ด้วย ทำให้ในปัจจุบันแม้เด็กมีความผิดปกติเพียงเล็กน้อยก็อาจถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้ โดยมองกลุ่มอาการทั้งหมดนี้ว่าเป็น continuum คือมีความต่อเนื่องของอาการตั้งแต่น้อยๆไปจนถึงมากๆและอาจไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนในการแยกโรคบางชนิดออกจากกันในกลุ่มอาการนี้ จึงมีการใช้คำว่า spectrum เปรียบเสมือนการให้แสงอาทิตย์ผ่านแท่งแก้วปริซึมซึ่งจะมีการแยกของแสงออกเป็น 7 สี เช่นสายรุ้ง

            ลักษณะของเด็กออทิสติก ได้แก่

ก.      มีการสูญเสียปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่

1. ไม่สามารถแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น เช่น ไม่มีการสบตา ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้าหรือท่าทาง

2.      ไม่สามารถที่จะผูกสัมพันธ์กับใครได้

3. ขาดการแสวงหาเพื่อน ไม่สนใจใคร

4.      ไม่สามารถมีการติดต่อทางสังคมและแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม

ข.      มีการสูญเสียทางการสื่อความหมาย ได้แก่

1.      มีความล่าช้าหรือไม่มีพัฒนาการในด้านภาษาพูด ไม่สามารถใช้กิริยาท่าทางในการสื่อความหมายได้

2.     ไม่สามารถสนทนาโต้ตอบกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจและเหมาะสม  

3.      มักจะพูดซ้ำๆในสิ่งที่ตนเองต้องการพูดและสนใจ โดยไม่สนใจว่าจะมีผู้อื่นฟังหรือไม่

4.      ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นเลียนแบบได้อย่างเหมาะสมตามวัย

ค.      มีพฤติกรรม ความสนใจและการกระทำซ้ำๆ ได้แก่

1.     มีพฤติกรรมซ้ำๆอย่างเดียวหรือหลายอย่าง มีความสนใจอย่างผิดปกติในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

2.     ไม่สามารถยืดหยุ่นในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยต้องกระทำตามขั้นตอนเดิมทุกครั้ง

3.     มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เช่น การโบกมือไปมาหรือหมุนตัวไปรอบๆ

4.     มีความสนใจเกี่ยวกับส่วนหนึ่งส่วนใดของวัตถุหรือของเล่นเท่านั้น

สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่นอน เชื่อว่าเป็นความผิดปกติของสมอง โดยมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยที่กำลังได้รับความสนใจมากที่สุด โดยพบว่า

-         อัตราการเกิดซ้ำในบุตรคนต่อไปในครอบครัวที่มีบุตรคนหนึ่งเป็นโรคออทิซึมแล้วสูงถึงร้อยละ 6-8 ซึ่งสูงกว่าในประชากรทั่วไปถึง 50 เท่า

-         คู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน มีโอกาสที่จะเป็นออทิซึมได้เช่นเดียวกัน ในขณะที่คู่แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ เมื่อคนหนึ่งเป็นออทิซึมแล้ว อีกคนหนึ่งจะไม่เป็น

-         พบความสัมพันธ์ระหว่างยีนบนโครโมโซมบางตำแหน่งกับพัฒนาการทางด้านภาษาและลักษณะออทิสติก รวมทั้งกลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ

แนวทางการให้ความช่วยเหลือเด็กออทิสติก ได้แก่ การให้ความรู้แก่พ่อแม่เกี่ยวกับความผิดปกติ อัตราการเกิดซ้ำ การดูแลและอื่นๆ  การส่งเสริมพัฒนาการ รวมทั้งการฝึกพูด การปรับพฤติกรรม การศึกษาพิเศษ และการใช้ยา

หมายเลขบันทึก: 161336เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2008 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท