ลุ่มแม่น้ำโขง


แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่

ลุ่มแม่น้ำโขง
       แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 10 และเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่มีความ อุดมสมบูรณ์ที่สุด ของโลก จากต้นกำเนิดในที่ราบสูงทิเบต จนไหลลงสู่ ทะเลที่ประเทศเวียตนาม รวมความยาวทั้งหมดกว่า 4,902 กิโลเมตร ทำหน้าที่หล่อเลี้ยง ประชาชนกว่า 60 ล้านคนใน 6 ประเทศ ตั้งแต่จีน พม่า ไทย ลาว เขมร และ เวียดนาม 
       แม่น้ำโขง ซึ่งเปรียบดังชีวิตและสายสัมพันธ์ของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ถูกคุกคามมาโดยตลอด โดยกิจกรรมการพัฒนาที่ไม่ได้คำนึงถึงความยังยืน ของสังคม วัฒนธรรม และธรรมชาติ ที่ขึ้นอยู่กับชีวิตของแม่น้ำนานาชาติสายนี้ 
       โครงการเขื่อนขนาดใหญ่ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ส่งผลกระทบ อย่างมหาศาลต่อแม่น้ำโขง ในปัจจุบันมี การวางแผนที่จะสร้างเขื่อนจำนวนมากตลอดลำน้ำ  ในแม่น้ำโขงตอนบนรัฐบาลจีนได้ก่อสร้างเขื่อนมันวาน ปิดกั้นแม่น้ำโขงและมีอีกหลายเขื่อนที่กำลัง ถูกสร้างขึ้นและหลายเขื่อนอยู่ที่ในแผนงาน ทั้งนี้ยังไม่รวมแผนงาน ในส่วนของแม่น้ำโขงตอนล่าง  แม่น้ำสาขาทั้งหมดได้ถูกวางแผนในสร้างเขื่อนกั้น แม่น้ำหลายสายได้ถูกปิดกั้น โดยเขื่อนโดยเฉพาะในประเทศลาวเพื่อการผลิตไฟฟ้า ซึ่งลูกค้ารายใหญ่ก็คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย
        เขื่อนขนาดใหญ่เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมากมาย ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น การลดลงและสูญพันธุ์ของปลาแม่น้ำโขง ดังจะเห็นได้ชัดเจนจาก กรณีเขื่อนปากมูล ซึ่งก่อผลกระทบอย่างมากมายต่อสังคมไทย
เครื่องมือหาปลาพื้นบ้านในลุ่มแม่น้ำโขง
        แม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ไหลหล่อเลี้ยงประชาชนทั้ง ๖ ประเทศตั้งแต่ จีน พม่า ลาว ไทย เวียดนาม กัมพูชา การหาปลาเป็นอาชีพหนึ่งที่หล่อเลี้ยงชุมชนตลอดริมฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา มาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เครื่องมือหาปลาในแม่น้ำโขงจึงมิได้หมายถึงสิ่งของที่ทำไว้เพื่อใช้ในการจับปลาเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและแม่น้ำ ความรู้ท้องถิ่น วัฒนธรรมลุ่มน้ำ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนทั้งในชุมชนและนอกชุมชนที่มีวิถีชีวิตผูกผันกับแม่น้ำ
       แต่การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและการลดลงของพันธุ์ปลา ซึ่งเกิดจากผลของการพัฒนาในลุ่มน้ำโขง  ได้ทำให้เครื่องมือหาปลาพื้นบ้านเหล่านี้ ลดลงและสูญหายไป การหายไปนี้จึงไม่ได้หมายถึงการหายไปของตัวเครื่องมือเท่านั้น
       งานวิจัยไทบ้านที่จัดทำขึ้นในพื้นที่ต่างๆ สี่พื้นที่ในลุ่มแม่น้ำโขง อันได้แก่ แม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ แม่น้ำมูลที่ เขื่อนปากมูล เขื่อนราษีไศล และ แม่น้ำสงคราม  นอกจากการศึกษาประเด็นต่างๆแล้ว การศึกษาเรื่ององค์ความรู้ท้องถิ่นจากเครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน เป็นประเด็นที่สำคัญอีกอันหนึ่งของงานวิจัย จากการศึกษาได้พบว่าการสร้าง และใช้เครื่องมือหาปลาแต่ละชนิด เพื่อจับปลาแต่ละชนิด ที่แตกต่างและหลากหลายในแม่น้ำโขงนั้น ต้องอาศัยความรู้ในหลายด้านเป็นอย่างดี เช่น ความรู้เรื่องพฤติกรรมของปลาแต่ละชนิด ระบบนิเวศของแม่น้ำฟโกาล และความรู้เรื่องวัสดุในการสร้างเครื่องมือหาปลา
        นอกจากนี้ยังพบว่า เครื่องมือหาปลายังสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้คนทั้งในชุมชนและนอกชุมชน ที่มีวิถีชีวิตผูกผันกับแม่น้ำ การหาปลาจึงก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างพี่น้องในชุมชนและต่าง ชุมชนจนเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของคนหาปลา ดังจะเห็นได้จาก  การใช้ เครื่องมือหาปลาบางชนิด ต้องใช้ร่วมกันหลายคนเป็นหมู่คณะ เครื่องมือบางชนิดต้อง มีการเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทางก่อนมีการใช้ ซึ่งบางอย่างแฝงไว้ซึ่งการเคารพธรรมชาติ  การอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนอย่างสามัคคี
       งานวิจัยได้พบว่าพื้นที่ปากมูนมีเครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน 75 ชนิด  ในแม่น้ำสงคราม 80 ชนิด   แม่น้ำโขงบริเวณ อ.เชียงของ 69 ชนิด   แม่น้ำมูลช่วงราษีไศล 48  ชนิด
แหล่งที่มาของข้อมูล:
http://www.searin.org/Mekong.htm

 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16099เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2006 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท