แนวคิดของ recovery model


แนวคิดการฟื้นฟู recovery model ของ William A. Anthony  เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในแวดวงสุขภาพจิต จนทำให้หลายๆ ประเทศมีการกำหนดไว้ในนโยบายบริการสุขภาพจิตว่า ต้องให้บริการโดยยึดตาม recovery approach

แต่ทว่า เรืองนี้กลับยังเป็นเรืองใหม่ต่อระบบสุขภาพจิตไทย  ดังนั้น ผมจึงของเล่าความเป็นมาของแนวคิดนี้ให้ฟังกัน

แนวคิดนี้เกิดมาเมือปี  1993  Anthony  ได้ทำการเขียนบทความชื่อ  Recovery from mental illness: the guiding vision of the mental health service system in the 1990s  เผยแพร่ในวารสาร  จากนั้นงานเขียนของเขาได้ปลุกกระแสคนอ่าน จนกระทั่งเกิดงานวิจัยรองรับมากมาย  

ประมาณปี 1995  ทางรัฐต่า่งๆ ในอเมริกาเกิดความสนใจแนวคิดนี้ก้ได้นำเอาแนวคิดนี้สอดแทรกไปในนโยบายบริการสุขภาพจิต  แล้วปรากฎว่า  ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผุ้รับบริการ

ในปี 1998  ประเทศนิวซีแลนด์ ก็ได้เอาแนวคิดดังกล่าวมาบังคับใช้ทั่วประเทศ  โดยระบุว่า หน่วยบริการสุขภาพจิตต้องให้บริการแบบ recovery focused mental health services

ปี  2002  ทางประเทศออสเตรเลีย ก็ไม่น้อยหน้า ได้ทำการศึกษาแนวคิดแล้วกำหนดในแผนบริการสุขภาพจิตฉบับ  2003-2008

ปี  2004 ประเทศสกอตแลนด์ ก็เริ่มเอาแนวคิดนี้มาใช้  และรัฐบาลยังได้สนับสนุนให้เกิด  Scottish Recovery Network  เืพื่อทำหน้าที่ศึกษาและพัฒนาการบริการสุขภาพจิตตามแนวคิดของ Anthony

ในปี 2005  ประเทศอังกฤษ ได้กำหนด  NIMHE guiding statement of recovery

จะเห็นว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป็นยุคเบ่งบานของแนวคิด recovery model  

 แนวคิดนี้ต้องมีอะไรดีแน่นอน ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับการยอมรับมากเช่นนี้  

ไว้ผมจะมาเล่าอีกที 

 

คำสำคัญ (Tags): #recovery model
หมายเลขบันทึก: 158840เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2008 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เอ๋...ดียังไงน๊า...

มารอติดตามค่ะ

เหตุผลที่แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับก็คือ  แนวคิดของ Anthony  เกิดจากสองกระแสใหญ่ๆ คือ

มีคนไข้จิตเวชจำนวนมาก ที่เขียนเล่าประสบการณ์ของตนเองตอนที่ป่วยเป็นโรคจิต  ซึ่งบางคนเมือหายจากโรคก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่า่งปกติ  บ้างก็จบ ดร. บ้างก็เป็นจิตแพทย์  บรรดานักวิชาการ (ที่เคยป่วยด้วยโรคทางจิต) ต่างก็ช่วยกันเขียนบทความวิชาการ ลงวารสาร   จนเป็นที่ยอมรับว่า  ผุ้ป่วยจิตเวชมีดีกว่าทีคิดเยอะ เลย

อีกกระแส ก็มาจาก มีงานวิจัยจำนวนมาก ระบุว่า  คนป่วยจิตเวช สามารถฟื้นฟู และมีชีวิตได้อย่างที่เขาต้องการ  ไม่ใช่เป็นคนไข้ที่เข้าๆ ออก ๆ โรงพยาบาลอย่างที่คิด  

สองกระแสใหญ่นี้ทำให้ แนวคิด recovery model ของ แอนโทนี่ เป็นที่สนใจ  จากนั้นก็มีงานวิจัยมาสนับสนุน  จนกระทั่ง  แอนโทนี่ก็นำเอาผลการวิจัย  มาทำการสรุปให้และเสนอแนะว่า   บริการสุขภาพจิตความปรับเปลี่ยน โดยเน้นกระบวนการฟื้นฟูเป็นแกนกลาง  ตลอดจนมีการพัฒนาตัวบ่งชี้ว่า บริการสุขภาพจิตที่ดีเป็นอย่างไร  

สุดท้ายพอมีคนเอาไปทดลองใช้  ก็พบว่า

ผู้รับบริการพึงพอใจ  ลดความรุนแรงการเจ็บป่วย  ลดต้นทุนการรักษา  ลดการกลับเป็นซ้ำ  คุณภาพชีวิตคนไข้ดีขึ้น

จึงไม่น่าแปลกที่จะได้รับการยอมรับในปัจจุบัน 

มัทเคยไปดู stand up comedy ที่นักพูดทุกคนเป็นผู้ป่วยโรคจิต แต่ได้รับการเข้า camp สอนเล่น stand up เห็นแล้วได้แรงบันดาลใจ เห็นว่าพวกเค้าอยู่ในสังคมได้จริงๆ จะพยายามหา link มาฝากนะคะ ตอนนี้จำชื่องานไม่ได้

ขอบคุณครับ น้องมัท ลองเข้าไปดูลิงค์นี้นะ เป็น

 

คอนเสริต์ขับรองโดยกลุ่มคนไข้จิตเภท

 

ขอบคุณอีกครั้งนะครับ วันนี้พี่มีความสุขมากที่ได้สนทนาและเปลี่ยนความคิดดีๆ หลายๆ เรือง

ขอบคุณคะพี่เชษฐ์

แก้นิ้ดนึงนะคะ พอดีมัทติดตามวงนี้อยู่ค่ะ วงYoung@Heartไม่ได้เป็นคนไข้จิตเภทนะคะ แต่ว่าเพลงที่กลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มนี้ร้องชื่อ Schizophrenia ของวง Sonic Youth จ้า : )

 

ขอบคุณน้องมัท ที่ให้ความรู้ใหม่กับพี่ แหม หน้าแตกเลยเรา

พี่โหลดคลิปนี้ มาใช้ประกอบ พรีเซนต์งาน คนชอบกันใหญ่

อ้อ งานวิจัยของพี่ชื่อ

Nurses' perceptions and practices that promote recovery from schizophrenia in Thailand's mental health system

เป็นการสอบถามความพยาบาลว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการหายของคนไข้จิตเภท และความพร้อมของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยด้วยแนวคิดฟื้นฟูแบบบูรณาการ (recovery oriented mental health services)

โมเดลนี้ไม่เพียงแต่ใช้ในคนไข้จิตเวชเท่านั้นนะ ใช้ได้กับผู้ป่วยเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะคนไข้โรคเรือรัง ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท