newwave1
หลักสูตร การพัฒนาผู้นำ คลื่นลูกใหม่ ของกรมส่งเสริมการเกษตร

ค่านิยมองค์กร


รู้คนเดียว นิยมคนเดียว ทำคนเดียว หรือจะเป็นค่านิยม
               เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วเปิด ssnet เจอประกาศกรมส่งเสริมการเกษตร ว่าด้วยค่านิยมกรมส่งเสริมการเกษตร 4 ประการ ดังนี้ (1) มุ่งมั่นบริการ (2) ทีมงานเป็นเลิศ (3) เชิดชูคุณธรรม (4) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 
             
ดีจังที่กรมเรามีค่านิยมที่ประกาศออกมาแบบนี้ แต่ใครจะรับรู้รับทราบบ้าง ใครจะรณรงค์ให้เกิดการปฏิบัติเป็นค่านิยมที่แท้จริง ...เห็นทีต้องเริ่มจากตัวเราก่อน
           
ด้วยความรู้สึกที่ว่าเพื่อนร่วมงานบางคนทำงาน ๆ ๆ จนไม่มีเวลาเข้าอินเตอร์เน็ต ก็เลยเอาไปบอกเล่าในที่ประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัด และแจกให้กับเกษตรอำเภอ ด้วยความรู้สึกอีกนั่นแหละว่าน่าจะเป็นเรื่องที่เราต้องรับรู้ร่วมกัน เหมือน พรบ.วิสาหกิจชุมชนที่ตอนออกมาใหม่ ๆ ก็พูดถึงขนาดคนขับรถก็ต้องรู้เรื่อง พรบ.นี้  แต่ก็เตือนตัวเองไว้ก่อนว่าอย่าคาดหวังว่าใครจะให้ความสำคัญกับสิ่งนี้...???
             
พี่ที่เคยทำงานร่วมกันคนหนึ่งบอกว่าเรามีหน้าที่ที่ต้องสร้างความชัดเจนให้กับคนอื่นในงานที่เรารับผิดชอบ ในเรื่องที่เรารู้และคิดว่าคนอื่น ๆ ควรจะรู้ และเมื่อจะพูดจะเล่า ต้องสมมติว่าผู้ฟังไม่รู้ชัดเจนในเรื่องที่เราพูดเท่ากับตัวเรา เพราะจะทำให้เราพูดได้เนื้อหาที่ชัดเจน ไม่ตกๆ หล่นๆ อธิบายตั้งแต่ศูนย์ไปจนถึงร้อย คนฟังก็จะได้เข้าใจอย่างจริง ๆ และอย่าคาดหวังว่าเขาฟังแล้วจะยินดีในสิ่งที่เราพูดให้ฟัง แต่ขอให้เรายินดีที่จะ ให้ ในสิ่งที่เรารู้
             
พออ่านประกาศค่านิยมของกรมแล้ว ก็หวนนึกไปถึง "ค่านิยมสร้างสรรค์สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ"  ซึ่งก็ไม่แน่ใจหรอกว่าจะมีเจ้าหน้าที่รัฐสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่รับรู้รับทราบ เพราะตัวผู้เขียนเองก็อ่านเจอในหนังสือพิมพ์มติชน รายสัปดาห์ฉบับที่ 1419 ประจำวันที่ 26 ต.ค.-1 พ.ย. 2550 (โดย ดร.ชุติมา หาญเผชิญ,สำนักงานก.พ. น.37) ขออนุญาตมาเผยแพร่ต่อ ดังนี้
             
สำนักงาน ก.พ. ได้รณรงค์เพื่อให้เกิดค่านิยมสร้างสรรค์ในภาคราชการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบันมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ถึงขั้นบรรจุไว้ในกฎหมายคือร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.....หมวดการรักษาจรรยาข้าราชการ.........................
               
.......ค่านิยม 5 ประการ ดังนี้
                (1) การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
         (2) ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ 
(3) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
   (4) การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
                         (5) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ..
            ซึ่งในแต่ละค่านิยม ก็ได้ขยายความเพื่อสร้างความชัดเจนไว้ด้วย ผู้สนใจลองหาอ่านได้ ในร่าง พรบ.ที่กล่าวมา ในหนังสือพิมพ์มติชน หรือเว็บไซด์
            
จะขอเขียนเพิ่มเติมในเรื่องค่านิยม ว่า.......
           
1.ทำคนเดียวจะเป็นค่านิยมหรือไม่ ?
          
2.แค่รับรู้จะเป็นค่านิยมหรือไม่ ?
          
เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาไปหาหมอโรงพยาบาล เพื่อนที่เป็นพยาบาลบอกว่าโรงพยาบาลกำลังจะประกวดองค์กรคุณภาพเลิศของประเทศไทย (ขอเรียกอย่างนี้) หรือ TQA หัวหน้าพิมพ์เอกสารเอามาให้อ่านกันทั่ว ก็เลยขอมาดู ก็เห็นให้ท่องวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร ฯลฯ ก็คล้าย ๆที่หน่วยงานรัฐอื่น ๆ ทำ PMQA แต่ต่างกันตรงที่ว่าโรงพยาบาลเขาส่งเข้าประกวด มีผู้มาติดตาม ตรวจสอบแล้ว.... เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานจึงต้องรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
            
เรื่องเหล่านี้เริ่มไม่เป็นเรื่องใหม่ แต่การรับรู้รับทราบยังไม่ทั่วถึง หรือเพราะข้าราชการเราคิดว่า....เออ เดี๋ยวก็เปลี่ยนไปเรื่องใหม่ ทำอันใหม่..... อะไรทำนองนี้หรือเปล่าเราจึงไม่เป็นเลิศสักที....จาก  จินตนาภร
หมายเลขบันทึก: 158711เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
กรรณิการ์ (คนมีคลื่น)

อ่านแล้วอยากอ่านต่อเหมือนยังไม่จบ

ค่านิยม คิด เขียน เผยแพร่ ทำได้ง่าย แต่ปฏิบัติยาก บางครั้งปฏิบัติอยู่คนเดียว คนอื่นไม่ปฏิบัติด้วยเหมือนแกะดำ      ก็เขินนะ  แต่ถ้าคนไหนปฏิบัติเป็นประจำจะรู้สึกเฉยๆเพราะฉันทำมาเป็นประจำ  แต่คุณหละเมื่อไหร่จะทำ  นะๆๆๆๆ

 

ค่านิยมเป็นหลักการและพฤติกรรมชี้นำที่คาดหวังให้องค์กรและบุคคลในองค์กรปฏิบัติ  เพื่อบรรลุพันธกิจและวิสัยทัศน์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งความมีคุณธรรมและความยุติธรรมในการปฏิสัมพันธ์ ค่านิยมจึงเป็นเรื่องของทุกคนในองค์กรไม่ใช่เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ค่านิยมตามหลัก PMQA อยู่ในหมวด P ที่แสดงลักษณะสำคัญขององค์กร แหล่งที่มาของค่านิยม จากการมีส่วนร่วมของบุคคลในองค์กรในนาม ผู้บริหาร /คณะทำงาน/เวทีแบบบูรณาการ และที่สำคัญต้องประกาศใช้ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบและปฏิบัติ

ขอบคุณพี่กรรณิการ์

และขอบคุณ agasi ผู้รู้ด้วกยารปฏิบัติจริง (ใช่อย่างนี้หรือเปล่า เขียนมาด้วยความลึกซ้ึงถึงข้อมูล เพมื่อไหรจะเปิดบล็อกมาแลกเปลี่ยนกันจริงๆจังๆเสียทีล่ะ อยากอ่านความคิด ความรู้ของผู้มากด้วยข้อมูลจากการสั่งสม

ได้อ่านเรื่องดีๆ  ในเว็บกรมฯ ก็คิดน่ะว่าเมื่อไหร่จะส่งผลทางปฏิบัติ เช่น  HR  Scorecard  และเชื่อว่าค่านิยมองค์กร  4 ข้อนี้ในหมวด P  คณะทำงาน  PMQA  คงพิจารณาดีแล้ว  เพียงแต่มันคงส่งผลทางปฎิบัติยากเหมือนหลายๆ  เรื่องที่ผ่านมา  ช่วยๆ  กันและเริ่มที่เราน่ะน่าจะเป็นทางเดียวที่ทำได้เลย  อย่าหวังว่าทุกคนต้องทำ  อย่าแบกภาระนี้ไว้น่ะน้อง

เขียนต่ออีกนิด (1) มุ่งมั่นบริการ (2) ทีมงานเป็นเลิศ (3) เชิดชูคุณธรรม (4) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง  นี่คือ  ค่านิยมกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ปรากฎเป็นนามธรรม แต่ในทางปฏิบัติให้เป็นรูปน่าจะมีแนวทางที่ทุกคนทำได้ด้วย ขอยกตัวอย่างการมุ่งมั่น บริการ มาดูว่าลูกค้าหลักของกรมคือใคร ในระดับจังหวัด/อำเภอ คือเกษตรกร และองค์กรเกษตรกร วิธีการบริการเน้นการบริการถึงที่ นั่นคือถ่ายทอดความรู้/แก้ไขปัญหา/กิจกรรมอื่น ๆ ณ จุดนัดหมายในพื้นที่ ข้อมูลข่าวสารด้วยระบบไอที สร้างความประทับใจ เกษตรกรมาก่อน(เจ้าหน้าที่ไปถึงหลังไม่ใช่แน่ ๆ ) ลดขั้นตอน บริการ ร่วมคิดร่วมทำโรงเรียนเกษตรกร /ศูนย์บริการฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้/จุดถ่ายทอด  KM ส่วนทีมงานเป็นเลิศ ให้สังเกตจาก webboard กรม เลิกด่ากันเมื่อไหร่น่าจะเป็นทีมที่เลิศ ไม่มีข้อร้องเรียนต่อกัน= เชิดชูคุณธรรม และสุดท้ายที่เห็นชัดว่ากรมทำได้ยอดเยี่ยมคือผู้นำการเปลี่ยนแปลง  เห็นด้วยหรือไม่  เพราะเท่าที่เห็นเปลี่ยนนโยบายและการปฏิบัติทุกปี ข้อนี้จึงควรเขียนขั้นตอนแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนว่าเปลี่ยนแปลงอะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท